หนุมาน (เทวนาครี: हनुमान्; ฮินดี: हनुमान; อังกฤษ: Hanuman) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเผือก จึงมีสีขาวเป็นสีประจำกาย เมื่อสำแดงฤทธิ์จะมี 4 หน้า 8 มือ นอกจากนี้ ยังมีลักษณะประจำกายอื่นๆ อีก เช่น สวมกุณฑล มีขนเพชร มีเขี้ยวเป็นแก้ว และ หาวเป็นดาวเป็นเดือน ดังกลอนตอนที่หนุมานเกิดว่า
ลอยอยู่ตรงพักตร์ชนนี รัศมีโชติช่วงในเวหา
มีกุณฑลขนเพชรอลงการ์ เขี้ยวแก้วแววฟ้ามาลัย
หาวเป็นดาวเดือนระวีวร แปดกรสี่หน้าสูงใหญ่
สำแดงแผลงฤทธิ์เกรียงไกร แล้วลงมาไหว้พระมารดร
หนุมาน เป็นลิงที่มีฤทธิ์มาก สามารถสำแดงเดชต่างๆ ได้หลายประการ เช่น การขยายร่างกายให้ใหญ่โต การยืดหางให้ยาว เป็นต้น นอกจากนี้ หนุมานยังได้ชื่อว่าเป็นอมตะ คือ ไม่มีวันตาย เนื่องจากเป็นบุตรของพระพาย (ลม) กับนางสวาหะ ด้วยเหตุนี้ เมื่อหนุมานมีอันตรายถึงตายแล้ว เพียงแค่มีลมพัดมา หนุมานก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ด้วยอำนาจของพระพายผู้เป็นบิดา
บุคลิกของหนุมานเป็นตัวแทนของชายหนุ่มทั่วไป คือ รูปงาม มีนิสัยเจ้าชู้ และ มีภรรยามาก เช่น นางสุพรรณมัจฉา ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันหนึ่งตน คือ มัจฉานุ ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง ลิงเผือกกับปลา นั่นคือ มีกายเป็นลิงเผือกเหมือนหนุมาน แต่หางนั้น กลับเป็นหางของปลา นางเบญกาย บุตรีของพญาพิเภก หนุมานได้นางเบญกายตอนที่ นางเบญกายจำแลงกายเป็นศพของ นางสีดาลอยทวนน้ำมา เพื่อหลอกพระรามให้เสียพระทัย แต่ภายหนังกลนี้ถูกจับได้ พระรามจึงให้หนุมานพานางเบญจกายไปส่งกลับเมือง ซึ่งทั้งคู่มีลูกด้วยกัน ชื่อว่า อสุรผัด
ตลอดเรื่องรามเกียรติ์นั้น หนุมานผู้เป็นทหารเอกได้รับรางวัลจากพระราม 3 ครั้ง
ผ้าขาวม้า ได้ตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา
ธำมรงค์ ได้จากตอนที่ไปช่วยพระรามหลังจากที่ถูกไมยราพจับไปขังไว้ที่เมืองบาดาล
เมืองนพบุรีพร้อมสนม 5000 นาง ได้ในตอนที่เสร็จศึกลงกาแล้ว
เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาแล้ว พระรามได้สถาปนาให้เป็น "พระยาจักรกฤษณ์พิพรรธพงศา" และยกกรุงอยุธยาให้ครองกึ่งหนึ่ง แต่หนุมานได้ถวายคืนพระราม เพราะสำนึกว่าตนไม่สูงศักดิ์พอ พระรามจึงยกเมืองนพบุรีให้ครองแทน
เนื้อหา [ซ่อน]
1 ลักษณะของหนุมาน
2 ภรรยาและบุตรของหนุมาน
3 หนุมานในประเทศต่างๆ
4 ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
5 รูปภาพหนุมานในวัฒนธรรมร่วมสมัย
6 ดูเพิ่ม
7 อ้างอิง
ลักษณะของหนุมาน[แก้]
กายสีขาว มีกุณฑล (ต่างหู) ขนเพชร เขี้ยวเพชร (อยู่กลางเพดานปาก) หาวเป็นดาวเป็นเดือน ยามแผลงฤทธิ์จะมีสี่หน้า แปดกร
เป็นทหารเอกที่รู้ใจพระรามที่สุด ฉลาดรอบรู้ ค่อนข้างหัวดื้อ เช่น ตอนที่หักกิ่งไม้ ทำลายอุทยานของทศกัณฐ์ ตอนเผาเมืองลงกา เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีกลอุบายมากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก รักนายและพลีชีพเพื่อนาย
ภรรยาและบุตรของหนุมาน[แก้]
นางบุษมาลี เป็นภรรยาคนแรกของหนุมาน ได้พบกันเมื่อหนุมาน ชมพูพาน และองคต จะเดินทางไปกรงลงกาเพื่อสืบข่าวนางสีดา ระหว่างทางไปเจอเมืองเมืองหนึ่ง ตั้งอยู่กลางป่า ไม่มีทหารอยู่เลย หนุมานแปลกใจจึงขอเข้าไปดู ก็ได้พบกับ “นางบุษมาลี” นางฟ้าที่พระอินทร์สาปให้มาอยู่ในเมืองนี้แต่เพียงผู้เดียว สาเหตุเพราะนางดันไปเป็นแม่สื่อแม่ชักให้แก่นางสนมของพระอินทร์กับท้าวตาวัน โดยนางบุษมาลีจะพ้นจากคำสาปได้ก็ต่อเมื่อทหารเอกของพระรามที่หาวเป็นดาวเป็นเดือนโยนนางกลับขึ้นไปบนท้องฟ้าส่งนางไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เมื่อหนุมานได้เจอนางบุษมาลีก็นึกรัก มีใจปฏิพัทธ์ต่อนางทันที ดังนั้นเมื่อสอบถามจนรู้ความ ก่อนจะโยนนางกลับขึ้นสวรรค์ หนุมานก็ได้นางเป็นเมียเสียก่อน แต่ถึงจะรักนางบุษมาลี หนุมานก็ไม่ยอมให้เรื่องผู้หญิงทำให้เสียงาน และก็ไม่ลืมสัญญาที่จะส่งนางกลับขึ้นสวรรค์ รักแรกของหนุมานกับนางฟ้าก็เป็นรักที่แสนสั้น และไม่ได้มีลูกด้วยกัน
เบญกาย ธิดาของพิเภก ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดามาแล้วก็ว่างแผ่นที่จะให้พระรามเลิกตามนางสีดา จึงให้ “นางเบญกาย” หลานสาวแปลงกายเป็นนางสีดา ตายลอยน้ำมา ทำให้พระรามที่ได้พบศพเสียใจมาก แต่หนุมานผู้มีปฏิภาณดีมาก สังเกตเห็นว่าศพนี้ไม่น่าจะใช่นางสีดาตัวจริง จึงให้พิสูจน์ด้วยการเผาร่างนั้น นางเบญกายทนร้อนไม่ไหวก็ปรากฏตัวจริงออกมา พระรามให้พิเภกผู้เป็นพ่อเป็นผู้พิพากษาลงโทษเอง พิเภกให้ประหารชีวิตเพื่อพิสูจน์ความจงรักภักดี แต่พระรามเห็นใจจึงยกโทษให้ และให้หนุมานพากลับไปส่งที่กรุงลงกา
ระหว่างทางหนุมานก็ได้เกี้ยวพาราสีจนได้นางเบญกายเป็นเมียอีกคนมีบุตรกับหนุมานคือ อสุรผัด
สุพรรณมัจฉา เป็นนางเงือก ธิดาของทศกัณฐ์ ได้เป็นภรรยาขณะจองถนนข้ามกรุงลงกา มีบุตรคือ มัจฉานุ
นางวารินทร์ ได้ขณะตามล่าวิรุญจำบัง
นางมณโฑ ได้มาโดยการใช้เล่ห์กลขณะปลอมตัวเป็นทศกัณฐ์
นางสุวรรณกันยุมา ทศกัณฐ์ประทานให้ ขณะเสแสร้งแปรพักต์ (นางเคยเป็นภรรยาอินทรชิต)
นางสนมอื่นๆอีก 5,000 ตน ที่พระรามประทานหลังจากเสร็จศึกกรุงลงกา และหนุมานได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น พญาอนุชิตจักรกฤษณ์พิพัฒน์พงศา
ม
หนุมานในประเทศต่างๆ[แก้]
เนื่องจาก อารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปโดยตลอดทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องของศาสนา สถาปัตยกรรม และ วรรณกรรม ดังนั้น วรรณคดีเรื่อง "รามายณะ" จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย[1] ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ไทย หรือ กัมพูชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะของหนุมานของแต่ละประเทศนั้น ย่อมแตกต่างกันไปตามการตีความของชนชาตินั้นๆ
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]
เนื่องจาก หนุมาน เป็นตัวละคร ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงกว้างของสังคมไทย ดังนั้น หนุมาน จึงถูกใช้เป็นสื่อในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประเภท เช่น เป็นตัวนำโชคในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 19 ปี พ.ศ. 2540 ที่กรุงจาการ์ต้า หรือ เป็นตัวเอกในภาพยนตร์ไทย เรื่อง หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (พ.ศ. 2517) หรือ หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง (พ.ศ. 2518) หรือดัดแปลงเป็นตัวละคร ชื่อ "เผือก" ในแอนิเมชันสัญชาติไทยเรื่อง ยักษ์ (พ.ศ. 2555) เป็นต้น[2]
วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ยุคจักรวรรดิ
ยุคจักรวรรดิ
วิหารพาร์เธนอนแสดงถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรีกโบราณ
ช่วงพันปีระหว่าง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 500 เกิดจักรวรรดิที่กว้างใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน กองทัพที่ถูกฝึกมาอย่างดี อุดมการณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว และการปกครองที่เป็นระบบทำให้จักรพรรดิสามารถปกครองประชากรภายใต้อาณัติถึงหลายสิบล้านคน
ประวัติศาสตร์โลกช่วงนี้เป็นช่วงที่เทคโนโลยีก้าวหน้าค่อนข้างช้าแต่มั่นคง พัฒนาการครั้งสำคัญอย่างโกลนและคันไถจะเกิดขึ้นทุกๆ สองสามศตวรรษ อย่างไรก็ตามในบางภูมิภาคกลับมีช่วงพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วมากเช่นแถบเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงเฮเลนิกมีสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจำนวนมาก [29] [30] [31] ช่วงพัฒนาดังกล่าวตามมาด้วยช่วงการถดถอยทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและช่วงยุคกลางตอนต้นที่ตามมา
อำนาจของจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เกิดจากการผนวกดินแดนโดยใช้กำลังทหารและการตั้งถิ่นฐานเพื่อปกป้องศูนย์กลางทางการเกษตร[32] สันติภาพชั่วคราวที่เกิดจากระบบจักรวรรดิก่อให้เกิดเส้นทางการค้าขายระหว่างประเทศ เส้นทางที่โดดเด่นที่สุดได้แก่เส้นทางการค้าหลายสายในแถบเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งเกิดในยุคเฮเลนิสติกและเส้นทางสายไหม
แผนที่โลกของทอเลมี สร้างขึ้นตามหนังสือ Geographia
จักรวรรดิทุกแห่งต่างเผชิญกับปัญหาเดียวกันคือการจัดการกองกำลังทหารขนาดใหญ่และการสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ความยุ่งยากในการปกครองประชากรทั้งหมดทำให้เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่เริ่มมีอำนาจมากขึ้นและท้าทายระบบการรวมศูนย์อำนาจ การโจมตีจากชนเผ่าอนารยชนต่างๆ ตามขอบชายแดนทำให้การปกครองส่วนกลางเริ่มระส่ำระสาย เกิดสงครามกลางเมืองในจักรวรรดิฮั่นของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 220 ในขณะเดียวกันก็เกิดการแบ่งขั้วและแยกศูนย์อำนาจขึ้นในจักรวรรดิโรมัน
ในโลกตะวันตก ชาวกรีกได้สร้างอารยธรรมซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน จนหลายศตวรรษต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ชาวโรมันเริ่มขยายเขตแดนด้วยการใช้กำลังทหารและการล่าอาณานิคม ในยุคสมัยจักรพรรดิออกัสตัส(ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล) โรมยึดครองอาณาเขตทั้งหมดรอบเมดิเตอเรเนียน ในยุคสมัยจักรพรรดิทราจัน(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2) โรมยึดครองอาณาเขตส่วนใหญ่ของอังกฤษและเมโสโปเตเมีย
ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล อาณาเขตส่วนใหญ่ของเอเชียใต้ถูกรวบรวมเป็นจักรวรรดิโมริยะโดยพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะ และรุ่งเรืองที่สุดในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช คริสตวรรษที่ 3 จักรวรรดิคุปตะเข้าครอบครองอาณาเขตนี้และเข้าสู่ยุคทองของอายธรรมอินเดียโบราณ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาครองครองเอเชียใต้จำนวนมากทั้งจาลุกยะ ราษฏรกูฏ ฮอยซาลา และวิชัยนคร ท่ามกลางความรุ่งเรืองของวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม และปรัชญาซึ่งอุปถัมภ์โดยกษัตริย์องค์ต่างๆ
ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ฮั่นได้ยึดครองเอเชียตะวันออกเป็นจักรวรรดิจีนที่เก่าแก่ ราชวงศ์ฮั่นได้รับยกย่องว่าเป็นโรมตะวันออก (Rome of China) ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของเส้นทางสายไหม ในขณะที่แสนยานุภาพทางทหารของโรมันแทบไม่สามารถเอาชนะได้ จีนฮั่นได้พัฒนาการทำแผนที่ การต่อเรือ และการเดินเรือ โลกตะวันออกได้สร้างเตาหลอมโลหะ ทำให้สามารถผลิตเครื่องมือจากทองแดงที่สามารถปรับแต่งได้อย่างละเอียด เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ในยุคโบราณ จีนฮั่นพัฒนาระบบการปกครอง การศึกษา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด
Inca มัมมี่
มาชูปิกชู สัญลักษณ์ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิอินคา
อารยธรรมอเมริกาเริ่มต้นเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาลในแถบเมโสอเมริกา [33] เกิดสังคมก่อนยุคโคลัมเบียนอย่างแหล่งอารยธรรมมายาและจักรวรรดิแอซเท็ก หลังจากการล่มสลายของวัฒนธรรมเริ่มต้นอย่าง วัฒนธรรมโอเมก [34] อารยธรรมมายาเริ่มขยายตัวในแถบยูกาตัง และจักรวรรดิแอซเท็ก ก็ได้รับเอาวัฒนธรรมข้างเคียง และกวาดต้อนเอาชนเผ่าต่างๆ เช่น ชนเผ่าทอลเต็ก
ในอเมริกาใต้ คริสตวรรษที่ 14 และ 15 มีการขยายตัวของจักรวรรดิอินคา จักรวรรดิอินคาแห่งตาวันตินซูยู ได้ตั้งเมืองกุสโกเป็นเมืองหลวง และขยายตัวไปตามเทือกเขาแอนดีส เป็นแหล่งอารยธรรมวงกว้างที่สุดอันหนึ่งก่อนยุคโคลัมเบียน[35][36] จักรวรรดิอินคามีความรุ่งเรืองและทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดระบบถนนของชาวอินคาและการก่ออิฐอย่างไม่มีใครเทียบได้
วิหารพาร์เธนอนแสดงถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรีกโบราณ
ช่วงพันปีระหว่าง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 500 เกิดจักรวรรดิที่กว้างใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน กองทัพที่ถูกฝึกมาอย่างดี อุดมการณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว และการปกครองที่เป็นระบบทำให้จักรพรรดิสามารถปกครองประชากรภายใต้อาณัติถึงหลายสิบล้านคน
ประวัติศาสตร์โลกช่วงนี้เป็นช่วงที่เทคโนโลยีก้าวหน้าค่อนข้างช้าแต่มั่นคง พัฒนาการครั้งสำคัญอย่างโกลนและคันไถจะเกิดขึ้นทุกๆ สองสามศตวรรษ อย่างไรก็ตามในบางภูมิภาคกลับมีช่วงพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วมากเช่นแถบเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงเฮเลนิกมีสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจำนวนมาก [29] [30] [31] ช่วงพัฒนาดังกล่าวตามมาด้วยช่วงการถดถอยทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและช่วงยุคกลางตอนต้นที่ตามมา
อำนาจของจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เกิดจากการผนวกดินแดนโดยใช้กำลังทหารและการตั้งถิ่นฐานเพื่อปกป้องศูนย์กลางทางการเกษตร[32] สันติภาพชั่วคราวที่เกิดจากระบบจักรวรรดิก่อให้เกิดเส้นทางการค้าขายระหว่างประเทศ เส้นทางที่โดดเด่นที่สุดได้แก่เส้นทางการค้าหลายสายในแถบเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งเกิดในยุคเฮเลนิสติกและเส้นทางสายไหม
แผนที่โลกของทอเลมี สร้างขึ้นตามหนังสือ Geographia
จักรวรรดิทุกแห่งต่างเผชิญกับปัญหาเดียวกันคือการจัดการกองกำลังทหารขนาดใหญ่และการสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ความยุ่งยากในการปกครองประชากรทั้งหมดทำให้เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่เริ่มมีอำนาจมากขึ้นและท้าทายระบบการรวมศูนย์อำนาจ การโจมตีจากชนเผ่าอนารยชนต่างๆ ตามขอบชายแดนทำให้การปกครองส่วนกลางเริ่มระส่ำระสาย เกิดสงครามกลางเมืองในจักรวรรดิฮั่นของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 220 ในขณะเดียวกันก็เกิดการแบ่งขั้วและแยกศูนย์อำนาจขึ้นในจักรวรรดิโรมัน
ในโลกตะวันตก ชาวกรีกได้สร้างอารยธรรมซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน จนหลายศตวรรษต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ชาวโรมันเริ่มขยายเขตแดนด้วยการใช้กำลังทหารและการล่าอาณานิคม ในยุคสมัยจักรพรรดิออกัสตัส(ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล) โรมยึดครองอาณาเขตทั้งหมดรอบเมดิเตอเรเนียน ในยุคสมัยจักรพรรดิทราจัน(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2) โรมยึดครองอาณาเขตส่วนใหญ่ของอังกฤษและเมโสโปเตเมีย
ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล อาณาเขตส่วนใหญ่ของเอเชียใต้ถูกรวบรวมเป็นจักรวรรดิโมริยะโดยพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะ และรุ่งเรืองที่สุดในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช คริสตวรรษที่ 3 จักรวรรดิคุปตะเข้าครอบครองอาณาเขตนี้และเข้าสู่ยุคทองของอายธรรมอินเดียโบราณ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาครองครองเอเชียใต้จำนวนมากทั้งจาลุกยะ ราษฏรกูฏ ฮอยซาลา และวิชัยนคร ท่ามกลางความรุ่งเรืองของวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม และปรัชญาซึ่งอุปถัมภ์โดยกษัตริย์องค์ต่างๆ
ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ฮั่นได้ยึดครองเอเชียตะวันออกเป็นจักรวรรดิจีนที่เก่าแก่ ราชวงศ์ฮั่นได้รับยกย่องว่าเป็นโรมตะวันออก (Rome of China) ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของเส้นทางสายไหม ในขณะที่แสนยานุภาพทางทหารของโรมันแทบไม่สามารถเอาชนะได้ จีนฮั่นได้พัฒนาการทำแผนที่ การต่อเรือ และการเดินเรือ โลกตะวันออกได้สร้างเตาหลอมโลหะ ทำให้สามารถผลิตเครื่องมือจากทองแดงที่สามารถปรับแต่งได้อย่างละเอียด เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ในยุคโบราณ จีนฮั่นพัฒนาระบบการปกครอง การศึกษา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด
Inca มัมมี่
มาชูปิกชู สัญลักษณ์ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิอินคา
อารยธรรมอเมริกาเริ่มต้นเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาลในแถบเมโสอเมริกา [33] เกิดสังคมก่อนยุคโคลัมเบียนอย่างแหล่งอารยธรรมมายาและจักรวรรดิแอซเท็ก หลังจากการล่มสลายของวัฒนธรรมเริ่มต้นอย่าง วัฒนธรรมโอเมก [34] อารยธรรมมายาเริ่มขยายตัวในแถบยูกาตัง และจักรวรรดิแอซเท็ก ก็ได้รับเอาวัฒนธรรมข้างเคียง และกวาดต้อนเอาชนเผ่าต่างๆ เช่น ชนเผ่าทอลเต็ก
ในอเมริกาใต้ คริสตวรรษที่ 14 และ 15 มีการขยายตัวของจักรวรรดิอินคา จักรวรรดิอินคาแห่งตาวันตินซูยู ได้ตั้งเมืองกุสโกเป็นเมืองหลวง และขยายตัวไปตามเทือกเขาแอนดีส เป็นแหล่งอารยธรรมวงกว้างที่สุดอันหนึ่งก่อนยุคโคลัมเบียน[35][36] จักรวรรดิอินคามีความรุ่งเรืองและทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดระบบถนนของชาวอินคาและการก่ออิฐอย่างไม่มีใครเทียบได้
ยุคโบราณ
ยุคโบราณ
ดูบทความหลักที่: ยุคโบราณ
อู่อารยธรรม[แก้]
ดูบทความหลักที่: ยุคสำริด และ ยุคเหล็ก
ชาวอียิปต์โบราณสร้างมหาพีระมิดแห่งกีซา
ยุคสำริดเป็นหนึ่งยุคตามการแบ่งระบบสามยุค ซึ่งได้แก่ ยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็ก ซึ่งอธิบายประวัติศาสตร์ยุคต้นของอรรยาธรรมในบางส่วนของโลกได้เป็นอย่างดี เราจะเริ่มเห็นระบบเมือง และการเติบโตของอารยธรรมของบริเวณพื้นที่อุดมสมบูรณ์ในยุคเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ เช่นลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟติสในเมโสโปเตเมีย ลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ ลุ่มแม่น้ำสินธุ ในอินเดีย และลุ่มแม่น้ำฮวงโหในจีน
เราเริ่มเห็นความรุ่งเรืองของเมโสโปเตเมียในช่วงสังคมของชาวสุเมเรียน ชาวสุเมเรียนมีระบบการเขียนโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม ซึ่งเป็นอักษรภาพที่มีลักษณะคล้ายลิ่มราวๆ 3000 ปีก่อนคริสตกาล และตัวอักษรก็ค่อยถูกพัฒนาให้เรียบง่ายและเป็นนามธรรมมากขึ้น การเขียนอักษรคูนิฟอร์มนั้นต้องเขียนในแผ่นดินเหนียวด้วยต้นกก การเขียนช่วยในการบริหารเมืองที่ใหญ่ขึ้นได้ง่ายขึ้นมาก และในยุคนี้ยังได้เห็นพัฒนาการทางด้านการทหารเช่นรถม้าและทหารม้า ทำให้เคลื่อนพลได้เร็วขึ้น
การพัฒนาเหล่านี้นำไปสู่การสร้างจักรวรรดิ โดยจักรวรรดิแรกที่ควบคุมดินแดนขนาดใหญ่และประกอบไปด้วยหลายเมืองเกิดขึ้นในอียิปต์ด้วยการรวมกันของอียิปต์ตอนล่างและตอนบนในช่วง 3100 ปีก่อนคริสตกาล ในอีกพันปีต่อมาก็เกิดจักรวรรดิอาคาเดียนในเมโสโปเตเมียก็เจริญรุ่งเรืองขึ้น[18] พร้อมๆ กับการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยของจีนในช่วง 2200 ปีก่อนคริสตกาล
ดูบทความหลักที่: ยุคโบราณ
อู่อารยธรรม[แก้]
ดูบทความหลักที่: ยุคสำริด และ ยุคเหล็ก
ชาวอียิปต์โบราณสร้างมหาพีระมิดแห่งกีซา
ยุคสำริดเป็นหนึ่งยุคตามการแบ่งระบบสามยุค ซึ่งได้แก่ ยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็ก ซึ่งอธิบายประวัติศาสตร์ยุคต้นของอรรยาธรรมในบางส่วนของโลกได้เป็นอย่างดี เราจะเริ่มเห็นระบบเมือง และการเติบโตของอารยธรรมของบริเวณพื้นที่อุดมสมบูรณ์ในยุคเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ เช่นลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟติสในเมโสโปเตเมีย ลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ ลุ่มแม่น้ำสินธุ ในอินเดีย และลุ่มแม่น้ำฮวงโหในจีน
เราเริ่มเห็นความรุ่งเรืองของเมโสโปเตเมียในช่วงสังคมของชาวสุเมเรียน ชาวสุเมเรียนมีระบบการเขียนโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม ซึ่งเป็นอักษรภาพที่มีลักษณะคล้ายลิ่มราวๆ 3000 ปีก่อนคริสตกาล และตัวอักษรก็ค่อยถูกพัฒนาให้เรียบง่ายและเป็นนามธรรมมากขึ้น การเขียนอักษรคูนิฟอร์มนั้นต้องเขียนในแผ่นดินเหนียวด้วยต้นกก การเขียนช่วยในการบริหารเมืองที่ใหญ่ขึ้นได้ง่ายขึ้นมาก และในยุคนี้ยังได้เห็นพัฒนาการทางด้านการทหารเช่นรถม้าและทหารม้า ทำให้เคลื่อนพลได้เร็วขึ้น
การพัฒนาเหล่านี้นำไปสู่การสร้างจักรวรรดิ โดยจักรวรรดิแรกที่ควบคุมดินแดนขนาดใหญ่และประกอบไปด้วยหลายเมืองเกิดขึ้นในอียิปต์ด้วยการรวมกันของอียิปต์ตอนล่างและตอนบนในช่วง 3100 ปีก่อนคริสตกาล ในอีกพันปีต่อมาก็เกิดจักรวรรดิอาคาเดียนในเมโสโปเตเมียก็เจริญรุ่งเรืองขึ้น[18] พร้อมๆ กับการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยของจีนในช่วง 2200 ปีก่อนคริสตกาล
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ดูบทความหลักที่: ยุคก่อนประวัติศาสตร์
มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ หรือมนุษย์ปัจจุบันเริ่มปรากฏครั้งแรกบนโลกในช่วง 400,000 ถึง 250,000 ปีทีผ่านมา ระหว่างยุคหินเก่า หลังจากวิวัฒนาการยาวนานของมนุษย์ ทักษะการประดิษฐ์เครื่องมือของมนุษย์นั้นมีมาตั้งแต่มนุษย์ยุคก่อนอย่างโฮโม อิเล็กตัสแล้ว มนุษย์ยังรู้จักใช้ไฟในการให้ความร้อน และปรุงอาหาร นอกจากนั้นแล้วมนุษย์ยุคปัจจุบันยังได้พัฒนาภาษา และยังมีพิธีกรรมหลังความตาย และเริ่มดำรงชีวิตด้วยการไล่ล่า-หาเก็บและเป็นสังคมเร่ร่อน
มนุษย์ในยุคปัจจุบันหรือโฮโมซาเปียนส์เริ่มกระจายตัวจากแอฟริกา ไปยังบริเวณยุโรปและเอเชียซึ่งยังไม่มีน้ำแข็งปกคลุมอย่างรวดเร็ว และขยายถิ่นฐานไปยังอเมริกาเหนือและโอเชียเนีย ในช่วงที่ยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดกำลังเข้าสู่ช่วงสูงสุด เมื่ออุณหภูมิของอาณาเขตระหว่างซีกโลกร้อนกับขั้วโลก (Temperate Zone) เริ่มลดต่ำลงจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ มนุษย์จึงหยุดขยายตัวไปทางเหนือและใต้ แต่เน้นกระจายในอาณาเขตที่ไม่มีน้ำแข็งจนครอบคลุมโลกทั้งใบในช่วง 12,000 ปีที่แล้ว
การปฏิวัติเกษตรกรรมเริ่มขึ้นครั้งแรกในราวๆ 10,000 ปีก่อนคริสตกาล การทำเกษตรกรรมเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดระบบการจัดการ และสร้างอาหารส่วนเกิน (surplus) จากการบริโภคทำให้เกิดการค้าขายได้ การเกษตรสร้างระบบเมืองในยุคแรก ทำให้เกิดการค้าขาย การผลิต และอำนาจทางการเมือง สำหรับผู้ไม่ได้ผลิตในภาคการเกษตร [10][11] [12]
อักษรคูนิฟอร์มซึ่งเป็นระบบการเขียนแรกสุด
การพัฒนาระบบเมืองยังทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านภาษา และความรุ่งเรืองของอารยธรรมตามมา ดังจะเห็นได้จากในช่วง 40,000 ปีก่อนคริสตกาลก่อนจะมีเมืองเกิดขึ้น มีหลักฐานการสร้างที่อยู่อาศัยที่มนุษย์สร้างขึ้นในตอนเหนือของแคว้นปัญจาบ และเอเชียกลาง (Bactria) ในช่วง 7,000 ปีก่อนคริสตกาล มีหลักฐานว่ามนุษย์เริ่มปลูกข้าวบาร์เลย์ และเลี้ยงแกะกับแพะ ในบริเวณดังกล่าว ในช่วงนั้น คนเริ่มอาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งสร้างโดยอิฐและดินเหนียว ซึ่งบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน แหล่งอารยธรรมแรกเป็นแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียตอนล่างของชาวสุเมเรียน ในช่วง 3500 ปีก่อนคริสตกาล[13][14] ตามมาด้วยอารยธรรมอียิปต์ บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ในช่วง 3300 ปีก่อนคริสตกาลและอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ในช่วงเดียวกัน [15][16] ระบบเมืองเริ่มซับซ้อนมากขึ้นจากระบบทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ละอารยธรรมมีความแตกต่างจากอารยธรรมอื่นเนื่องจากอารยธรรมต่างๆ ยังไม่สัมพันธ์กัน เริ่มมีระบบการเขียน และการค้าขาย
ความเชื่อทางศาสนาในช่วงนี้ให้ความเคารพในโลก ท้องฟ้า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์[17] และการเปรียบปรากฏการณ์หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่างๆ ให้เป็นเทพเจ้า หรือเปรียบเหมือนมนุษย์ มีการสร้างปูชนียสถานไว้เคารพสักการะ นำไปสู่การสร้างเทวสถาน และระบบนักบวช ในที่สุด
ดูบทความหลักที่: ยุคก่อนประวัติศาสตร์
มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ หรือมนุษย์ปัจจุบันเริ่มปรากฏครั้งแรกบนโลกในช่วง 400,000 ถึง 250,000 ปีทีผ่านมา ระหว่างยุคหินเก่า หลังจากวิวัฒนาการยาวนานของมนุษย์ ทักษะการประดิษฐ์เครื่องมือของมนุษย์นั้นมีมาตั้งแต่มนุษย์ยุคก่อนอย่างโฮโม อิเล็กตัสแล้ว มนุษย์ยังรู้จักใช้ไฟในการให้ความร้อน และปรุงอาหาร นอกจากนั้นแล้วมนุษย์ยุคปัจจุบันยังได้พัฒนาภาษา และยังมีพิธีกรรมหลังความตาย และเริ่มดำรงชีวิตด้วยการไล่ล่า-หาเก็บและเป็นสังคมเร่ร่อน
มนุษย์ในยุคปัจจุบันหรือโฮโมซาเปียนส์เริ่มกระจายตัวจากแอฟริกา ไปยังบริเวณยุโรปและเอเชียซึ่งยังไม่มีน้ำแข็งปกคลุมอย่างรวดเร็ว และขยายถิ่นฐานไปยังอเมริกาเหนือและโอเชียเนีย ในช่วงที่ยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดกำลังเข้าสู่ช่วงสูงสุด เมื่ออุณหภูมิของอาณาเขตระหว่างซีกโลกร้อนกับขั้วโลก (Temperate Zone) เริ่มลดต่ำลงจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ มนุษย์จึงหยุดขยายตัวไปทางเหนือและใต้ แต่เน้นกระจายในอาณาเขตที่ไม่มีน้ำแข็งจนครอบคลุมโลกทั้งใบในช่วง 12,000 ปีที่แล้ว
การปฏิวัติเกษตรกรรมเริ่มขึ้นครั้งแรกในราวๆ 10,000 ปีก่อนคริสตกาล การทำเกษตรกรรมเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดระบบการจัดการ และสร้างอาหารส่วนเกิน (surplus) จากการบริโภคทำให้เกิดการค้าขายได้ การเกษตรสร้างระบบเมืองในยุคแรก ทำให้เกิดการค้าขาย การผลิต และอำนาจทางการเมือง สำหรับผู้ไม่ได้ผลิตในภาคการเกษตร [10][11] [12]
อักษรคูนิฟอร์มซึ่งเป็นระบบการเขียนแรกสุด
การพัฒนาระบบเมืองยังทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านภาษา และความรุ่งเรืองของอารยธรรมตามมา ดังจะเห็นได้จากในช่วง 40,000 ปีก่อนคริสตกาลก่อนจะมีเมืองเกิดขึ้น มีหลักฐานการสร้างที่อยู่อาศัยที่มนุษย์สร้างขึ้นในตอนเหนือของแคว้นปัญจาบ และเอเชียกลาง (Bactria) ในช่วง 7,000 ปีก่อนคริสตกาล มีหลักฐานว่ามนุษย์เริ่มปลูกข้าวบาร์เลย์ และเลี้ยงแกะกับแพะ ในบริเวณดังกล่าว ในช่วงนั้น คนเริ่มอาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งสร้างโดยอิฐและดินเหนียว ซึ่งบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน แหล่งอารยธรรมแรกเป็นแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียตอนล่างของชาวสุเมเรียน ในช่วง 3500 ปีก่อนคริสตกาล[13][14] ตามมาด้วยอารยธรรมอียิปต์ บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ในช่วง 3300 ปีก่อนคริสตกาลและอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ในช่วงเดียวกัน [15][16] ระบบเมืองเริ่มซับซ้อนมากขึ้นจากระบบทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ละอารยธรรมมีความแตกต่างจากอารยธรรมอื่นเนื่องจากอารยธรรมต่างๆ ยังไม่สัมพันธ์กัน เริ่มมีระบบการเขียน และการค้าขาย
ความเชื่อทางศาสนาในช่วงนี้ให้ความเคารพในโลก ท้องฟ้า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์[17] และการเปรียบปรากฏการณ์หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่างๆ ให้เป็นเทพเจ้า หรือเปรียบเหมือนมนุษย์ มีการสร้างปูชนียสถานไว้เคารพสักการะ นำไปสู่การสร้างเทวสถาน และระบบนักบวช ในที่สุด
ประวัติศาสตร์โลก
ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม (ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ[1][2][3] เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด[4] แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย
เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า
ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก[5] ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์[6] เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม[7]
ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้[8][9]
เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า
ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก[5] ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์[6] เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม[7]
ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้[8][9]
ความรู้ทั่วไปโขน
การแสดงที่ปรับปรุงมาจาก การเล่นทั้ง ๓ ประเภท ดังกล่าวมานี้ ต่อมาได้ชื่อว่า "โขน" เป็นชื่อที่ปรากฏ ในหนังสือ ของชาวต่างชาติ กล่าวถึงศิลปะการแสดงของไทย ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่เหตุใด จึงเรียกนาฏกรรม ที่ปรับปรุงจากการเล่นหนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และกระบี่กระบอง ว่าโขน ยังไม่มีผู้ใด พบหลักฐาน ความเป็นมา อย่างแน่นอน แต่มีอยู่ท่านหนึ่ง คือ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้เขียนไว้ในหนังสือโขน พิมพ์เผยแพร่มาแล้วหลายครั้ง อธิบายถึงคำว่า"โขน" ไว้ดังนี้
เราได้พบคำว่า"โขล" ของเบงคาลี , "โกล" หรือ "โกลัม" ของทมิฬ และ "โขน" ของอิหร่าน อันมี ความหมาย คล้ายคำว่า "โขน" ซึ่งเป็นนาฏกรรม ของเราในบัดนี้ อย่างน้อยก็ มีความหมาย เป็น ๓ ทาง คือ
๑. จากคำว่า "โขล" ของเบงคาลี ว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ขึงด้วยหนังและใช้ตีรูปร่างเหมือนตะโพน
๒. จากคำว่า "โกล" หรือ โกลัม ของทมิฬ หมายถึง การตกแต่ง ประดับประดาร่างกาย แสดงตัว ให้หมายรู้ถึงเพศ
๓. จากคำว่า "ควาน" หรือ "โขน" ของอิหร่าน ว่า หมายถึงผู้อ่าน หรือขับร้องแทนตัวตุ๊กตาหรือหุ่น
ถ้าที่มาของโขน อันเป็นมหานาฏกรรมของเรา จะสืบเนื่องมาจากคำ ในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและ ภาษาอิหร่านทั้งสามนั้น ก็ดูจะมีความหมายใกล้เคียง กับรูปศัพท์อยู่บ้าง แม้จะคงยังขาด ความหมาย ถึงผู้เต้น ผู้รำ แต่โขนจะมาจากคำในภาษาเบงคาลี หรือทมิฬหรืออิหร่านก็ตาม ตามหลักฐาน ที่นำมา เสนอไว้นี้ แสดงว่าแต่เดิมก็มาจากอินเดียด้วยกัน เพราะแม้ที่ว่าเป็นคำอิหร่าน ท่านอนันทกุมารสวามี ก็ว่ามีกำเนิดหรืออิทธิพลของอินเดีย "
เราได้พบคำว่า"โขล" ของเบงคาลี , "โกล" หรือ "โกลัม" ของทมิฬ และ "โขน" ของอิหร่าน อันมี ความหมาย คล้ายคำว่า "โขน" ซึ่งเป็นนาฏกรรม ของเราในบัดนี้ อย่างน้อยก็ มีความหมาย เป็น ๓ ทาง คือ
๑. จากคำว่า "โขล" ของเบงคาลี ว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ขึงด้วยหนังและใช้ตีรูปร่างเหมือนตะโพน
๒. จากคำว่า "โกล" หรือ โกลัม ของทมิฬ หมายถึง การตกแต่ง ประดับประดาร่างกาย แสดงตัว ให้หมายรู้ถึงเพศ
๓. จากคำว่า "ควาน" หรือ "โขน" ของอิหร่าน ว่า หมายถึงผู้อ่าน หรือขับร้องแทนตัวตุ๊กตาหรือหุ่น
ถ้าที่มาของโขน อันเป็นมหานาฏกรรมของเรา จะสืบเนื่องมาจากคำ ในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและ ภาษาอิหร่านทั้งสามนั้น ก็ดูจะมีความหมายใกล้เคียง กับรูปศัพท์อยู่บ้าง แม้จะคงยังขาด ความหมาย ถึงผู้เต้น ผู้รำ แต่โขนจะมาจากคำในภาษาเบงคาลี หรือทมิฬหรืออิหร่านก็ตาม ตามหลักฐาน ที่นำมา เสนอไว้นี้ แสดงว่าแต่เดิมก็มาจากอินเดียด้วยกัน เพราะแม้ที่ว่าเป็นคำอิหร่าน ท่านอนันทกุมารสวามี ก็ว่ามีกำเนิดหรืออิทธิพลของอินเดีย "
ความรู้ทั่วไปโขน
ในสมัยที่ได้แบบอย่าง เครื่องแต่งตัว มาจากการเล่นชักนาคดึกบรรพ์ คงจะไม่ใช่ เป็นแบบหัวโขน ที่สวมปิดหน้าทั้งหมด เช่นในปัจจุบันนี้ ในสมัยนั้น คงจะเป็นแบบหน้ากากสวมปิดเพียง ใบหน้า ให้เห็นเป็นรูปยักษ์ ลิง หรือเทวดามากกว่า ส่วนศีรษะก็คงจะสวม เครื่องสวมหัว แบบเดียวกัน ทุกคน บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะสวมลอมพอก แบบผู้ที่แต่งกายเป็นเทวดา เข้ากระบวนแห่ก็เป็นได้ ครั้นต่อมา จึงปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทำเป็นหัวโขนครอบทั้งศีรษะ เช่นในปัจจุบันนี้ และเข้าใจว่าหัวโขน ที่สวมครอบทั้งศีรษะ คงจะมีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรี หรือไม่ก็ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อมี เครื่องแต่งกายแล้ว ก็นำเอาลีลาท่าทาง การเต้นยกขาขึ้นลง ตามแบบ ท่าเชิดหนังใหญ่ มาเป็นท่าเต้น ของการแสดง ที่คิดขึ้นใหม่ และนำเรื่องรามเกียรติ์ ที่เคยแสดงหนังใหญ่ มาเป็น เรื่องสำหรับแสดง โดยมีการพากย์ เจรจาตามแบบ ที่เคยแสดงหนังใหญ่ นอกจาก ท่าเต้นแล้ว ยังจะต้องมีท่ารำอีกด้วย ในสมัยโบราณ คนไทยเรา เคยเห็นการเล่น กระบี่กระบองมา จนชินตา การเล่นกระบี่กระบองนั้น ก่อนที่คู่ต่อสู้ จะทำการต่อสู้กันอย่างจริงจัง จะต้องรำไหว้ครูด้วยลีลาท่ารำ ตามแบบแม่ท่าเสียก่อน ผู้ที่คิดจะใช้คน ออกไปแสดงแทน ตัวหนังใหญ่ จึงนำเอาท่ารำ ของกระบี่ กระบองมา เป็นท่ารำของตน โดยประดิษฐ์และดัดแปลงขึ้นใหม่บ้าง เช่น ท่าเทพนม ท่าปฐม เป็นต้น นอกจาก ลีลาท่ารำแล้ว ยังเอาท่าทางและ การต่อสู้กัน ของกระบี่กระบอง มาเป็นท่าทางในการรบกัน ของการแสดงชนิดใหม่นี้ด้วย
เมื่อมี เครื่องแต่งกายแล้ว ก็นำเอาลีลาท่าทาง การเต้นยกขาขึ้นลง ตามแบบ ท่าเชิดหนังใหญ่ มาเป็นท่าเต้น ของการแสดง ที่คิดขึ้นใหม่ และนำเรื่องรามเกียรติ์ ที่เคยแสดงหนังใหญ่ มาเป็น เรื่องสำหรับแสดง โดยมีการพากย์ เจรจาตามแบบ ที่เคยแสดงหนังใหญ่ นอกจาก ท่าเต้นแล้ว ยังจะต้องมีท่ารำอีกด้วย ในสมัยโบราณ คนไทยเรา เคยเห็นการเล่น กระบี่กระบองมา จนชินตา การเล่นกระบี่กระบองนั้น ก่อนที่คู่ต่อสู้ จะทำการต่อสู้กันอย่างจริงจัง จะต้องรำไหว้ครูด้วยลีลาท่ารำ ตามแบบแม่ท่าเสียก่อน ผู้ที่คิดจะใช้คน ออกไปแสดงแทน ตัวหนังใหญ่ จึงนำเอาท่ารำ ของกระบี่ กระบองมา เป็นท่ารำของตน โดยประดิษฐ์และดัดแปลงขึ้นใหม่บ้าง เช่น ท่าเทพนม ท่าปฐม เป็นต้น นอกจาก ลีลาท่ารำแล้ว ยังเอาท่าทางและ การต่อสู้กัน ของกระบี่กระบอง มาเป็นท่าทางในการรบกัน ของการแสดงชนิดใหม่นี้ด้วย
ความรู้ทั่วไปโขน
โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่ง ของไทย มีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ในชั้นเดิมปรับปรุงจาก การเล่น ๓ ประเภท คือ หนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และกระบี่ กระบอง ได้แก้ไขปรับปรุง ให้ประณีต ตามลำดับ แต่เดิมนั้นผู้แสดงโขนจะต้องสวมหัวโขน เปิดหน้าทั้งหมด จึงต้องมีผู้พูดแทนเรียกว่าผู้พากย์ - เจรจา ต่อมาได้ปรับปรุง ให้ผู้แสดง ซึ่งเป็นตัวเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ชาย หญิง สวมแต่เครื่อง ประดับศีรษะไม่ต้อง เปิดหน้าทั้งหมด เครื่องประดับศีรษะ ได้แก่ ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า กระบังหน้า ซึ่งมี ศัพท์ เรียกว่า ศิราภรณ์ แต่ผู้แสดงโขนที่สวมศิราภรณ์เหล่านี้ ก็ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ คือ ไม่พูดเอง ต้องมีผู้พากย์ - เจรจาแทน เว้นแต่ผู้แสดง เป็นตัวตลก และฤาษีบางองค์ จึงจะเจรจาเอง ถือเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของผู้แสดงโขนที่เป็นตัวตลก
เรื่องที่ใช้ แสดงโขน ในปัจจุบันนี้ นิยมเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งไทย ได้เค้าเรื่องเดิม มาจากเรื่องรามายณะ ของอินเดีย มีอยู่หลายตอนที่ เรื่องรามเกียรติ์ ดำเนินความ แตกต่างจาก เรื่องรามายณะมาก โดยเหตุที่ เรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องยาว ไม่สามารถ แสดงให้จบในวันเดียวได้ บูรพาจารย์ ทางด้านการแสดงโขน จึงแบ่งเรื่องราวที่จะแสดงออกเป็นตอน ๆ มีศัพท์เรียก โดยเฉพาะว่า "ชุด" การที่เรียกการแสดงโขนแต่ละตอนว่าชุดนั้น เรียกตามแบบหนังใหญ่ คือเขาจัดตัวหนังไว้เป็นชุด ๆ จะแสดงชุดไหนก็หยิบตัวหนังชุดนั้นมาแสดง
ที่กล่าวว่าโขน ปรับปรุงมาจาก การเล่นหนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และการเล่น กระบี่กระบองนั้น ท่านผู้รู้อธิบายว่า แต่เดิมการเล่นหนังใหญ่ เป็นมหรสพขึ้นชื่อลือชา มีมาตั้งแต่ ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ บุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาค วัดท่าทราย ซึ่งแต่งขึ้นในราว พ.ศ. ๒๒๙๔ - ๒๓๐๑ เป็นระยะเวลา ๗ ปี ปลายรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงมหรสพ ที่แสดงฉลองพระพุทธบาท ในตอนกลางคืนว่า มีการละเล่นหนังใหญ่อยู่ด้วย การละเล่น หนังใหญ่นั้น เขานำแผ่นหนังวัว (บางท่านก็ว่ามีหนังควายด้วย) มาฉลุสลัก เป็นรูปตัวยักษ์ ลิง พระ นาง ตามเรื่อง รามเกียรติ์
การเล่นหนังใหญ่ นอกจากจะมีตังหนังแล้ว ยังต้องมีคนเชิดหนัง คนเชิดหนัง คือคนที่นำตัวหนัง ออกมาเชิด และยกขาเต้นเป็นจังหวะ นอกจากนี้ ยังต้องมีผู้พากย์ - เจรจา ทำหน้าที่ พูดแทนตัวหนัง และมีวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงด้วย สำหรับสถานที่ แสดงหนังใหญ่ นิยมแสดงบน สนามหญ้าหรือบนพื้นดิน มีจอผ้าขาว ราว ๆ ๑๖ เมตร ขึงโดยมีไม้ไผ่ หรือไม้กลม ๆ ปักเป็นเสา ๔ เสา รอบ ๆ จอผ้าขาว ขลิบริมด้วยผ้าแดง ด้านหลังจอจุดไต้ ให้มีแสงสว่าง เพื่อเวลา ที่ผู้เชิดหนัง เอาตัวหนัง ทาบจอทางด้านใน ผู้ชมจะได้แลเห็นลวดลาย ของตัวหนังได้ชัดเจนสวยงาม เมื่อแสดงหนังใหญ่นาน ๆ เข้า ทั้งผู้ชมและผู้เชิดหนัง ก็คงจะเกิดความเบื่อหน่ายผู้ชม คงจะเบื่อที่ตัวหนังใหญ่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ไม่ได้ฉลุสลัก เป็นรูปร่างอย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ส่วนผู้เชิดหนัง ก็อาจจะเบื่อหน่าย ที่จะนำตัวหนัง ออก ไปเชิด เนื่องจาก ตัวหนังบางตัว มีน้ำหนักมาก การที่ต้อง จับยกขึ้น เชิดชูอยู่เป็น เวลานาน ๆ ก็ทำให้ เมื่อยแขน ตัวหนังที่มีน้ำหนักมาก ๆ บางตัวมีขนาดใหญ่ และสูงขึ้นถึง ๒ เมตร เช่น หนังเมือง หรือหนัง ปราสาท จึงคิดจะออกไปแสดงแทน ตัวหนังใหญ่ แต่ก็ยังหา เครื่องแต่งกายให้ เหมาะสม กับตัวละครใน เรื่องรามเกียรติ์ ที่แบ่งเป็น พระ นาง ยักษ์ และลิง ไม่ได้
บังเอิญในเวลานั้น มีการเล่นใน พระราชพิธี อินทราภิเษกอยู่อย่างหนึ่ง คือ การเล่นชักนาค ดึกดำบรรพ์ การเล่นแบบ นี้ผู้เล่นแต่งกาย เป็นยักษ์ ลิง เทวดา มีพาลี และสุครีพ เป็นตัวเอก การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธี อินทราภิเษกนี้ ท่านผู้รู้ สันนิษฐานว่า บางทีพระมหากษัตริย์ไทย ในสมัยโบราณ อาจจะได้แบบอย่าง มาจากขอม แม้จะ ไม่มีตำนาน กล่าวไว้โดยชัดเจน แต่ก็ปรากฏว่า มีพนักสะพานทั้งสองข้าง ที่ทอดข้ามคู เข้าสู่นครธม ทำเป็นรูปพญานาค ตัวใหญ่มี ๗ เศียร ข้างละตัว มีเทวดา อยู่ฟากหนึ่ง อสูรอยู่ฟากหนึ่ง กำลังทำท่าฉุด พญานาค และที่ในนครวัด ก็จำหลักรูปชัดนาค ทำน้ำอมฤตไว้ที่ผนัง ระเบียง ด้านตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้รู้สันนิษฐานว่า การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษกของไทย น่าจะได้แบบอย่าง มาจากขอม การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษก จะสร้างภูเขา จำลองขึ้น แล้วทำเป็นตัวพญานาค พันรอบ ภูเขาจำลอง ให้พวกทหาร ตำรวจมหาดเล็ก เด็กชาย แต่งกายเป็นยักษ์ เทวดา และลิง ทำท่าฉุดพญานาค โดยพวกยักษ์ ฉุดด้านเศียรพญานาค เทวดา อยู่ทางด้านหาง และพวกลิงอยู่ทางปลายหาง ผู้ที่คิด จะออกไปแสดงแทนตัวหนังใหญ่ จึงเอาเครื่อง แต่งกายของ ผู้ที่เล่นชักนาคดึกดำบรรพ์มาแต่ง และเครื่องแต่งกาย ก็วิวัฒนาการ ตามลำดับจนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน เชื่อกันว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือที่เรียกกัน ต่อมาว่าหัวโขน ที่ทำเป็นหน้ายักษ์ ลิง เทวดา และมนุษย์ผู้ชายนั้น
ในชั้นเดิมปรับปรุงจาก การเล่น ๓ ประเภท คือ หนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และกระบี่ กระบอง ได้แก้ไขปรับปรุง ให้ประณีต ตามลำดับ แต่เดิมนั้นผู้แสดงโขนจะต้องสวมหัวโขน เปิดหน้าทั้งหมด จึงต้องมีผู้พูดแทนเรียกว่าผู้พากย์ - เจรจา ต่อมาได้ปรับปรุง ให้ผู้แสดง ซึ่งเป็นตัวเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ชาย หญิง สวมแต่เครื่อง ประดับศีรษะไม่ต้อง เปิดหน้าทั้งหมด เครื่องประดับศีรษะ ได้แก่ ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า กระบังหน้า ซึ่งมี ศัพท์ เรียกว่า ศิราภรณ์ แต่ผู้แสดงโขนที่สวมศิราภรณ์เหล่านี้ ก็ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ คือ ไม่พูดเอง ต้องมีผู้พากย์ - เจรจาแทน เว้นแต่ผู้แสดง เป็นตัวตลก และฤาษีบางองค์ จึงจะเจรจาเอง ถือเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของผู้แสดงโขนที่เป็นตัวตลก
เรื่องที่ใช้ แสดงโขน ในปัจจุบันนี้ นิยมเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งไทย ได้เค้าเรื่องเดิม มาจากเรื่องรามายณะ ของอินเดีย มีอยู่หลายตอนที่ เรื่องรามเกียรติ์ ดำเนินความ แตกต่างจาก เรื่องรามายณะมาก โดยเหตุที่ เรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องยาว ไม่สามารถ แสดงให้จบในวันเดียวได้ บูรพาจารย์ ทางด้านการแสดงโขน จึงแบ่งเรื่องราวที่จะแสดงออกเป็นตอน ๆ มีศัพท์เรียก โดยเฉพาะว่า "ชุด" การที่เรียกการแสดงโขนแต่ละตอนว่าชุดนั้น เรียกตามแบบหนังใหญ่ คือเขาจัดตัวหนังไว้เป็นชุด ๆ จะแสดงชุดไหนก็หยิบตัวหนังชุดนั้นมาแสดง
ที่กล่าวว่าโขน ปรับปรุงมาจาก การเล่นหนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และการเล่น กระบี่กระบองนั้น ท่านผู้รู้อธิบายว่า แต่เดิมการเล่นหนังใหญ่ เป็นมหรสพขึ้นชื่อลือชา มีมาตั้งแต่ ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ บุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาค วัดท่าทราย ซึ่งแต่งขึ้นในราว พ.ศ. ๒๒๙๔ - ๒๓๐๑ เป็นระยะเวลา ๗ ปี ปลายรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงมหรสพ ที่แสดงฉลองพระพุทธบาท ในตอนกลางคืนว่า มีการละเล่นหนังใหญ่อยู่ด้วย การละเล่น หนังใหญ่นั้น เขานำแผ่นหนังวัว (บางท่านก็ว่ามีหนังควายด้วย) มาฉลุสลัก เป็นรูปตัวยักษ์ ลิง พระ นาง ตามเรื่อง รามเกียรติ์
การเล่นหนังใหญ่ นอกจากจะมีตังหนังแล้ว ยังต้องมีคนเชิดหนัง คนเชิดหนัง คือคนที่นำตัวหนัง ออกมาเชิด และยกขาเต้นเป็นจังหวะ นอกจากนี้ ยังต้องมีผู้พากย์ - เจรจา ทำหน้าที่ พูดแทนตัวหนัง และมีวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงด้วย สำหรับสถานที่ แสดงหนังใหญ่ นิยมแสดงบน สนามหญ้าหรือบนพื้นดิน มีจอผ้าขาว ราว ๆ ๑๖ เมตร ขึงโดยมีไม้ไผ่ หรือไม้กลม ๆ ปักเป็นเสา ๔ เสา รอบ ๆ จอผ้าขาว ขลิบริมด้วยผ้าแดง ด้านหลังจอจุดไต้ ให้มีแสงสว่าง เพื่อเวลา ที่ผู้เชิดหนัง เอาตัวหนัง ทาบจอทางด้านใน ผู้ชมจะได้แลเห็นลวดลาย ของตัวหนังได้ชัดเจนสวยงาม เมื่อแสดงหนังใหญ่นาน ๆ เข้า ทั้งผู้ชมและผู้เชิดหนัง ก็คงจะเกิดความเบื่อหน่ายผู้ชม คงจะเบื่อที่ตัวหนังใหญ่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ไม่ได้ฉลุสลัก เป็นรูปร่างอย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ส่วนผู้เชิดหนัง ก็อาจจะเบื่อหน่าย ที่จะนำตัวหนัง ออก ไปเชิด เนื่องจาก ตัวหนังบางตัว มีน้ำหนักมาก การที่ต้อง จับยกขึ้น เชิดชูอยู่เป็น เวลานาน ๆ ก็ทำให้ เมื่อยแขน ตัวหนังที่มีน้ำหนักมาก ๆ บางตัวมีขนาดใหญ่ และสูงขึ้นถึง ๒ เมตร เช่น หนังเมือง หรือหนัง ปราสาท จึงคิดจะออกไปแสดงแทน ตัวหนังใหญ่ แต่ก็ยังหา เครื่องแต่งกายให้ เหมาะสม กับตัวละครใน เรื่องรามเกียรติ์ ที่แบ่งเป็น พระ นาง ยักษ์ และลิง ไม่ได้
บังเอิญในเวลานั้น มีการเล่นใน พระราชพิธี อินทราภิเษกอยู่อย่างหนึ่ง คือ การเล่นชักนาค ดึกดำบรรพ์ การเล่นแบบ นี้ผู้เล่นแต่งกาย เป็นยักษ์ ลิง เทวดา มีพาลี และสุครีพ เป็นตัวเอก การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธี อินทราภิเษกนี้ ท่านผู้รู้ สันนิษฐานว่า บางทีพระมหากษัตริย์ไทย ในสมัยโบราณ อาจจะได้แบบอย่าง มาจากขอม แม้จะ ไม่มีตำนาน กล่าวไว้โดยชัดเจน แต่ก็ปรากฏว่า มีพนักสะพานทั้งสองข้าง ที่ทอดข้ามคู เข้าสู่นครธม ทำเป็นรูปพญานาค ตัวใหญ่มี ๗ เศียร ข้างละตัว มีเทวดา อยู่ฟากหนึ่ง อสูรอยู่ฟากหนึ่ง กำลังทำท่าฉุด พญานาค และที่ในนครวัด ก็จำหลักรูปชัดนาค ทำน้ำอมฤตไว้ที่ผนัง ระเบียง ด้านตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้รู้สันนิษฐานว่า การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษกของไทย น่าจะได้แบบอย่าง มาจากขอม การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษก จะสร้างภูเขา จำลองขึ้น แล้วทำเป็นตัวพญานาค พันรอบ ภูเขาจำลอง ให้พวกทหาร ตำรวจมหาดเล็ก เด็กชาย แต่งกายเป็นยักษ์ เทวดา และลิง ทำท่าฉุดพญานาค โดยพวกยักษ์ ฉุดด้านเศียรพญานาค เทวดา อยู่ทางด้านหาง และพวกลิงอยู่ทางปลายหาง ผู้ที่คิด จะออกไปแสดงแทนตัวหนังใหญ่ จึงเอาเครื่อง แต่งกายของ ผู้ที่เล่นชักนาคดึกดำบรรพ์มาแต่ง และเครื่องแต่งกาย ก็วิวัฒนาการ ตามลำดับจนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน เชื่อกันว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือที่เรียกกัน ต่อมาว่าหัวโขน ที่ทำเป็นหน้ายักษ์ ลิง เทวดา และมนุษย์ผู้ชายนั้น
การตั้งเก็บรักษาหัวโขน
การตั้งและการเก็บรักษา
ทวน สำหรับตั้งหัวโขนและครอบป้องกันด้วยลุ้ง
หัวโขนสำหรับใช้สวมใส่ศีรษะในการแสดงโขนนั้น เป็นการแสดงออกทางด้านความสำคัญของตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ มีความประณีตสวยงามตามแบบฉบับของช่างทำหัวโขน ที่สามารถสร้างสรรค์หัวโขนให้มีลักษณะและรูปลักษณ์ที่สื่อถึงเพศ เผ่าพงศ์วงศ์ชาติเชื้อ หรือแม้แต่การแสดงออกด้วยอารมณ์ทางสีหน้า บางหัวสร้างขึ้นเพื่อเป็นการชี้บ่งบุคลิกลักษณะเฉพาะของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ บางหัวถูกสร้างขึ้นให้เปรียบเสมือนศีรษะของเทพผู้เป็นที่เคารพนับถือ กราบไหว้บูชาเช่น หัวโขนพระพรหม พระอิศวร พระนาราย์ พระพิฆเนศวร เป็นต้น ทำให้ได้รับการยกย่องเป็นของสูงและมงคลวัตถุ มีศักดิ์และความสำคัญเหนือกว่าหัวโขนปกติธรรมดาทั่วไป
หัวโขนเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางด้านศิลปะที่มีเอกลักษณ์และทรงคุณค่าของไทย เป็นสิ่งที่ต้องเก็บรักษาให้คงอยู่ในสภาพดีตลอดเวลา ทะนุถนอมไม่ให้ชำรุดทรุดโทรมเสียหายด้วยการเก็บรักษาไว้ในลุ้ง ซึ่งเป็นภาชนะสำหรับใช้เก็บรักษาหัวโขนโดยเฉพาะ ทั้งก่อนและหลังแสดง แต่เดิมทำด้วยเครื่องจักสาน ลงรัก น้ำหนักเบาเคลื่อยย้ายได้สะดวก ปัจจุบันเปลี่ยนมาทำด้วยสังกะสีแทน ลักษณะรูปทรงกระบอกสั้น ประกอบด้วยตัวลุ้งสำหรับใส่หัวโขนและฝาครอบ กึ่งกลางของลุ้งจะเป็นที่ตั้งทวนหรือหลักเตี้ย ลักษณะเป็นแป้นกลมใช้สำหรับรองรับหัวโขนหรือมงกุฎ ชฎา[12]
ลุ้งแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ลุ้งสำหรับเก็บหัวโขนมีมงกุฎทรงยอดเช่น พญาทูษณ์ มัยราพณ์ พญาขร สัทธาสูร วิรุญจำบัง บรรลัยจักร พิเภก ชิวหา กุเวรนุราช เปาวนาสูร บรรลัยกัลป์ วันยุวิก รามสูร ทศคีรีวัน ทศคีรีธร ทัพนาสูร สวาหุ มารีศ ตรีเมฆ มังกรกัณฐ์ ทศกัณฐ์ ลักษณะของลุ้งชนิดนี้จะเป็นฝารูปกรวยกลมทรงสูงหรือเตี้ย ขึ้นอยู่กับความสูงของมงกุฎ เพื่อให้มีที่ว่างพอสำหรับความสูงของมงกุฎ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายเมื่อปิดฝาลุ้ง และลุ้งสำหรับเก็บหัวโขนไม่มีมงกุฎหรือหัวโล้น ที่ฝาครอบมีลักษณะตัดตรงเช่น พาลี สุครีพ หนุมสน ชมพูพาน ชามพูวราช องคต นิลพัท นิลนนท์ เป็นต้น
การเก็บรักษาหัวโขนที่ใช้ในการแสดงนั้น ถ้าไม่เก็บไว้ในลุ้งเพื่อป้องกันความเสียหาย จะต้องนำหัวโขนหน้าต่าง ๆ มาวางไว้บนทวนที่ทำจากไม้ นำมากลึงขึ้นรูปเป็นหลักทวน ฐานมีลักษณะแป้นกลม ตรงปลายทวนมีแป้นสำหรับรองรับหัวโขน สูงประมาณหนึ่งฟุต และต้องตั้งให้อยู่สูงจากพื้นและทางเดิน ไม่นำไปวางไว้ในที่ต่ำที่สามารถเดินข้ามไปมาได้ ไม่ทำหัวโขนร่วงหล่นลงพื้น ไม่ปล่อยให้หัวโขนถูกแมลงสาบกัดแทะ หรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการแสดงออกถึงความไม่เคารพในครูบาอาจารย์
เนื่องจากหัวโขนที่ใช้ในการแสดงนั้นถือเป็นของสูงและมีครู ที่ต้องให้ความเคารพบูชาทั้งในเวลาแสดงและเวลาปกติ มักนิยมจัดเก็บโดยการแบ่งออกเป็นพวก ๆ เป็นส่วนสัดเป็นส่วนเช่น ฝ่ายมนุษย์ ฝ่ายยักษ์และฝ่ายลิง โดยเฉพาะหัวโขนหน้ายักษ์และหน้าลิงต้องเก็บรักษาไว้คนละด้าน มีหัวพระฤๅษีภรตมุนีหรือหัวพ่อแก่วางคั่นกลาง ห้ามนำมาเก็บรวมกันโดยเด็ดขาด ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ รวมทั้งห้ามนำหัวโขนหรือเครื่องแต่งกายสำหรับแสดง มาเก็บรักษาไว้ที่บ้านโดยเด็ดขาด ต้องนำไปฝากไว้ที่วัดเท่านั้นเพราะถือกันว่าเป็นของร้อน ถ้าผู้ใดเก็บรักษาไว้จะมีแต่เหตุเดือดร้อนวุ่นวายไม่สิ้นสุด หรือแม้กระทั่งห้ามนำรูปวาดของตัวละครใด ๆ ก็ตามในเรื่องรามเกียรติ์มาเก็บไว้เช่นกัน ปัจจุบันข้อห้ามดังกล่าวได้สูญหายไปตามกาลเวลา ทำให้มีผู้นิยมนำหัวโขนไปเป็นของประดับตกแต่งหรือของที่ระลึกแทน[13]
ทวน สำหรับตั้งหัวโขนและครอบป้องกันด้วยลุ้ง
หัวโขนสำหรับใช้สวมใส่ศีรษะในการแสดงโขนนั้น เป็นการแสดงออกทางด้านความสำคัญของตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ มีความประณีตสวยงามตามแบบฉบับของช่างทำหัวโขน ที่สามารถสร้างสรรค์หัวโขนให้มีลักษณะและรูปลักษณ์ที่สื่อถึงเพศ เผ่าพงศ์วงศ์ชาติเชื้อ หรือแม้แต่การแสดงออกด้วยอารมณ์ทางสีหน้า บางหัวสร้างขึ้นเพื่อเป็นการชี้บ่งบุคลิกลักษณะเฉพาะของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ บางหัวถูกสร้างขึ้นให้เปรียบเสมือนศีรษะของเทพผู้เป็นที่เคารพนับถือ กราบไหว้บูชาเช่น หัวโขนพระพรหม พระอิศวร พระนาราย์ พระพิฆเนศวร เป็นต้น ทำให้ได้รับการยกย่องเป็นของสูงและมงคลวัตถุ มีศักดิ์และความสำคัญเหนือกว่าหัวโขนปกติธรรมดาทั่วไป
หัวโขนเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางด้านศิลปะที่มีเอกลักษณ์และทรงคุณค่าของไทย เป็นสิ่งที่ต้องเก็บรักษาให้คงอยู่ในสภาพดีตลอดเวลา ทะนุถนอมไม่ให้ชำรุดทรุดโทรมเสียหายด้วยการเก็บรักษาไว้ในลุ้ง ซึ่งเป็นภาชนะสำหรับใช้เก็บรักษาหัวโขนโดยเฉพาะ ทั้งก่อนและหลังแสดง แต่เดิมทำด้วยเครื่องจักสาน ลงรัก น้ำหนักเบาเคลื่อยย้ายได้สะดวก ปัจจุบันเปลี่ยนมาทำด้วยสังกะสีแทน ลักษณะรูปทรงกระบอกสั้น ประกอบด้วยตัวลุ้งสำหรับใส่หัวโขนและฝาครอบ กึ่งกลางของลุ้งจะเป็นที่ตั้งทวนหรือหลักเตี้ย ลักษณะเป็นแป้นกลมใช้สำหรับรองรับหัวโขนหรือมงกุฎ ชฎา[12]
ลุ้งแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ลุ้งสำหรับเก็บหัวโขนมีมงกุฎทรงยอดเช่น พญาทูษณ์ มัยราพณ์ พญาขร สัทธาสูร วิรุญจำบัง บรรลัยจักร พิเภก ชิวหา กุเวรนุราช เปาวนาสูร บรรลัยกัลป์ วันยุวิก รามสูร ทศคีรีวัน ทศคีรีธร ทัพนาสูร สวาหุ มารีศ ตรีเมฆ มังกรกัณฐ์ ทศกัณฐ์ ลักษณะของลุ้งชนิดนี้จะเป็นฝารูปกรวยกลมทรงสูงหรือเตี้ย ขึ้นอยู่กับความสูงของมงกุฎ เพื่อให้มีที่ว่างพอสำหรับความสูงของมงกุฎ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายเมื่อปิดฝาลุ้ง และลุ้งสำหรับเก็บหัวโขนไม่มีมงกุฎหรือหัวโล้น ที่ฝาครอบมีลักษณะตัดตรงเช่น พาลี สุครีพ หนุมสน ชมพูพาน ชามพูวราช องคต นิลพัท นิลนนท์ เป็นต้น
การเก็บรักษาหัวโขนที่ใช้ในการแสดงนั้น ถ้าไม่เก็บไว้ในลุ้งเพื่อป้องกันความเสียหาย จะต้องนำหัวโขนหน้าต่าง ๆ มาวางไว้บนทวนที่ทำจากไม้ นำมากลึงขึ้นรูปเป็นหลักทวน ฐานมีลักษณะแป้นกลม ตรงปลายทวนมีแป้นสำหรับรองรับหัวโขน สูงประมาณหนึ่งฟุต และต้องตั้งให้อยู่สูงจากพื้นและทางเดิน ไม่นำไปวางไว้ในที่ต่ำที่สามารถเดินข้ามไปมาได้ ไม่ทำหัวโขนร่วงหล่นลงพื้น ไม่ปล่อยให้หัวโขนถูกแมลงสาบกัดแทะ หรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการแสดงออกถึงความไม่เคารพในครูบาอาจารย์
เนื่องจากหัวโขนที่ใช้ในการแสดงนั้นถือเป็นของสูงและมีครู ที่ต้องให้ความเคารพบูชาทั้งในเวลาแสดงและเวลาปกติ มักนิยมจัดเก็บโดยการแบ่งออกเป็นพวก ๆ เป็นส่วนสัดเป็นส่วนเช่น ฝ่ายมนุษย์ ฝ่ายยักษ์และฝ่ายลิง โดยเฉพาะหัวโขนหน้ายักษ์และหน้าลิงต้องเก็บรักษาไว้คนละด้าน มีหัวพระฤๅษีภรตมุนีหรือหัวพ่อแก่วางคั่นกลาง ห้ามนำมาเก็บรวมกันโดยเด็ดขาด ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ รวมทั้งห้ามนำหัวโขนหรือเครื่องแต่งกายสำหรับแสดง มาเก็บรักษาไว้ที่บ้านโดยเด็ดขาด ต้องนำไปฝากไว้ที่วัดเท่านั้นเพราะถือกันว่าเป็นของร้อน ถ้าผู้ใดเก็บรักษาไว้จะมีแต่เหตุเดือดร้อนวุ่นวายไม่สิ้นสุด หรือแม้กระทั่งห้ามนำรูปวาดของตัวละครใด ๆ ก็ตามในเรื่องรามเกียรติ์มาเก็บไว้เช่นกัน ปัจจุบันข้อห้ามดังกล่าวได้สูญหายไปตามกาลเวลา ทำให้มีผู้นิยมนำหัวโขนไปเป็นของประดับตกแต่งหรือของที่ระลึกแทน[13]
หัวโขน
หัวโขน เป็นงานศิลปะชั้นสูง ใช้สำหรับสวมครอบศีรษะ ปิดบังส่วนหน้าของผู้แสดงโขนอย่างมิดชิด เป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ และงานศิลปะที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างวิจิตรตระการตาเช่นเดียวกับเครื่องแต่งกาย ประณีตบรรจงตามแบบช่างไทย มีรูปลักษณะสวยงาม ลักษณะคล้ายหน้ากาก แตกต่างตรงที่เป็นการสร้างจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะทั้งหมด เจาะช่องเป็นรูกลมที่นัยน์ตาของหัวโขน ให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดงเพื่อการมองเห็น แบ่งเป็น 2 ประเภทคือหัวโขนสำหรับใช้ในการแสดง หมายความถึงหัวโขนที่สื่อถึงตัวละครนั้น ๆ เช่น พระ ยักษ์ เทวดา วานรและสัตว์ต่าง ๆ สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ ตามเอกลักษณ์ของหัวโขนที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบของศิลปะไทยและหัวโขนที่ใช้สำหรับเป็นของประดับตกแต่งหรือของที่ระลึก หมายความถึงหัวโขนที่ทำขึ้นโดยการหล่อ ปั้น ฉีดและขึ้นรูปด้วยพลาสติกหรือกรรมวิธีอื่น ๆ ลงรักปิดทอง ประดับกระจก
ประเภทของหัวโขน
หัวโขนที่ใช้สำหรับแสดง แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของตัวละครคือ หัวโขนพงศ์นารายณ์ ประกอบด้วยเผ่าพงศ์วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา หัวโขนพรหมพงศ์และอสูรพงศ์ ประกอบด้วยพรหมผู้สร้างกรุงลงกาและอสูรพงศ์ในกรุงลงกา หัวโขนมเหศวรพงศ์ ประกอบด้วยพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมและเทวดาต่าง ๆ หัวโขนฤๅษี ประกอบด้วยฤๅษีผู้สร้างกรุงอโยธยา ฤๅษีที่พระราม พระลักษมณ์และนางสีดาพบเมื่อคราวเดินดง หัวโขนวานรพงศ์ ประกอบด้วยพญาวานร วานรสิบแปดมงกุฎ เสนาวานร วานรเตียวเพชร วานรจังเกียงและพลลิงหรือเขนลิง
หัวโขนคนธรรพ์ ประกอบด้วยเทพคนธรรพ์และคนธรรพ์ หัวโขนพญาปักษา ประกอบด้วยพญาครุฑ พญาสัมพาที พญาสดายุ และหัวโขนแบบเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วยหัวสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น และอาจแบ่งตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวมอย่างละ 2 ประเภทคือ ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น ลิงยอดและลิงโล้น[4] นอกจากนี้ยังแบ่งตามชนิดของมงกุฎ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป แบ่งเป็นฝ่ายลงกาคือ มงกุฎยอดกระหนก มงกุฎยอดจีบ มงกุฎยอดหางไก่ มงกุฎยอดน้ำเต้า มงกุฎยอดน้ำเต้ากลม มงกุฎยอดน้ำเต้าเฟื่อง มงกุฎยอดกาบไผ่ มงกุฎยอดสามกลีบ มงกุฎยอดหางไหล มงกุฎยอดนาคา มงกุฎตามหัวหรือหน้า พวกไม่มีมงกุฎ พวกหัวโล้น พวกหัวเขนยักษ์หรือพลทหารยักษ์และตัวตลกฝ่ายยักษ์
ถึงแม้มีการบัญญัติและประดิษฐ์หัวโขนให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน ยังคงมีหัวโขนบางประเภทที่มีมงกุฎยอดเหมือนกัน จึงมีการทำหน้าโขนให้ปากและตาแตกต่างกันไป แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ ประเภทปากแสยะตาโพลง ประเภทปากแสยะตาจระเข้ ประเภทปากขบตาโพลง และประเภทปากขบตาจระเข้ เป็นต้น[5] ฝ่ายพลับพลาคือ มงกุฎยอดบัด มงกุฎยอดชัยหรือยอดแหลม มงกุฎยอดสามกลีบ พวกไม่มีมงกุฎแต่เป็นลิงพญามีฤทธิ์เดช พวกไม่มีมงกุฎแต่เรียกมงกุฎ พวกเตียวเพชร จังเกียง หัวลิงเขนหรือพลทหารลิงและหัวตลกฝ่ายลิง สำหรับพวกพญาวานรที่ไม่มีมงกุฎและพวกสิบแปดมงกุฎ มักนิยมเรียกรวมกันว่าลิงโล้น
จำแนกตามใบหน้า[แก้]
สีหน้าและมงกุฏยอดแบบต่าง ๆ ของหัวโขน
การจำแนกตามใบหน้าของโขน เป็นการจำแนกหน้าของหัวโขนจำนวนมากออกจากกัน แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่หน้ามนุษย์ หน้าเทวดาและหน้าอมนุษย์ ในส่วนของหน้ามนุษย์ฯ ช่างทำหัวโขนจะนิยมปั้นเค้าโครงหน้าให้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์ มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยตรงบริเวณหู ดวงตา จมูกและปาก ซึ่งจะปั้นออกมาเป็นลักษณะกลาง ๆ ไม่เหมือนกับรูปหน้าของหุ่นและมนุษย์จริงมากนัก ดังนั้นใบหน้าของหัวโขนประเภทหน้ามนุษย์ฯ จะมีเค้าโครงหน้าเหมือนกันทุกหัว นิยมเขียนระบายสีสันบนใบหน้าให้ยิ้มแย้มอยู่ในหน้าด้วยอารมณ์ร่าเริง วาดเส้นโค้งกลับขึ้นบริเวณส่วนปากกับไพรหนวด ดวงตาทั้งสองข้างโค้งงอนขึ้น สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในหน้าของฤๅษี
สำหรับหน้าอมนุษย์ ส่วนใหญ่จะเป็นหน้ายักษ์ ปั้นเค้าโครงจากใบหน้ามนุษย์ทั่ว ๆ ไปเช่นเดียวกับหน้ามนุษย์ฯ ในการปั้นหัวโขนหน้าอมนุษย์นั้น ช่างทำหัวโขนจะต้องมีความชำนาญ ศึกษาเรียนรู้ภูมิหลังและประวัติความเป็นมาของตัวละครยักษ์แต่ละตัวอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถปั้นหัวโขนให้มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวละครมากที่สุดเช่น ทศกัณฐ์ซึ่งลักษณะนิสัยตามเนื้อเรื่องที่ดุร้าย โกรธง่าย มีสิบหน้าสิบมือและมีฤทธิ์มาก จึงเลือกเอาลักษณะความโหดร้าย หน้าตาถมึงทึงที่เป็นเอกลักษณ์มาใช้ นำมาเขียนสีและระบายสีสันเขียนลงบนใบหน้าของทศกัณฐ์ หรือพิเภกที่มีลักษณะนิสัยไม่ดุร้าย เป็นยักษ์ฝ่ายดี ไม่มีฤทธิ์เดชมาก การเขียนสีและระบายบนใบหน้าจึงแลดูไม่ดุร้ายมากนัก[7]
ประเภทของหัวโขน
หัวโขนที่ใช้สำหรับแสดง แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของตัวละครคือ หัวโขนพงศ์นารายณ์ ประกอบด้วยเผ่าพงศ์วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา หัวโขนพรหมพงศ์และอสูรพงศ์ ประกอบด้วยพรหมผู้สร้างกรุงลงกาและอสูรพงศ์ในกรุงลงกา หัวโขนมเหศวรพงศ์ ประกอบด้วยพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมและเทวดาต่าง ๆ หัวโขนฤๅษี ประกอบด้วยฤๅษีผู้สร้างกรุงอโยธยา ฤๅษีที่พระราม พระลักษมณ์และนางสีดาพบเมื่อคราวเดินดง หัวโขนวานรพงศ์ ประกอบด้วยพญาวานร วานรสิบแปดมงกุฎ เสนาวานร วานรเตียวเพชร วานรจังเกียงและพลลิงหรือเขนลิง
หัวโขนคนธรรพ์ ประกอบด้วยเทพคนธรรพ์และคนธรรพ์ หัวโขนพญาปักษา ประกอบด้วยพญาครุฑ พญาสัมพาที พญาสดายุ และหัวโขนแบบเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วยหัวสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น และอาจแบ่งตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวมอย่างละ 2 ประเภทคือ ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น ลิงยอดและลิงโล้น[4] นอกจากนี้ยังแบ่งตามชนิดของมงกุฎ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป แบ่งเป็นฝ่ายลงกาคือ มงกุฎยอดกระหนก มงกุฎยอดจีบ มงกุฎยอดหางไก่ มงกุฎยอดน้ำเต้า มงกุฎยอดน้ำเต้ากลม มงกุฎยอดน้ำเต้าเฟื่อง มงกุฎยอดกาบไผ่ มงกุฎยอดสามกลีบ มงกุฎยอดหางไหล มงกุฎยอดนาคา มงกุฎตามหัวหรือหน้า พวกไม่มีมงกุฎ พวกหัวโล้น พวกหัวเขนยักษ์หรือพลทหารยักษ์และตัวตลกฝ่ายยักษ์
ถึงแม้มีการบัญญัติและประดิษฐ์หัวโขนให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน ยังคงมีหัวโขนบางประเภทที่มีมงกุฎยอดเหมือนกัน จึงมีการทำหน้าโขนให้ปากและตาแตกต่างกันไป แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ ประเภทปากแสยะตาโพลง ประเภทปากแสยะตาจระเข้ ประเภทปากขบตาโพลง และประเภทปากขบตาจระเข้ เป็นต้น[5] ฝ่ายพลับพลาคือ มงกุฎยอดบัด มงกุฎยอดชัยหรือยอดแหลม มงกุฎยอดสามกลีบ พวกไม่มีมงกุฎแต่เป็นลิงพญามีฤทธิ์เดช พวกไม่มีมงกุฎแต่เรียกมงกุฎ พวกเตียวเพชร จังเกียง หัวลิงเขนหรือพลทหารลิงและหัวตลกฝ่ายลิง สำหรับพวกพญาวานรที่ไม่มีมงกุฎและพวกสิบแปดมงกุฎ มักนิยมเรียกรวมกันว่าลิงโล้น
จำแนกตามใบหน้า[แก้]
สีหน้าและมงกุฏยอดแบบต่าง ๆ ของหัวโขน
การจำแนกตามใบหน้าของโขน เป็นการจำแนกหน้าของหัวโขนจำนวนมากออกจากกัน แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่หน้ามนุษย์ หน้าเทวดาและหน้าอมนุษย์ ในส่วนของหน้ามนุษย์ฯ ช่างทำหัวโขนจะนิยมปั้นเค้าโครงหน้าให้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์ มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยตรงบริเวณหู ดวงตา จมูกและปาก ซึ่งจะปั้นออกมาเป็นลักษณะกลาง ๆ ไม่เหมือนกับรูปหน้าของหุ่นและมนุษย์จริงมากนัก ดังนั้นใบหน้าของหัวโขนประเภทหน้ามนุษย์ฯ จะมีเค้าโครงหน้าเหมือนกันทุกหัว นิยมเขียนระบายสีสันบนใบหน้าให้ยิ้มแย้มอยู่ในหน้าด้วยอารมณ์ร่าเริง วาดเส้นโค้งกลับขึ้นบริเวณส่วนปากกับไพรหนวด ดวงตาทั้งสองข้างโค้งงอนขึ้น สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในหน้าของฤๅษี
สำหรับหน้าอมนุษย์ ส่วนใหญ่จะเป็นหน้ายักษ์ ปั้นเค้าโครงจากใบหน้ามนุษย์ทั่ว ๆ ไปเช่นเดียวกับหน้ามนุษย์ฯ ในการปั้นหัวโขนหน้าอมนุษย์นั้น ช่างทำหัวโขนจะต้องมีความชำนาญ ศึกษาเรียนรู้ภูมิหลังและประวัติความเป็นมาของตัวละครยักษ์แต่ละตัวอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถปั้นหัวโขนให้มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวละครมากที่สุดเช่น ทศกัณฐ์ซึ่งลักษณะนิสัยตามเนื้อเรื่องที่ดุร้าย โกรธง่าย มีสิบหน้าสิบมือและมีฤทธิ์มาก จึงเลือกเอาลักษณะความโหดร้าย หน้าตาถมึงทึงที่เป็นเอกลักษณ์มาใช้ นำมาเขียนสีและระบายสีสันเขียนลงบนใบหน้าของทศกัณฐ์ หรือพิเภกที่มีลักษณะนิสัยไม่ดุร้าย เป็นยักษ์ฝ่ายดี ไม่มีฤทธิ์เดชมาก การเขียนสีและระบายบนใบหน้าจึงแลดูไม่ดุร้ายมากนัก[7]
หมากฮอส
หมากฮอส (ภาษาอังกฤษแบบบริติช: draughts, สำเนียงอเมริกัน: checkers) เป็นกลุ่มเกมกระดานวางแผนสำหรับผู้เล่นสองคน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเดินหมากเหมือนกันในแนวทแยงและการยึดบังคับโดยโดดข้ามหมากฝั่งตรงข้าม หมากฮอสพัฒนามาจาก Alquerque
ประเภท
ชื่อหมากฮอส คนละกี่ตัว ตารางหมากฮอส ใครเดินก่อน คำอธิบายเพิ่มเติม
หมากฮอสมาเลย์/หมากฮอสสิงค์โปร 30 12x12 ไม่แน่นอน
หมากฮอสตุรกี 16 8x8 ขาว การจัดหมากเหมือนหมากรุกสากลและหมากรุกไทยแต่แค่ไปข้างหน้าอีก1ช่องการเดินก็ไม่เหมือนกับหมากฮอสทั่วไป
ประเภทเบี้ยกินข้างหน้าและหลังได้พอเป็นฮอสจะเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้จนสุดกระดาน
ชื่อหมากฮอส คนละกี่ตัว ตารางหมากฮอส ใครเดินก่อน
หมากฮอสรัสเซีย 12 8x8 ขาว
ประเภทเบี้ยกินได้แค่ข้างหน้าเท่านั้นพอเป็นฮอสเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้แต่เดินได้แค่ 1 ช่อง
ชื่อหมากฮอส คนละกี่ตัว ตารางหมากฮอส ใครเดินก่อน
หมากฮอสอังกฤษ 12 8x8 ดำ
ประเภท
ชื่อหมากฮอส คนละกี่ตัว ตารางหมากฮอส ใครเดินก่อน คำอธิบายเพิ่มเติม
หมากฮอสมาเลย์/หมากฮอสสิงค์โปร 30 12x12 ไม่แน่นอน
หมากฮอสตุรกี 16 8x8 ขาว การจัดหมากเหมือนหมากรุกสากลและหมากรุกไทยแต่แค่ไปข้างหน้าอีก1ช่องการเดินก็ไม่เหมือนกับหมากฮอสทั่วไป
ประเภทเบี้ยกินข้างหน้าและหลังได้พอเป็นฮอสจะเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้จนสุดกระดาน
ชื่อหมากฮอส คนละกี่ตัว ตารางหมากฮอส ใครเดินก่อน
หมากฮอสรัสเซีย 12 8x8 ขาว
ประเภทเบี้ยกินได้แค่ข้างหน้าเท่านั้นพอเป็นฮอสเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้แต่เดินได้แค่ 1 ช่อง
ชื่อหมากฮอส คนละกี่ตัว ตารางหมากฮอส ใครเดินก่อน
หมากฮอสอังกฤษ 12 8x8 ดำ
ราชวงศ์ฮั่น
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220)
ราชวงศ์ฮั่นสถาปนาโดยหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ 2 ของชนชาติจีนที่สามารถรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็น2ช่วง ราชวงศ์ฮั่นตอนต้นมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอันจึงได้รับการขนานนามว่าฮั่นตะวันตก เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลายได้ย้ายเมืองหลวงมายังนครลั่วหยังเรียกว่าฮั่นตะวันออก
หลิวปังผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นนั้น แต่เดิมเป็นเพียงชนชั้นขุนนางผู้น้อย เมื่อฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ในราชวงศ์ฉินสิ้นพระชนม์ลง อำนาจของราชวงศ์ฉินเริ่มคลอนแคลน มีการลุกฮือขึ้นก่อการจากกบฏชาวนาและบรรดาเชื้อสายเจ้าผู้ครองแคว้นเดิม มีการตั้งตัวเป็นใหญ่ในทุกหัวระแหง หลิวปังก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่เพาะสร้างอำนาจขึ้นจากขุมกำลังเล็ก ๆ ต่อมาได้กรีฑาทัพเข้านครเสียนหยาง อยู่ใกล้กับเมืองซีอานในปัจจุบัน ปิดฉากยุคสมัยของราชวงศ์ฉิน และส่งมอบนครเสียนหยางให้กับเซี่ยงอี่ว์หรือฌ้อปาอ๋องซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ในแคว้นฉู่และมีขุมกำลังเข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น หลิวปังจึงได้รับการอวยยศขึ้นเป็นฮั่นจงอ๋อง หลังจากสะสมกำลังพลกล้าแกร่งขึ้น จึงเปิดศึกแย่งชิงบัลลังก์กับเซี่ยงหวี่ การศึกครั้งนั้นได้รับการขนานนามว่า สงครามฉู่ฮั่น กินเวลานาน 4 ปี
ปี 202 ก่อนคริสต์ศักราช หลิวปังได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์จักรพรรดิ์ สถาปนาราชวงศ์ฮั่นระบบบริหารการปกครองของราชวงศ์ฮั่นโดยรวมแล้วยังคงยึดรูปแบบเช่นเดียวกับราชวงศ์ฉิน แต่เนื่องจากราชวงศ์ฉินที่ปกครองอย่างเข้มงวดเป็นเหตุให้ล่มสลายอย่างรวดเร็ว ฮั่นเกาจู่ จึงประกาศยกเลิกกฎหมายที่ทารุณโหดร้ายบางส่วน อีกทั้งดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรต่อประชาชน เช่น ลดการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์แรงงาน ปลดปล่อยกำลังทหารและประชาชนสู่บ้านเกิดของตน จัดสรรที่ดินทำกินให้กับบรรดาทหารที่ร่วมรบชนะศึกสงคราม อีกทั้งพระราชทานรางวัลเป็นเสบียงอาหารและตำแหน่งทางราชการ นอกจากนี้ ยังเข้าควบคุมพ่อค้าที่ร่ำรวย ไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า ผืนดินที่ทำการเพาะปลูกได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้สภาพสังคมได้มีเวลาในการฟื้นฟูและจัดระเบียบใหม่ และกลับสู่ความสงบสุขที่เคยเป็นจวบจนรัชสมัยของเหวินตี้ และจิ่งตี้ ในอีกกว่า 60 ปีให้หลัง ก็ยังคงให้ความสำคัญกับเกษตรกรรม มีการจัดเก็บภาษีแต่น้อยและเกณฑ์แรงงานต่ำ สภาพเศรษฐกิจและสังคมได้รับการเยียวยาจนกระทั่งเริ่มมีความเจริญรุดหน้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกลือ ธุรกิจเหล็กกล้า งานหัตถกรรม และการค้าขายต่างก็ขยับขยายเติบโตขึ้น
เนื่องจากในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นได้มีการปูนบำเหน็จให้กับบรรดาขุนนางและเจ้านายเชื้อพระวงศ์จำนวนมาก ดังนั้นอำนาจของเจ้านายเหล่านี้จึงนับวันจะแกร่งกล้าขึ้น ในรัชสมัยจิ่งตี้จึงเกิดเหตุการณ์ ‘กบฏ7แคว้น’ขึ้น หลังจากกบฏถูกปราบราบคาบลง อิทธิพลอำนาจของเหล่าขุนนางก็อ่อนโทรมลง อำนาจจากส่วนกลางเข้มแข็งขึ้น
ประวัติศาสตร์จีน
ยุคโบราณ
สามราชาห้าจักรพรรดิ
ราชวงศ์เซี่ย 2100–1600 BCE
ราชวงศ์ซาง 1600–1046 BCE
ราชวงศ์โจว 1045–256 BCE
ราชวงศ์โจวตะวันตก 1046–771 BCE
ราชวงศ์โจวตะวันออก 771–256 BCE
ยุควสันตสารท
ยุครณรัฐ
ยุคจักรวรรดิ
ราชวงศ์ฉิน 221 BCE–206 BCE
ราชวงศ์ฮั่น 206 BCE–220 CE
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
ราชวงศ์ซิน
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
ยุคสามก๊ก 220–280
เว่ย สู่ และ หวู
ราชวงศ์จิ้น 265–420
จิ้นตะวันตก ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น 304–439
จิ้นตะวันออก
ราชวงศ์เหนือ-ใต้ 420–589
ราชวงศ์สุย 581–618
ราชวงศ์ถัง 618–907
( ราชวงศ์อู่โจว 690–705 )
ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร
907–960 ราชวงศ์เหลียว
907–1125
ราชวงศ์ซ่ง
960–1279
ราชวงศ์ซ่งเหนือ เซี่ยตะวันตก
ราชวงศ์ซ่งใต้ จิน
ราชวงศ์หยวน 1271–1368
ราชวงศ์หมิง 1368–1644
ราชวงศ์ชิง 1644–1911
ยุคใหม่
สาธารณรัฐจีน 1912–1949
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) 1949–ปัจจุบัน
สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
1949–ปัจจุบัน
บทความที่เกี่ยวข้อง [แสดง]
จัดการ: แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข
รัชสมัยอู่ตี้ (ระยะเวลาครองราชย์ 54 ปี ถือเป็นกษัตริย์ชาวฮั่นที่ครองบัลลังก์ยาวนานที่สุดของจีน) จึงถือเป็นยุคทองของฮั่นตะวันตก เศรษฐกิจรุ่งเรือง ทรัพย์สินในทองพระคลังล้นเหลือ ในรัชสมัยอู่ตี้ มีการกำหนดเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้ภายในประเทศ มีข้อห้ามในการหลอมสร้างเหรียญกษาปณ์เป็นส่วนตัว ธุรกิจหลอมเหล็กกลายเป็นกิจการของรัฐ มีการตรากฎหมายการขนส่งลำเลียง วางข้อกฎหมายระเบียบใบอนุญาตต่าง ๆ ทำให้รายได้ท้องพระคลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ฮั่นอู่ตี้จึงหันไปสนใจนโยบายต่อต่างแดน เช่น ชนเผ่าซงหนูที่คอยรบกวนอยู่ทางชายแดนภาคเหนือมาเป็นเวลานาน ฮั่นอู่ตี้ก็ได้ยกทัพออกปราบถึง 3 ครั้งครา ขับไล่ชนเผ่าซงหนูให้ถอยร่นกลับเข้าไปยังดินแดนทะเลทรายทางตอนเหนือ นำสันติสุขมายังดินแดนชายขอบตะวันตกของจีน อีกทั้งยังบุกเบิกพื้นที่ทำไร่นาในแถบดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซ่อมแซมกำแพงเมืองจีน จัดตั้งระบบไฟสัญญาณแจ้งเหตุตามชายแดน และยังส่งจางเชียนไปเป็นทูตสันถวไมตรียังดินแดนตะวันตก เพื่อเปิดเส้นทางการค้าออกไปยังดินแดนเอเชียกลาง อันเป็นที่รู้จักกันในนามของ ‘เส้นทางสายไหม’
รัชสมัยของเจาตี้ และเซวียนตี้ นั้น แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังคงก้าวไปข้างหน้า ทว่า กลับแฝงเร้นไว้ด้วยเงามืดของการเมือง เกิดการซ่องสุมอำนาจและความพยายามในการล้มล้างฐานอำนาจเดิม ทำให้ชาวเมืองพากันหวั่นหวาดความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ส่วนนโยบายต่อชนเผ่านอกด่านคือ ซ่งหนู ได้หันมาใช้การผูกมิตรแทน โดยมีการจัดส่งองค์หญิงหรือบุตรสาวของเจ้านายชั้นสูงไปแต่งงานกับหัวหน้าเผ่านอกด่าน จนเกิดเป็นตำนานของหวังเจาจวิน
รัชสมัยฮั่นหยวนตี้ กลุ่มขุนนางที่ไม่มีเชื้อสายชนชั้นสูงมีอำนาจมากขึ้น ระบอบการปกครองล้มเหลว เกิดการขัดแย้งทางชนชั้นและการลุกฮือของกบฏชาวนาอยู่เสมอ
รัชสมัยฮั่นเฉิงตี้ กลุ่มตระกูลหวังซึ่งเป็นญาติฝ่ายพระมารดาของเฉิงตี้เข้ากุมอำนาจทางการเมืองไว้ได้ ตระกูลหวังมีพี่น้อง 4 คนและหลานชายชื่อหวังมั่ง เข้ารวบตำแหน่งหัวหน้าทางการทหารและพลาธิการไว้ได้ อีกทั้งยังร่ำรวยทรัพย์สินมหาศาลพอล่วงเข้ารัชสมัยฮั่นอัยตี้ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก็ถูกกบฏชาวนาสั่นคลอนราชบัลลังก์จนแทบไม่อาจยืนหยัดต่อไปได้ หวังหมั่งนำความคิดเรื่อง ‘สืบทอดบัญชาสวรรค์’ มาใช้เพื่อการแก้ไขวิกฤตอีกครั้ง แต่ก็ต้องประสบกับความล้มเหลว เมื่อฮั่นผิงตี้ ขึ้นครองบัลลังก์ หวังหมั่งกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้งจึงเร่งกำจัดศัตรูทางการเมืองขนานใหญ่ รวมทั้งจัดตั้งสมัครพรรคพวก หาทางซื้อใจประชาชนและปัญญาชน เพื่อสนับสนุนฐานอำนาจแห่งตน
เมื่อฮั่นผิงตี้สิ้นพระชนม์ลง หยูจื่ออิง ซึ่งยังเป็นเด็กขึ้นครองราชย์ต่อมา หวังหมั่งเห็นเป็นโอกาส จึงถอดถอนหยูจื่ออิง แล้วตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ (ค.ศ. 8-23)นับแต่นั้น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก็ถึงกาลล่มสลายราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติจีน เป็นยุคสมัยที่ก่อเกิดศูนย์รวมทางจิตใจของความเป็นชนชาติจีน หรือที่ต่อมาเรียกกันว่าชาวฮั่น หลังจากฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ปฐมกษัตริย์จีนที่สามารถรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งแล้ว ในสมัยจั้นกว๋อ การสู้รบระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ ได้ทำให้เกิดการหล่อหลอมวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ เข้าด้วยกัน
เมื่อถึงสมัยฮั่นตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครอง ภาษาอักษร การศึกษาวัฒนธรรม ขนบประเพณีต่างก็ได้รับการกลืนกลายเป็นหนึ่งเดียว เกิดเป็นวัฒนธรรมร่วมกันที่เรียกว่า‘วัฒนธรรมของชนชาติฮั่น’นับแต่นั้นมา ชนชาติฮั่นซึ่งมีความเจริญมากกว่า จึงมักได้รับการยอมรับให้เป็นกลุ่มผู้นำในดินแดนแถบนี้ และนี่คือผลแห่งวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และการหลอมกลืนโดยธรรมชาติ ในภายหลังยุคสมัยฮั่นต่อมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองหรือราชวงศ์อีกมากมาย แต่กลุ่มผู้นำยังคงเป็นชาวฮั่นตลอดมา
ราชวงศ์ฮั่นสถาปนาโดยหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ 2 ของชนชาติจีนที่สามารถรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็น2ช่วง ราชวงศ์ฮั่นตอนต้นมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอันจึงได้รับการขนานนามว่าฮั่นตะวันตก เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลายได้ย้ายเมืองหลวงมายังนครลั่วหยังเรียกว่าฮั่นตะวันออก
หลิวปังผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นนั้น แต่เดิมเป็นเพียงชนชั้นขุนนางผู้น้อย เมื่อฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ในราชวงศ์ฉินสิ้นพระชนม์ลง อำนาจของราชวงศ์ฉินเริ่มคลอนแคลน มีการลุกฮือขึ้นก่อการจากกบฏชาวนาและบรรดาเชื้อสายเจ้าผู้ครองแคว้นเดิม มีการตั้งตัวเป็นใหญ่ในทุกหัวระแหง หลิวปังก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่เพาะสร้างอำนาจขึ้นจากขุมกำลังเล็ก ๆ ต่อมาได้กรีฑาทัพเข้านครเสียนหยาง อยู่ใกล้กับเมืองซีอานในปัจจุบัน ปิดฉากยุคสมัยของราชวงศ์ฉิน และส่งมอบนครเสียนหยางให้กับเซี่ยงอี่ว์หรือฌ้อปาอ๋องซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ในแคว้นฉู่และมีขุมกำลังเข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น หลิวปังจึงได้รับการอวยยศขึ้นเป็นฮั่นจงอ๋อง หลังจากสะสมกำลังพลกล้าแกร่งขึ้น จึงเปิดศึกแย่งชิงบัลลังก์กับเซี่ยงหวี่ การศึกครั้งนั้นได้รับการขนานนามว่า สงครามฉู่ฮั่น กินเวลานาน 4 ปี
ปี 202 ก่อนคริสต์ศักราช หลิวปังได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์จักรพรรดิ์ สถาปนาราชวงศ์ฮั่นระบบบริหารการปกครองของราชวงศ์ฮั่นโดยรวมแล้วยังคงยึดรูปแบบเช่นเดียวกับราชวงศ์ฉิน แต่เนื่องจากราชวงศ์ฉินที่ปกครองอย่างเข้มงวดเป็นเหตุให้ล่มสลายอย่างรวดเร็ว ฮั่นเกาจู่ จึงประกาศยกเลิกกฎหมายที่ทารุณโหดร้ายบางส่วน อีกทั้งดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรต่อประชาชน เช่น ลดการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์แรงงาน ปลดปล่อยกำลังทหารและประชาชนสู่บ้านเกิดของตน จัดสรรที่ดินทำกินให้กับบรรดาทหารที่ร่วมรบชนะศึกสงคราม อีกทั้งพระราชทานรางวัลเป็นเสบียงอาหารและตำแหน่งทางราชการ นอกจากนี้ ยังเข้าควบคุมพ่อค้าที่ร่ำรวย ไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า ผืนดินที่ทำการเพาะปลูกได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้สภาพสังคมได้มีเวลาในการฟื้นฟูและจัดระเบียบใหม่ และกลับสู่ความสงบสุขที่เคยเป็นจวบจนรัชสมัยของเหวินตี้ และจิ่งตี้ ในอีกกว่า 60 ปีให้หลัง ก็ยังคงให้ความสำคัญกับเกษตรกรรม มีการจัดเก็บภาษีแต่น้อยและเกณฑ์แรงงานต่ำ สภาพเศรษฐกิจและสังคมได้รับการเยียวยาจนกระทั่งเริ่มมีความเจริญรุดหน้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกลือ ธุรกิจเหล็กกล้า งานหัตถกรรม และการค้าขายต่างก็ขยับขยายเติบโตขึ้น
เนื่องจากในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นได้มีการปูนบำเหน็จให้กับบรรดาขุนนางและเจ้านายเชื้อพระวงศ์จำนวนมาก ดังนั้นอำนาจของเจ้านายเหล่านี้จึงนับวันจะแกร่งกล้าขึ้น ในรัชสมัยจิ่งตี้จึงเกิดเหตุการณ์ ‘กบฏ7แคว้น’ขึ้น หลังจากกบฏถูกปราบราบคาบลง อิทธิพลอำนาจของเหล่าขุนนางก็อ่อนโทรมลง อำนาจจากส่วนกลางเข้มแข็งขึ้น
ประวัติศาสตร์จีน
ยุคโบราณ
สามราชาห้าจักรพรรดิ
ราชวงศ์เซี่ย 2100–1600 BCE
ราชวงศ์ซาง 1600–1046 BCE
ราชวงศ์โจว 1045–256 BCE
ราชวงศ์โจวตะวันตก 1046–771 BCE
ราชวงศ์โจวตะวันออก 771–256 BCE
ยุควสันตสารท
ยุครณรัฐ
ยุคจักรวรรดิ
ราชวงศ์ฉิน 221 BCE–206 BCE
ราชวงศ์ฮั่น 206 BCE–220 CE
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
ราชวงศ์ซิน
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
ยุคสามก๊ก 220–280
เว่ย สู่ และ หวู
ราชวงศ์จิ้น 265–420
จิ้นตะวันตก ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น 304–439
จิ้นตะวันออก
ราชวงศ์เหนือ-ใต้ 420–589
ราชวงศ์สุย 581–618
ราชวงศ์ถัง 618–907
( ราชวงศ์อู่โจว 690–705 )
ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร
907–960 ราชวงศ์เหลียว
907–1125
ราชวงศ์ซ่ง
960–1279
ราชวงศ์ซ่งเหนือ เซี่ยตะวันตก
ราชวงศ์ซ่งใต้ จิน
ราชวงศ์หยวน 1271–1368
ราชวงศ์หมิง 1368–1644
ราชวงศ์ชิง 1644–1911
ยุคใหม่
สาธารณรัฐจีน 1912–1949
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) 1949–ปัจจุบัน
สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
1949–ปัจจุบัน
บทความที่เกี่ยวข้อง [แสดง]
จัดการ: แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข
รัชสมัยอู่ตี้ (ระยะเวลาครองราชย์ 54 ปี ถือเป็นกษัตริย์ชาวฮั่นที่ครองบัลลังก์ยาวนานที่สุดของจีน) จึงถือเป็นยุคทองของฮั่นตะวันตก เศรษฐกิจรุ่งเรือง ทรัพย์สินในทองพระคลังล้นเหลือ ในรัชสมัยอู่ตี้ มีการกำหนดเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้ภายในประเทศ มีข้อห้ามในการหลอมสร้างเหรียญกษาปณ์เป็นส่วนตัว ธุรกิจหลอมเหล็กกลายเป็นกิจการของรัฐ มีการตรากฎหมายการขนส่งลำเลียง วางข้อกฎหมายระเบียบใบอนุญาตต่าง ๆ ทำให้รายได้ท้องพระคลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ฮั่นอู่ตี้จึงหันไปสนใจนโยบายต่อต่างแดน เช่น ชนเผ่าซงหนูที่คอยรบกวนอยู่ทางชายแดนภาคเหนือมาเป็นเวลานาน ฮั่นอู่ตี้ก็ได้ยกทัพออกปราบถึง 3 ครั้งครา ขับไล่ชนเผ่าซงหนูให้ถอยร่นกลับเข้าไปยังดินแดนทะเลทรายทางตอนเหนือ นำสันติสุขมายังดินแดนชายขอบตะวันตกของจีน อีกทั้งยังบุกเบิกพื้นที่ทำไร่นาในแถบดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซ่อมแซมกำแพงเมืองจีน จัดตั้งระบบไฟสัญญาณแจ้งเหตุตามชายแดน และยังส่งจางเชียนไปเป็นทูตสันถวไมตรียังดินแดนตะวันตก เพื่อเปิดเส้นทางการค้าออกไปยังดินแดนเอเชียกลาง อันเป็นที่รู้จักกันในนามของ ‘เส้นทางสายไหม’
รัชสมัยของเจาตี้ และเซวียนตี้ นั้น แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังคงก้าวไปข้างหน้า ทว่า กลับแฝงเร้นไว้ด้วยเงามืดของการเมือง เกิดการซ่องสุมอำนาจและความพยายามในการล้มล้างฐานอำนาจเดิม ทำให้ชาวเมืองพากันหวั่นหวาดความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ส่วนนโยบายต่อชนเผ่านอกด่านคือ ซ่งหนู ได้หันมาใช้การผูกมิตรแทน โดยมีการจัดส่งองค์หญิงหรือบุตรสาวของเจ้านายชั้นสูงไปแต่งงานกับหัวหน้าเผ่านอกด่าน จนเกิดเป็นตำนานของหวังเจาจวิน
รัชสมัยฮั่นหยวนตี้ กลุ่มขุนนางที่ไม่มีเชื้อสายชนชั้นสูงมีอำนาจมากขึ้น ระบอบการปกครองล้มเหลว เกิดการขัดแย้งทางชนชั้นและการลุกฮือของกบฏชาวนาอยู่เสมอ
รัชสมัยฮั่นเฉิงตี้ กลุ่มตระกูลหวังซึ่งเป็นญาติฝ่ายพระมารดาของเฉิงตี้เข้ากุมอำนาจทางการเมืองไว้ได้ ตระกูลหวังมีพี่น้อง 4 คนและหลานชายชื่อหวังมั่ง เข้ารวบตำแหน่งหัวหน้าทางการทหารและพลาธิการไว้ได้ อีกทั้งยังร่ำรวยทรัพย์สินมหาศาลพอล่วงเข้ารัชสมัยฮั่นอัยตี้ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก็ถูกกบฏชาวนาสั่นคลอนราชบัลลังก์จนแทบไม่อาจยืนหยัดต่อไปได้ หวังหมั่งนำความคิดเรื่อง ‘สืบทอดบัญชาสวรรค์’ มาใช้เพื่อการแก้ไขวิกฤตอีกครั้ง แต่ก็ต้องประสบกับความล้มเหลว เมื่อฮั่นผิงตี้ ขึ้นครองบัลลังก์ หวังหมั่งกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้งจึงเร่งกำจัดศัตรูทางการเมืองขนานใหญ่ รวมทั้งจัดตั้งสมัครพรรคพวก หาทางซื้อใจประชาชนและปัญญาชน เพื่อสนับสนุนฐานอำนาจแห่งตน
เมื่อฮั่นผิงตี้สิ้นพระชนม์ลง หยูจื่ออิง ซึ่งยังเป็นเด็กขึ้นครองราชย์ต่อมา หวังหมั่งเห็นเป็นโอกาส จึงถอดถอนหยูจื่ออิง แล้วตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ (ค.ศ. 8-23)นับแต่นั้น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก็ถึงกาลล่มสลายราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติจีน เป็นยุคสมัยที่ก่อเกิดศูนย์รวมทางจิตใจของความเป็นชนชาติจีน หรือที่ต่อมาเรียกกันว่าชาวฮั่น หลังจากฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ปฐมกษัตริย์จีนที่สามารถรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งแล้ว ในสมัยจั้นกว๋อ การสู้รบระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ ได้ทำให้เกิดการหล่อหลอมวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ เข้าด้วยกัน
เมื่อถึงสมัยฮั่นตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครอง ภาษาอักษร การศึกษาวัฒนธรรม ขนบประเพณีต่างก็ได้รับการกลืนกลายเป็นหนึ่งเดียว เกิดเป็นวัฒนธรรมร่วมกันที่เรียกว่า‘วัฒนธรรมของชนชาติฮั่น’นับแต่นั้นมา ชนชาติฮั่นซึ่งมีความเจริญมากกว่า จึงมักได้รับการยอมรับให้เป็นกลุ่มผู้นำในดินแดนแถบนี้ และนี่คือผลแห่งวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และการหลอมกลืนโดยธรรมชาติ ในภายหลังยุคสมัยฮั่นต่อมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองหรือราชวงศ์อีกมากมาย แต่กลุ่มผู้นำยังคงเป็นชาวฮั่นตลอดมา
ราชวงศ์ชิงล่มสลาย
ราชวงศ์ชิงล่มสลาย
ภาพนายพลหยวน ซื่อไข่.
ในช่วงต้นของพุทธศตวรรษที่ 25 ประชาชนเริ่มรวมกลุ่มกันประท้วงมากขึ้นและขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทั้งพระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวางสูสวรรคตใน พ.ศ. 2451 ทิ้งให้สมาชิกราชวงศ์ที่ไร้บารมีและสถานภาพทางการเมืองไม่แน่นอนยังอยู่ในพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ โอรสขององค์ชายชุนที่ 2 ได้รับการอภิเษกให้เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปตั้งแต่พระชนมายุเพียง 2 ชันษา โดยให้พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ต่อมา นายพลหยวน ซื่อไข่ ถูกปลดออกจากตำแหน่งทางทหาร ในกลางปี พ.ศ. 2454 องค์ชายชุนที่ 2 ทรงตั้งคณะรัฐมนตรีหลวง โดยสมาชิกเกือบทั้งหมดเป็นพระญาติสกุลอ้ายซินเจว๋หลัว มีหน้าที่บริหารประเทศจีนในเรื่องทั่วไป การตั้งคณะรัฐมนตรีหลวงครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับข้าราชการชั้นสูงทั้งหลาย ซึ่งรวมทั้ง จางจื่อตง ด้วย
ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ได้เกิดจลาจลอู่จางขึ้น และต่อมา นายพลซุน ยัดเซ็น ได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลของตนขึ้นใหม่ ในนามสาธารณรัฐจีน ที่เมืองนานกิง หัวเมืองหลายแห่งเริ่มตีตัวแยกจากรัฐบาลราชวงศ์ชิง เมื่อสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้ รัฐบาลราชวงศ์ชิงจึงเรียกตัวนายพลหยวน ซื่อไข่รู้สึกไม่พอใจราชวงศ์อยู่แล้วกลับเข้ามาควบคุมกองทัพเป่ยหยาง เพื่อปราบปรามกลุ่มผู้แข็งข้อทั้งหลาย หลังจากที่ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลของตนแล้ว นายพลหยวนก็ได้เรียกร้องให้องค์ชายชุนลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ โดยการเรียกร้องครั้งนี้ได้รับคำแนะนำจาก สมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่
หลังจากองค์ชายชุนออกจากตำแหน่งแล้ว หยวน ซื่อไข่และนายพลจากกองทัพเป่ยหยางก็ครอบงำราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ ประเทศจีนในครั้งนั้นก็มี รัฐบาล 2 ฝ่าย รัฐบาลหยวน ซื่อไข่ปฏิเสธการทำสงครามกับรัฐบาลสาธารณรัฐของซุน ยัดเซ็น โดยให้เหตุผลว่าเสียค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีเหตุผล คำเรียกร้องของราชวงศ์ชิงคืออยากให้ประเทศจีนปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และซุนยัดเซ็นอยากให้ประเทศปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ หลังจากที่ได้รับการอนุญาตจากหลงหยูไทเฮาแล้ว นายพลหยวนก็ได้เปิดการเจรจากับซุนยัดเซ็น โดยที่ซุนยัดเซ็นมีเป้าหมายว่าถ้าก่อตั้งสาธารณรัฐจีนสำเร็จแล้ว อาจจะให้นายพลหยวนขึ้นเป็นประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2455 หลังจากการเจรจา หลงหยูไทเฮาก็ได้ออกพระราชเสาวนีย์ประกาศให้จักรพรรดิผู่อี๋ผู้เป็นพระโอรสบุญธรรมสละราชบัลลังก์
การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. 2454 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีนที่มีมายาวนานกว่า 2,000 ปี
ภาพนายพลหยวน ซื่อไข่.
ในช่วงต้นของพุทธศตวรรษที่ 25 ประชาชนเริ่มรวมกลุ่มกันประท้วงมากขึ้นและขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทั้งพระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวางสูสวรรคตใน พ.ศ. 2451 ทิ้งให้สมาชิกราชวงศ์ที่ไร้บารมีและสถานภาพทางการเมืองไม่แน่นอนยังอยู่ในพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ โอรสขององค์ชายชุนที่ 2 ได้รับการอภิเษกให้เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปตั้งแต่พระชนมายุเพียง 2 ชันษา โดยให้พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ต่อมา นายพลหยวน ซื่อไข่ ถูกปลดออกจากตำแหน่งทางทหาร ในกลางปี พ.ศ. 2454 องค์ชายชุนที่ 2 ทรงตั้งคณะรัฐมนตรีหลวง โดยสมาชิกเกือบทั้งหมดเป็นพระญาติสกุลอ้ายซินเจว๋หลัว มีหน้าที่บริหารประเทศจีนในเรื่องทั่วไป การตั้งคณะรัฐมนตรีหลวงครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับข้าราชการชั้นสูงทั้งหลาย ซึ่งรวมทั้ง จางจื่อตง ด้วย
ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ได้เกิดจลาจลอู่จางขึ้น และต่อมา นายพลซุน ยัดเซ็น ได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลของตนขึ้นใหม่ ในนามสาธารณรัฐจีน ที่เมืองนานกิง หัวเมืองหลายแห่งเริ่มตีตัวแยกจากรัฐบาลราชวงศ์ชิง เมื่อสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้ รัฐบาลราชวงศ์ชิงจึงเรียกตัวนายพลหยวน ซื่อไข่รู้สึกไม่พอใจราชวงศ์อยู่แล้วกลับเข้ามาควบคุมกองทัพเป่ยหยาง เพื่อปราบปรามกลุ่มผู้แข็งข้อทั้งหลาย หลังจากที่ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลของตนแล้ว นายพลหยวนก็ได้เรียกร้องให้องค์ชายชุนลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ โดยการเรียกร้องครั้งนี้ได้รับคำแนะนำจาก สมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่
หลังจากองค์ชายชุนออกจากตำแหน่งแล้ว หยวน ซื่อไข่และนายพลจากกองทัพเป่ยหยางก็ครอบงำราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ ประเทศจีนในครั้งนั้นก็มี รัฐบาล 2 ฝ่าย รัฐบาลหยวน ซื่อไข่ปฏิเสธการทำสงครามกับรัฐบาลสาธารณรัฐของซุน ยัดเซ็น โดยให้เหตุผลว่าเสียค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีเหตุผล คำเรียกร้องของราชวงศ์ชิงคืออยากให้ประเทศจีนปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และซุนยัดเซ็นอยากให้ประเทศปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ หลังจากที่ได้รับการอนุญาตจากหลงหยูไทเฮาแล้ว นายพลหยวนก็ได้เปิดการเจรจากับซุนยัดเซ็น โดยที่ซุนยัดเซ็นมีเป้าหมายว่าถ้าก่อตั้งสาธารณรัฐจีนสำเร็จแล้ว อาจจะให้นายพลหยวนขึ้นเป็นประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2455 หลังจากการเจรจา หลงหยูไทเฮาก็ได้ออกพระราชเสาวนีย์ประกาศให้จักรพรรดิผู่อี๋ผู้เป็นพระโอรสบุญธรรมสละราชบัลลังก์
การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. 2454 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีนที่มีมายาวนานกว่า 2,000 ปี
พระนางซูสีหนีภัยสงครามของตนเอง//รัฐธรรมนูญของราชสำนักชิง
พระนางซูสีหนีภัยสงครามของตนเอง
ปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) รัชศก กวางสู์ ปีที่ 26 พระนางซูสีไทเฮาสั่งกลุ่มอี้เหอถวนโจมตีเขตสถานทูตของต่างชาติในปักกิ่ง ทำให้ชาติต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหายรวมตัวกันเป็นกองทัพพันธมิตรแปดชาติตอบโต้จีน ทหารชิงแตกพ่าย ทหารพันธมิตรบุกเข้ากรุงปักกิ่งและยึดพระราชวังต้องห้ามไว้ พระนางซูสีพาพระเจ้ากวางสูลี้ภัยหนีไปเมืองซีอาน ส่วนกองทัพพันธมิตรปล้นสะดมวังต้องห้ามและบ้านเรือนของชาวบ้าน อันสร้างความเสียหายอย่างมากทั้งสถานที่หรือสมบัติมีค่าของจีน ปีต่อมาราชสำนักชิงส่งตัวแทนเจรจาสันติภาพโดยยอมใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนสูงมาก ยอมให้ต่างชาติตั้งกองทหารในเขตที่ต้องการอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ของชาติ รวมทั้งกำหนดขอบเขตที่ห้ามคนจีนเข้าไปทั้งที่เป็นดินแดนจีน การสูญเสียอธิปไตยเพิ่มเติมจากสัญญาต่างๆที่เคยทำไว้โดยมาจากความอ่อนแอของราชสำนักชิงสร้างความคับแค้นใจแก่คนจีนซึ่งเชื่อมั่นมากขึ้นว่า ชาติจะรอดพ้นภัยพิบัติได้ด้วยการล้มล้างราชวงศ์ชิงเท่านั้น แนวคิดนี้ลุกลามไปทั่วแผ่นดิน ขบวนการปฏิวัติจึงรวมตัวและเคลื่อนไหวเข้มข้นมากขึ้น อันสั่นคลอนต่ออำนาจของพระนางซูสีไทเฮาและราชสำนักชิงในเงื้อมเงาของพระนางหนักขึ้นทุกขณะ
รัฐธรรมนูญของราชสำนักชิง
ช่วงปลายลมหายใจของพระนางซูสีไทเฮา ฝ่ายต่อต้านราชสำนักชิงมีพลังมากขึ้นและแยกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญโดยยังมีฮ่องเต้ของคังโหย่วเหวย กับ ฝ่ายล้มล้างราชวงศ์ชิงของดร.ซุนยัดเซน เพื่อเป็นการลดความร้อนแรงของประชาชน ราชสำนักชิงเลือกจะร่างรัฐธรรมนูญตามที่ประชาชนต้องการ ทำให้ฝ่ายล้มล้างราชวงศ์ชิงไม่เป็นที่สนใจเพราะความหวังใหม่ในท่าทีอ่อนลงของราชสำนัก พระนางซูสีไทเฮาคัดเลือกรัชทายาทใหม่และถือเป็นคนสุดท้ายของราชวงศ์ชิงก่อนสิ้นลมหายใจ คือ จักรพรรดิผู่อี๋หรือผู่อี๋ ตอนนั้นมีพระชนมายุไม่ถึง 3 ขวบ และเปลี่ยนเป็นรัชศกเซียนถ่ง โดยมีพระบิดา คือ เจ้าชายฉุน (ไจ้เฟิง) เป็นผู้สำเร็จราชการบริหารแผ่นดินแทน พระบิดาร่างรัฐธรรมนูญต่อไปเมื่อประกาศใช้ในแผ่นดินกลับสร้างความผิดหวังแก่ประชาชนอย่างมาก เมื่อกำหนดให้กลุ่มผู้บริหารประเทศเป็นเชื้อพระวงศ์ชิงส่วนใหญ่ คนจีนตระหนักใจแล้วว่าความหวังเดียวของชาติ คือ ต้องใช้กำลังล้มล้างราชวงศ์ชิงเท่านั้น ฝ่ายที่เคยเรียกร้องรัฐธรรมนูญของคังโหย่วเหวยผันตัวเองไปสนับสนุนกลุ่มดร.ซุนยัดเซนมากขึ้น หลังจากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับของราชสำนักชิงแล้ว ประชาชนเปลี่ยนไปเข้าร่วมแนวคิดของดร.ซุนยัดเซนเพิ่มทวีขึ้นและถือว่าทรงอิทธิพลมาก ชะตากรรมของราชสำนักชิงเข้าสู่จุดวิกฤติ
ปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) รัชศก กวางสู์ ปีที่ 26 พระนางซูสีไทเฮาสั่งกลุ่มอี้เหอถวนโจมตีเขตสถานทูตของต่างชาติในปักกิ่ง ทำให้ชาติต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหายรวมตัวกันเป็นกองทัพพันธมิตรแปดชาติตอบโต้จีน ทหารชิงแตกพ่าย ทหารพันธมิตรบุกเข้ากรุงปักกิ่งและยึดพระราชวังต้องห้ามไว้ พระนางซูสีพาพระเจ้ากวางสูลี้ภัยหนีไปเมืองซีอาน ส่วนกองทัพพันธมิตรปล้นสะดมวังต้องห้ามและบ้านเรือนของชาวบ้าน อันสร้างความเสียหายอย่างมากทั้งสถานที่หรือสมบัติมีค่าของจีน ปีต่อมาราชสำนักชิงส่งตัวแทนเจรจาสันติภาพโดยยอมใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนสูงมาก ยอมให้ต่างชาติตั้งกองทหารในเขตที่ต้องการอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ของชาติ รวมทั้งกำหนดขอบเขตที่ห้ามคนจีนเข้าไปทั้งที่เป็นดินแดนจีน การสูญเสียอธิปไตยเพิ่มเติมจากสัญญาต่างๆที่เคยทำไว้โดยมาจากความอ่อนแอของราชสำนักชิงสร้างความคับแค้นใจแก่คนจีนซึ่งเชื่อมั่นมากขึ้นว่า ชาติจะรอดพ้นภัยพิบัติได้ด้วยการล้มล้างราชวงศ์ชิงเท่านั้น แนวคิดนี้ลุกลามไปทั่วแผ่นดิน ขบวนการปฏิวัติจึงรวมตัวและเคลื่อนไหวเข้มข้นมากขึ้น อันสั่นคลอนต่ออำนาจของพระนางซูสีไทเฮาและราชสำนักชิงในเงื้อมเงาของพระนางหนักขึ้นทุกขณะ
รัฐธรรมนูญของราชสำนักชิง
ช่วงปลายลมหายใจของพระนางซูสีไทเฮา ฝ่ายต่อต้านราชสำนักชิงมีพลังมากขึ้นและแยกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญโดยยังมีฮ่องเต้ของคังโหย่วเหวย กับ ฝ่ายล้มล้างราชวงศ์ชิงของดร.ซุนยัดเซน เพื่อเป็นการลดความร้อนแรงของประชาชน ราชสำนักชิงเลือกจะร่างรัฐธรรมนูญตามที่ประชาชนต้องการ ทำให้ฝ่ายล้มล้างราชวงศ์ชิงไม่เป็นที่สนใจเพราะความหวังใหม่ในท่าทีอ่อนลงของราชสำนัก พระนางซูสีไทเฮาคัดเลือกรัชทายาทใหม่และถือเป็นคนสุดท้ายของราชวงศ์ชิงก่อนสิ้นลมหายใจ คือ จักรพรรดิผู่อี๋หรือผู่อี๋ ตอนนั้นมีพระชนมายุไม่ถึง 3 ขวบ และเปลี่ยนเป็นรัชศกเซียนถ่ง โดยมีพระบิดา คือ เจ้าชายฉุน (ไจ้เฟิง) เป็นผู้สำเร็จราชการบริหารแผ่นดินแทน พระบิดาร่างรัฐธรรมนูญต่อไปเมื่อประกาศใช้ในแผ่นดินกลับสร้างความผิดหวังแก่ประชาชนอย่างมาก เมื่อกำหนดให้กลุ่มผู้บริหารประเทศเป็นเชื้อพระวงศ์ชิงส่วนใหญ่ คนจีนตระหนักใจแล้วว่าความหวังเดียวของชาติ คือ ต้องใช้กำลังล้มล้างราชวงศ์ชิงเท่านั้น ฝ่ายที่เคยเรียกร้องรัฐธรรมนูญของคังโหย่วเหวยผันตัวเองไปสนับสนุนกลุ่มดร.ซุนยัดเซนมากขึ้น หลังจากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับของราชสำนักชิงแล้ว ประชาชนเปลี่ยนไปเข้าร่วมแนวคิดของดร.ซุนยัดเซนเพิ่มทวีขึ้นและถือว่าทรงอิทธิพลมาก ชะตากรรมของราชสำนักชิงเข้าสู่จุดวิกฤติ
การปฏิรูป
การปฏิรูป / รัฐประหาร อู้ซีว์
หลังการพ่ายแพ้สงครามต่อฝรั่งเศสและญี่ปุ่น รัชศกกวางสู์ ปีที่ 23 เยอรมันใช้กำลังยึดครองอ่าวเจียวโจว คังโหย่วเหวย ถานซือถง เสนอหลักเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบใหม่เพื่อความเข้มแข็งของชาติ ซึ่งเรียกกันว่า “แผนปฏิรูป อู๋ซีว์” โดยเน้นการผลิตบัณฑิตสมัยใหม่ เปิดกว้างการวิพากษ วิเคราะห์ พัฒนากิจการใหม่ๆที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชาติ และความอิ่มท้องของชาวบ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากพระเจ้ากวางสู์ ซึ่งต้องการใช้แผนปฏิรูปนี้ยึดคืนอำนาจจากพระนางซูสีไทเฮา ข้าราชสำนักส่วนใหญ่เกิดความระแวงใจว่าแผนดังกล่าวมาจากบัณฑิตชาวฮั่น จึงร่วมมือกับพระนางซูสีทำรัฐประหาร กักขังพระเจ้ากวางสู จับถานซื่อถงกับพวกนักปฏิรูป รวมทั้งลงโทษขุนนางที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สั่งยกเลิกแผนปฏิรูปทั้งหมด เรียกว่า รัฐประหาร อู้ซีว์ ส่วนคังโหย่วเหวยกับเหลียงฉี่เชาหลบหนีไปนอกประเทศได้
หลังการปฏิรูปชาติล้มเหลว ราษฎรเริ่มตระหนักใจว่าหากไม่ล้มล้างรัฐบาลชิงซึ่งไร้ความสามารถ ราชสำนักชิงภายใต้อำนาจของพระนางซูสีเหลวแหลกและเป็นอุปสรรคในการปฏิรูปไปสู่ความเข้มแข็งของชาติ คนจำนวนมากจึงเข้าร่วมขบวนการปฏิวัติของดร.ซุนยัดเซน ในเวลาต่อไป
ขบวนการอี้เหอถวน / ศึกพันธมิตรแปดชาติ
ดูบทความหลักที่: กบฏนักมวย
ตอนปลายราชวงศ์ชิงการรุกรานของต่างชาติทั้งด้านกองทหารและศาสนาคริสต์สร้างความไม่พอใจแก่ราษฎรอันเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันที่ราชสำนักกลัวเกรงต่างชาติโดยไม่คุ้มครองชาวบ้านที่ถูกรังแกเหยียดหยาม จึงสั่งสมความแค้นกลายเป็นพลังต่อต้านต่างชาติอย่างเร็ว กอปรกับภัยพิบัติของแม่น้ำฮวงโหแล้งติดต่อกันหลายปี ทำให้เกิดความยากแค้นจึงมีกลุ่มความเชื่อลัทธิต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอี้เหอถวนในมณฑลซานตุงกับเหอเป่ย ซึ่งนอกจากสอนมวยแล้ว ยังฝังความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์ให้ชาวบ้านด้วยพร้อมกับแนวคิดสนับสนุนราชวงศ์ชิง กำจัดต่างชาติ ทำให้มีผู้ร่วมกลุ่มเพิ่มทวีขึ้น นอกจากนั้นราชสำนักชิงโดยพระนางซูสีต้องการใช้กลุ่มนี้ต่อต้านต่างชาติซึ่งคัดค้านพระนางกักขังพระเจ้ากวางสู กลุ่มนี้จึงกลายเป็นเครื่องมือทำลายต่างชาติของและได้รับการสนับสนุนจากพระนางซูสีซึ่งคอยบงการอยู่เบื้องหลัง อันสร้างความไม่พอใจแก่ชาวต่างชาติอย่างมาก
หลังการพ่ายแพ้สงครามต่อฝรั่งเศสและญี่ปุ่น รัชศกกวางสู์ ปีที่ 23 เยอรมันใช้กำลังยึดครองอ่าวเจียวโจว คังโหย่วเหวย ถานซือถง เสนอหลักเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบใหม่เพื่อความเข้มแข็งของชาติ ซึ่งเรียกกันว่า “แผนปฏิรูป อู๋ซีว์” โดยเน้นการผลิตบัณฑิตสมัยใหม่ เปิดกว้างการวิพากษ วิเคราะห์ พัฒนากิจการใหม่ๆที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชาติ และความอิ่มท้องของชาวบ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากพระเจ้ากวางสู์ ซึ่งต้องการใช้แผนปฏิรูปนี้ยึดคืนอำนาจจากพระนางซูสีไทเฮา ข้าราชสำนักส่วนใหญ่เกิดความระแวงใจว่าแผนดังกล่าวมาจากบัณฑิตชาวฮั่น จึงร่วมมือกับพระนางซูสีทำรัฐประหาร กักขังพระเจ้ากวางสู จับถานซื่อถงกับพวกนักปฏิรูป รวมทั้งลงโทษขุนนางที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สั่งยกเลิกแผนปฏิรูปทั้งหมด เรียกว่า รัฐประหาร อู้ซีว์ ส่วนคังโหย่วเหวยกับเหลียงฉี่เชาหลบหนีไปนอกประเทศได้
หลังการปฏิรูปชาติล้มเหลว ราษฎรเริ่มตระหนักใจว่าหากไม่ล้มล้างรัฐบาลชิงซึ่งไร้ความสามารถ ราชสำนักชิงภายใต้อำนาจของพระนางซูสีเหลวแหลกและเป็นอุปสรรคในการปฏิรูปไปสู่ความเข้มแข็งของชาติ คนจำนวนมากจึงเข้าร่วมขบวนการปฏิวัติของดร.ซุนยัดเซน ในเวลาต่อไป
ขบวนการอี้เหอถวน / ศึกพันธมิตรแปดชาติ
ดูบทความหลักที่: กบฏนักมวย
ตอนปลายราชวงศ์ชิงการรุกรานของต่างชาติทั้งด้านกองทหารและศาสนาคริสต์สร้างความไม่พอใจแก่ราษฎรอันเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันที่ราชสำนักกลัวเกรงต่างชาติโดยไม่คุ้มครองชาวบ้านที่ถูกรังแกเหยียดหยาม จึงสั่งสมความแค้นกลายเป็นพลังต่อต้านต่างชาติอย่างเร็ว กอปรกับภัยพิบัติของแม่น้ำฮวงโหแล้งติดต่อกันหลายปี ทำให้เกิดความยากแค้นจึงมีกลุ่มความเชื่อลัทธิต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอี้เหอถวนในมณฑลซานตุงกับเหอเป่ย ซึ่งนอกจากสอนมวยแล้ว ยังฝังความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์ให้ชาวบ้านด้วยพร้อมกับแนวคิดสนับสนุนราชวงศ์ชิง กำจัดต่างชาติ ทำให้มีผู้ร่วมกลุ่มเพิ่มทวีขึ้น นอกจากนั้นราชสำนักชิงโดยพระนางซูสีต้องการใช้กลุ่มนี้ต่อต้านต่างชาติซึ่งคัดค้านพระนางกักขังพระเจ้ากวางสู กลุ่มนี้จึงกลายเป็นเครื่องมือทำลายต่างชาติของและได้รับการสนับสนุนจากพระนางซูสีซึ่งคอยบงการอยู่เบื้องหลัง อันสร้างความไม่พอใจแก่ชาวต่างชาติอย่างมาก
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง
ดูบทความหลักที่: สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง
หลังการปฏิรูปเมจิในญี่ปุ่นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นเริ่มขยายอำนาจออกนอกประเทศ โดยมีเป้าหมายที่แผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ ด้วยการนำกองทัพบุกยึดครองเกาหลีซึ่งเป็นประเทศราชของจีนเพื่อหวังเป็นเส้นทางเข้าสู่จีน ปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) รัชศกกวงซี่ ปีที่ 20 เกาหลีเกิดจลาจลกลุ่มภูมิปัญญาตะวันออก (ตงเสวียตั่ง) ขึ้น จึงร้องขอให้จีนช่วยเหลือ จีนส่งกองทัพไปตามคำขอ ส่วนญี่ปุ่นส่งกองทัพเรือไปยึดครองเกาหลีและโจมตีทหารจีนอันเป็นการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ กองทหารชิงพ่ายแพ้ ญี่ปุ่นยังรุกต่อเนื่องทำให้ราชสำนักชิงหวั่นเกรงความเข้มแข็งของกองทัพญี่ปุ่น จึงรีบขอเจรจาสงบศึกก่อน ในปีค.ศ. 1895 จึงทำสนธิสัญญา ชิโมโนเซกิ ระหว่างขุนนางหลี่หงจาง กับ ผู้นำญี่ปุ่นชื่อ นายอิโต อิโรบูมิ ความสูญเสียของจีนคือ ยกเกาหลี ไต้หวัน คาบสมุทรเหลียวตง ให้ญี่ปุ่น ใช้เงินค่าปฏิกรรมสงครามนับสองร้อยล้านตำลึง อนุญาตให้ตั้งโรงงานตามเมืองท่าของจีนได้
ผลจากสนธิสัญญานี้บางส่วนไปกระทบต่อความมั่นคงของรัสเซียซึ่งมีดินแดนบางส่วนติดกับจีนที่บริเวณคาบสมุทรเหลียวตง รัสเซียร่วมกับฝรั่งเศส เยอรมัน ทำการคัดค้านการยึดครองดินแดนผืนนั้นอย่างหนักหน่วง ญี่ปุ่นจำใจคืนคาบสมุทรเหลียวตงให้จีน โดยแลกกับเงินแท่งหลายล้านตำลึง การต้องใช้จ่ายเงินจำนวนสูงมากในหลายกรณีโดยราชสำนักชิง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนหนักจากการรีดภาษี ความยากแค้นแผ่ขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ แรงคับแค้นใจถูกเก็บอัดแน่นมากขึ้นในหมู่ประชาชน
ดูบทความหลักที่: สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง
หลังการปฏิรูปเมจิในญี่ปุ่นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นเริ่มขยายอำนาจออกนอกประเทศ โดยมีเป้าหมายที่แผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ ด้วยการนำกองทัพบุกยึดครองเกาหลีซึ่งเป็นประเทศราชของจีนเพื่อหวังเป็นเส้นทางเข้าสู่จีน ปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) รัชศกกวงซี่ ปีที่ 20 เกาหลีเกิดจลาจลกลุ่มภูมิปัญญาตะวันออก (ตงเสวียตั่ง) ขึ้น จึงร้องขอให้จีนช่วยเหลือ จีนส่งกองทัพไปตามคำขอ ส่วนญี่ปุ่นส่งกองทัพเรือไปยึดครองเกาหลีและโจมตีทหารจีนอันเป็นการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ กองทหารชิงพ่ายแพ้ ญี่ปุ่นยังรุกต่อเนื่องทำให้ราชสำนักชิงหวั่นเกรงความเข้มแข็งของกองทัพญี่ปุ่น จึงรีบขอเจรจาสงบศึกก่อน ในปีค.ศ. 1895 จึงทำสนธิสัญญา ชิโมโนเซกิ ระหว่างขุนนางหลี่หงจาง กับ ผู้นำญี่ปุ่นชื่อ นายอิโต อิโรบูมิ ความสูญเสียของจีนคือ ยกเกาหลี ไต้หวัน คาบสมุทรเหลียวตง ให้ญี่ปุ่น ใช้เงินค่าปฏิกรรมสงครามนับสองร้อยล้านตำลึง อนุญาตให้ตั้งโรงงานตามเมืองท่าของจีนได้
ผลจากสนธิสัญญานี้บางส่วนไปกระทบต่อความมั่นคงของรัสเซียซึ่งมีดินแดนบางส่วนติดกับจีนที่บริเวณคาบสมุทรเหลียวตง รัสเซียร่วมกับฝรั่งเศส เยอรมัน ทำการคัดค้านการยึดครองดินแดนผืนนั้นอย่างหนักหน่วง ญี่ปุ่นจำใจคืนคาบสมุทรเหลียวตงให้จีน โดยแลกกับเงินแท่งหลายล้านตำลึง การต้องใช้จ่ายเงินจำนวนสูงมากในหลายกรณีโดยราชสำนักชิง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนหนักจากการรีดภาษี ความยากแค้นแผ่ขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ แรงคับแค้นใจถูกเก็บอัดแน่นมากขึ้นในหมู่ประชาชน
การปกครองสมัยต้นราชวงศ์ชิง
การปกครองสมัยต้นราชวงศ์ชิง
พุทธศตวรรษที่ 23 ในต้นราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นยุคที่ทางราชวงศ์ต้องผจญกับขบวนการกู้หมิงต้านชิง ของชาวฮั่นทั้งหลายที่โกรธแค้นที่ชนต่างเชื้อสายมาเป็นใหญ่ประเทศจีน ดังนั้นในสมัยของ จักรพรรดิคังซี, จักรพรรดิหย่งเจิ้ง และจักรพรรดิเฉียนหลง จึงต้องใช้ทั้งนโยบายประนีประนอมเพื่อให้อยู่กับชาวฮั่นได้อย่างเป็นสุข และนโยบายแข็งกร้าวเพื่อควบคุมชาวฮั่นไว้ไม่ให้คิดต่อต้าน ซึ่งนโยบายเหล่านี้กลายเป็นแนวปฏิบัติของจักรพรรดิองค์ต่อๆ มา เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอำนาจรัฐ
ในประวัติศาสตร์จีนได้ปรากฏว่ามีชนกลุ่มน้อยขึ้นตั้งราชวงศ์ปกครองแผ่นดินจีน 2 ราชวงศ์ นั่นคือ ราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกล และราชวงศ์ชิงของเผ่าแมนจู ราชวงศ์หยวนถึงแม้จะเก่งกาจ มีกำลังทหารและอาวุธที่น่าเกรงขาม แต่ไม่มีความรู้ด้านการปกครอง จึงปกครองแผ่นดินจีนได้เพียงแค่ 90 ปีเศษก็ล่มสลายไป ส่วนราชวงศ์ชิงใช้นโยบายประนีประนอมและแข็งกร้าวได้อย่างแยบยล จึงประสบความสำเร็จทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม จนสามารถปกครองแผ่นดินจีนได้นานถึง 260 ปี
นโยบายประนีประนอม
นโยบายประนีประนอมถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผูกมิตรเอาอกเอาใจชาวฮั่นซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ชิงเข้าปกครองแผ่นดินจีนใหม่ๆ เพื่อสร้างบารมีให้กับราชวงศ์ชิง และขจัดความคิดต่อต้านแมนจู โดยนโยบายสำคัญๆ มีดังนี้
จัดพระราชพิธีปลงพระศพของพระเจ้าหมิงซือจง จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิงและพระมเหสี และสร้างสุสานถวายให้อย่างสมพระเกียรติ
ยกย่องขุนนางราชวงศ์หมิงที่สละชีพเพื่อปกป้องเยี่ยงวีรบุรุษ และเกลี้ยกล่อมขุนนางหมิงให้สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ชิงและดูแลเป็นพิเศษ
ยังคงใช้วิธีคัดเลือกข้าราชการโดยวิธีการสอบจอหงวนตามแบบของราชวงศ์หมิง
จักรพรรดิคังซี ทรงจัดทำ พจนานุกรมคังซี ซึ่งรวบรวมตัวอักษรจีนได้ครบถ้วนที่สุดสมัยนั้น และในสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง ได้มีการรวบรวมงานวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ทั่วประเทศจีนมาเป็น ประมวลสาส์นสี่ภาค (四庫全書 ซื่อคู่เฉวีนซู) มีการส่งเสริมบัณฑิตที่มีผลงานทางวิชาการให้ได้รับบำเหน็จ อย่างไรก็ตาม ในขณะรวบรวมผลงานทางวิชาการ หนังสือหลายเล่มถูกทำลายเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
ยกเลิกหรือลดอัตราภาษีที่ขูดรีดในท้องที่ต่างๆ และล้มแนวการปกครองที่โหดร้ายของราชวงศ์หมิง
นโยบายแข็งกร้าว[แก้]
ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ชิงก็ดำเนินนโยบายแข็งกร้าวเพื่อสยบชาวฮั่นที่คิดจะต่อต้านไว้ด้วย โดยนโยบายสำคัญมีดังนี้
สังหารประชาชนที่รวมตัวก่อจลาจลต่อต้านราชสำนักตามท้องที่ต่างๆ อย่างโหดเหี้ยม
ห้ามการรวมกลุ่มกันจัดตั้งสมาคมอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการรวมพลังมวลชน
บังคับให้ชายชาวฮั่นทั่วประเทศต้องไว้ผมแบบชาวแมนจู คือ ไว้หางเปียยาวด้านหลัง และโกนผมครึ่งศีรษะ อย่างที่ชาวไทยคุ้นเคยกันดีจากภาพยนตร์ ใครฝ่าฝืนจะต้องโทษประหารชีวิต
นำกฎหมายอาชญาทางภาษา (เหวินจื้ออวี้) มาใช้หลายครั้ง เพื่อควบคุมความคิดของชาวฮั่นให้อยู่ในกรอบ ในสมัยจักรพรรดิคังซี หย่งเจิ้ง และเฉียนหลง มีปรากฏว่ามีมากถึง 70-80 คดี แต่ละคดีจะมีผู้รับเคราะห์ 10 คน จนถึงหมื่นคนก็มี ตัวอย่างคดีที่สำคัญ เช่น คดีหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง (หมิงสื่อ) ในสมัยคังซี ที่จวนถิงหลง จัดพิมพ์ไปกล่าวกระทบประวัติศาสตร์แมนจู ราชวงศ์ชิงถึงกับขุดศพจวนถิงหลงมาแยกร่าง ผู้เขียน ตรวจอักษร ขายหนังสือ และแม้แต่ผู้มีหนังสือในครอบครองถูกประหาร 72 คน และถูกขับไล่ให้เป็นทหารแถบชายแดนอีกนับร้อยคน
พุทธศตวรรษที่ 23 ในต้นราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นยุคที่ทางราชวงศ์ต้องผจญกับขบวนการกู้หมิงต้านชิง ของชาวฮั่นทั้งหลายที่โกรธแค้นที่ชนต่างเชื้อสายมาเป็นใหญ่ประเทศจีน ดังนั้นในสมัยของ จักรพรรดิคังซี, จักรพรรดิหย่งเจิ้ง และจักรพรรดิเฉียนหลง จึงต้องใช้ทั้งนโยบายประนีประนอมเพื่อให้อยู่กับชาวฮั่นได้อย่างเป็นสุข และนโยบายแข็งกร้าวเพื่อควบคุมชาวฮั่นไว้ไม่ให้คิดต่อต้าน ซึ่งนโยบายเหล่านี้กลายเป็นแนวปฏิบัติของจักรพรรดิองค์ต่อๆ มา เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอำนาจรัฐ
ในประวัติศาสตร์จีนได้ปรากฏว่ามีชนกลุ่มน้อยขึ้นตั้งราชวงศ์ปกครองแผ่นดินจีน 2 ราชวงศ์ นั่นคือ ราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกล และราชวงศ์ชิงของเผ่าแมนจู ราชวงศ์หยวนถึงแม้จะเก่งกาจ มีกำลังทหารและอาวุธที่น่าเกรงขาม แต่ไม่มีความรู้ด้านการปกครอง จึงปกครองแผ่นดินจีนได้เพียงแค่ 90 ปีเศษก็ล่มสลายไป ส่วนราชวงศ์ชิงใช้นโยบายประนีประนอมและแข็งกร้าวได้อย่างแยบยล จึงประสบความสำเร็จทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม จนสามารถปกครองแผ่นดินจีนได้นานถึง 260 ปี
นโยบายประนีประนอม
นโยบายประนีประนอมถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผูกมิตรเอาอกเอาใจชาวฮั่นซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ชิงเข้าปกครองแผ่นดินจีนใหม่ๆ เพื่อสร้างบารมีให้กับราชวงศ์ชิง และขจัดความคิดต่อต้านแมนจู โดยนโยบายสำคัญๆ มีดังนี้
จัดพระราชพิธีปลงพระศพของพระเจ้าหมิงซือจง จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิงและพระมเหสี และสร้างสุสานถวายให้อย่างสมพระเกียรติ
ยกย่องขุนนางราชวงศ์หมิงที่สละชีพเพื่อปกป้องเยี่ยงวีรบุรุษ และเกลี้ยกล่อมขุนนางหมิงให้สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ชิงและดูแลเป็นพิเศษ
ยังคงใช้วิธีคัดเลือกข้าราชการโดยวิธีการสอบจอหงวนตามแบบของราชวงศ์หมิง
จักรพรรดิคังซี ทรงจัดทำ พจนานุกรมคังซี ซึ่งรวบรวมตัวอักษรจีนได้ครบถ้วนที่สุดสมัยนั้น และในสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง ได้มีการรวบรวมงานวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ทั่วประเทศจีนมาเป็น ประมวลสาส์นสี่ภาค (四庫全書 ซื่อคู่เฉวีนซู) มีการส่งเสริมบัณฑิตที่มีผลงานทางวิชาการให้ได้รับบำเหน็จ อย่างไรก็ตาม ในขณะรวบรวมผลงานทางวิชาการ หนังสือหลายเล่มถูกทำลายเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
ยกเลิกหรือลดอัตราภาษีที่ขูดรีดในท้องที่ต่างๆ และล้มแนวการปกครองที่โหดร้ายของราชวงศ์หมิง
นโยบายแข็งกร้าว[แก้]
ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ชิงก็ดำเนินนโยบายแข็งกร้าวเพื่อสยบชาวฮั่นที่คิดจะต่อต้านไว้ด้วย โดยนโยบายสำคัญมีดังนี้
สังหารประชาชนที่รวมตัวก่อจลาจลต่อต้านราชสำนักตามท้องที่ต่างๆ อย่างโหดเหี้ยม
ห้ามการรวมกลุ่มกันจัดตั้งสมาคมอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการรวมพลังมวลชน
บังคับให้ชายชาวฮั่นทั่วประเทศต้องไว้ผมแบบชาวแมนจู คือ ไว้หางเปียยาวด้านหลัง และโกนผมครึ่งศีรษะ อย่างที่ชาวไทยคุ้นเคยกันดีจากภาพยนตร์ ใครฝ่าฝืนจะต้องโทษประหารชีวิต
นำกฎหมายอาชญาทางภาษา (เหวินจื้ออวี้) มาใช้หลายครั้ง เพื่อควบคุมความคิดของชาวฮั่นให้อยู่ในกรอบ ในสมัยจักรพรรดิคังซี หย่งเจิ้ง และเฉียนหลง มีปรากฏว่ามีมากถึง 70-80 คดี แต่ละคดีจะมีผู้รับเคราะห์ 10 คน จนถึงหมื่นคนก็มี ตัวอย่างคดีที่สำคัญ เช่น คดีหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง (หมิงสื่อ) ในสมัยคังซี ที่จวนถิงหลง จัดพิมพ์ไปกล่าวกระทบประวัติศาสตร์แมนจู ราชวงศ์ชิงถึงกับขุดศพจวนถิงหลงมาแยกร่าง ผู้เขียน ตรวจอักษร ขายหนังสือ และแม้แต่ผู้มีหนังสือในครอบครองถูกประหาร 72 คน และถูกขับไล่ให้เป็นทหารแถบชายแดนอีกนับร้อยคน
การยึดครองประเทศจีน
การยึดครองประเทศจีน
ในสมัยพระเจ้าหมิงซือจง (明思宗) แห่งราชวงศ์หมิง เกิดเหตุการณ์สำคัญหลายครั้ง ได้แก่ การผนวกที่ดิน การเก็บภาษีเบ็ดเตล็ด ความไม่พอใจของทหาร และภัยแล้งครั้งใหญ่ ทั้งหมดทำให้ประชาชนและทหารไม่พอใจราชวงศ์หมิงอย่างมาก และรวมตัวเป็นกลุ่มย่อยก่อจลาจลในหลายพื้นที่ กินเวลาหลายปี ในที่สุดก็รวมตัวกันก่อจลาจลครั้งใหญ่ ซึ่งนำโดย หลี่จื้อเฉิง (李自成: Lǐ Zìchéng) เข้ายึดครองกรุงปักกิ่ง ราชธานีของราชวงศ์หมิง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2187 จนพระเจ้าหมิงซือจงต้องผูกพระศอปลงพระชนม์ตัวเองที่ต้นไม้บนเนินเขาที่มองเห็นพระราชวังต้องห้ามได้ชัด ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์หมิง
หลังจากที่ยึดครองกรุงปักกิ่งแล้ว หลี่จื้อเฉิงได้นำกำลังพล 60,000 นาย บุกเผชิญหน้ากับอู๋ซานกุ้ย (吳三桂: Wú Sānguì) นายพลหมิงที่คุมกองกำลังกว่า 100,000 นาย ที่ประจำอยู่ในป้อมซานไฮ่กวาน (山海关/山海關: Shānhǎi Guān) ป้อมซานไฮ่กวานเป็นประตูของกำแพงเมืองจีนผ่านไปสู่ตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง ป้อมซานไฮ่กวานถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่คอยกั้นพวกแมนจูอยู่ที่อ่าวไม่ให้เข้ามาสู่แผ่นดินจีนทางใต้ได้ นายพลอู๋จนมุมศัตรูทั้ง 2 ทาง ทั้งกลุ่มกบฏและกองทัพแมนจู จึงตัดสินใจที่จะสวามิภักดิ์ต่อองค์ชายทอร์กุน ผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิซุ่นจื่อ ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสของจักรพรรดิไท่จงที่สวรรคตไปหนึ่งปีก่อนหน้านั้น ในขณะนั้นจักรพรรดิซุ่นจื่อมีพระชนมายุเพียง 6 พรรษา
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2187 ทั้งกองทัพของนายพลอู๋และกองทัพแมนจูเข้าล้อมกลุ่มกบฏไว้ กลุ่มกบฏมีกำลังไม่เพียงพอจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงต้องตีฝ่าวงล้อมออกไปตั้งมั่นที่อื่น ฝ่ายกองทัพนายพลอู๋ก็ปล่อยให้กลุ่มกบฏตีฝ่าไปได้เพราะอ่อนแรงหลังจากต้องต่อสู้กับกองทัพแมนจูก่อนจะสวามิภักดิ์ กองทัพแมนจูได้เข้ายึดกรุงปักกิ่งได้ในวันที่ 6 มิถุนายน ในปีเดียวกัน อย่างไรก็ดี กองทัพแมนจูยังต้องใช้เวลาอีกกว่า 17 ปีเพื่อปรามปราบกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิง ผู้แสร้งทำภักดีต่อชิง และกลุ่มกบฏทั้งหลาย ผู้แสร้งภักดีต่อชิงคนสุดท้ายคือ องค์ชายกุย (桂王) ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์หมิง และหลบหนีอยู่ในพม่า นายพลอู๋ได้เดินทางไปนำตัวขึ้นมาและประหารชีวิตที่มณฑลยูนนานใน พ.ศ. 2205
สิ่งที่เราน่าจะรู้จักกันดีคือ ผมเปียของชาวแมนจู จักรพรรดิชิงทรงออกกฎบังคับให้ชาวฮั่นทุกคนต้องไว้ผมเปียและสวมเสื้อผ้าอย่างชาวแมนจู เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและภักดีต่อราชวงศ์ชิง ชายชาวฮั่นทุกคนต้องโกนผมครึ่งศีรษะและหนวดเครา และผูกผมด้านท้ายเป็นหางเปียยาว กฎนี้ขัดแย้งกับประเพณีปฏิบัติเดิมของชาวฮั่นที่ห้ามตัดผม ชาวจีนทั่วประเทศต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีทางเลือก มิฉะนั้นจะถูกตัดหัว กว่า 258 ปีที่ราชวงศ์ชิงครองประเทศ ชาวจีนได้ก่อกบฏขึ้นหลายครั้งเนื่องจากกฎดังกล่าวนี้
ในสมัยพระเจ้าหมิงซือจง (明思宗) แห่งราชวงศ์หมิง เกิดเหตุการณ์สำคัญหลายครั้ง ได้แก่ การผนวกที่ดิน การเก็บภาษีเบ็ดเตล็ด ความไม่พอใจของทหาร และภัยแล้งครั้งใหญ่ ทั้งหมดทำให้ประชาชนและทหารไม่พอใจราชวงศ์หมิงอย่างมาก และรวมตัวเป็นกลุ่มย่อยก่อจลาจลในหลายพื้นที่ กินเวลาหลายปี ในที่สุดก็รวมตัวกันก่อจลาจลครั้งใหญ่ ซึ่งนำโดย หลี่จื้อเฉิง (李自成: Lǐ Zìchéng) เข้ายึดครองกรุงปักกิ่ง ราชธานีของราชวงศ์หมิง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2187 จนพระเจ้าหมิงซือจงต้องผูกพระศอปลงพระชนม์ตัวเองที่ต้นไม้บนเนินเขาที่มองเห็นพระราชวังต้องห้ามได้ชัด ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์หมิง
หลังจากที่ยึดครองกรุงปักกิ่งแล้ว หลี่จื้อเฉิงได้นำกำลังพล 60,000 นาย บุกเผชิญหน้ากับอู๋ซานกุ้ย (吳三桂: Wú Sānguì) นายพลหมิงที่คุมกองกำลังกว่า 100,000 นาย ที่ประจำอยู่ในป้อมซานไฮ่กวาน (山海关/山海關: Shānhǎi Guān) ป้อมซานไฮ่กวานเป็นประตูของกำแพงเมืองจีนผ่านไปสู่ตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง ป้อมซานไฮ่กวานถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่คอยกั้นพวกแมนจูอยู่ที่อ่าวไม่ให้เข้ามาสู่แผ่นดินจีนทางใต้ได้ นายพลอู๋จนมุมศัตรูทั้ง 2 ทาง ทั้งกลุ่มกบฏและกองทัพแมนจู จึงตัดสินใจที่จะสวามิภักดิ์ต่อองค์ชายทอร์กุน ผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิซุ่นจื่อ ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสของจักรพรรดิไท่จงที่สวรรคตไปหนึ่งปีก่อนหน้านั้น ในขณะนั้นจักรพรรดิซุ่นจื่อมีพระชนมายุเพียง 6 พรรษา
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2187 ทั้งกองทัพของนายพลอู๋และกองทัพแมนจูเข้าล้อมกลุ่มกบฏไว้ กลุ่มกบฏมีกำลังไม่เพียงพอจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงต้องตีฝ่าวงล้อมออกไปตั้งมั่นที่อื่น ฝ่ายกองทัพนายพลอู๋ก็ปล่อยให้กลุ่มกบฏตีฝ่าไปได้เพราะอ่อนแรงหลังจากต้องต่อสู้กับกองทัพแมนจูก่อนจะสวามิภักดิ์ กองทัพแมนจูได้เข้ายึดกรุงปักกิ่งได้ในวันที่ 6 มิถุนายน ในปีเดียวกัน อย่างไรก็ดี กองทัพแมนจูยังต้องใช้เวลาอีกกว่า 17 ปีเพื่อปรามปราบกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิง ผู้แสร้งทำภักดีต่อชิง และกลุ่มกบฏทั้งหลาย ผู้แสร้งภักดีต่อชิงคนสุดท้ายคือ องค์ชายกุย (桂王) ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์หมิง และหลบหนีอยู่ในพม่า นายพลอู๋ได้เดินทางไปนำตัวขึ้นมาและประหารชีวิตที่มณฑลยูนนานใน พ.ศ. 2205
สิ่งที่เราน่าจะรู้จักกันดีคือ ผมเปียของชาวแมนจู จักรพรรดิชิงทรงออกกฎบังคับให้ชาวฮั่นทุกคนต้องไว้ผมเปียและสวมเสื้อผ้าอย่างชาวแมนจู เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและภักดีต่อราชวงศ์ชิง ชายชาวฮั่นทุกคนต้องโกนผมครึ่งศีรษะและหนวดเครา และผูกผมด้านท้ายเป็นหางเปียยาว กฎนี้ขัดแย้งกับประเพณีปฏิบัติเดิมของชาวฮั่นที่ห้ามตัดผม ชาวจีนทั่วประเทศต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีทางเลือก มิฉะนั้นจะถูกตัดหัว กว่า 258 ปีที่ราชวงศ์ชิงครองประเทศ ชาวจีนได้ก่อกบฏขึ้นหลายครั้งเนื่องจากกฎดังกล่าวนี้
ก่อตั้งรัฐแมนจู
ก่อตั้งรัฐแมนจู
รัฐแมนจูสถาปนาโดย นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ในต้นพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเริ่มแรก นู่เอ๋อร์ฮาชื่อเป็นขุนนางของราชวงศ์หมิง ครองที่ดินทางตะวันออกเฉียงเหนือ หรือมณฑลแมนจูเรียในปัจจุบัน นู่เอ๋อร์ฮาชื่อตั้งตนเป็น จักรพรรดิไท่จู่ และตั้งรัฐแมนจูขึ้นใน พ.ศ. 2152 พระองค์เร่งสร้างเศรษฐกิจ แรงงาน และเทคโนโลยีของรัฐ โดยการจับชาวจีนที่อาศัยในแมนจูเรียมาเป็นทาส พ.ศ. 2168 จักรพรรดิไท่จู่ สถาปนาเมืองเสิ่นหยาง (沈阳/瀋陽 Shěnyáng) แต่ในปีต่อมา พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บจากการรบกับแม่ทัพหมิง และสวรรคตในปีเดียวกัน ความสำเร็จที่สำคัญสิ่งหนึ่งของพระองค์คือการตั้งระบบกองธง ซึ่งเป็นระบบในการแบ่งสายการปกครองออกเป็นส่วนๆ มีประโยชน์ทั้งทางด้านการปกครองและการทหาร โดยแรกเริ่มนั้นมี 8 กองธง
ผู้สืบบัลลังก์จากจักรพรรดิไท่จู่ คือ หวงไท่จี๋ หรือจักรพรรดิไท่จง พระองค์ได้ทรงตั้งกองธงแรกที่เป็นชาวฮั่นขึ้น และได้มีการนำระบบธรรมเนียมการปกครองแบบราชวงศ์หมิงมาปรับใช้บางส่วน แต่ก็ยังให้สิทธิพิเศษกับหน่วยปกครองของแมนจูเองโดยระบบโควตา เมื่อลิงตันข่าน มหาข่านองค์สุดท้ายของมองโกลสิ้นพระชนม์ลงระหว่างเดินทางไปทิเบตในพ.ศ. 2177 บุตรของเขานาม เอเจยข่าน ได้สวามิภักดิ์ต่อกองทัพแมนจูและมอบตราประจำพระองค์ของอดีตจักรพรรดิหยวนให้จักรพรรดิไท่จง ใน พ.ศ. 2179 จักรพรรดิไท่จงเปลี่ยนชื่อรัฐแมนจูเป็น อาณาจักรต้าชิง (แปลว่า บริสุทธิ์) โดยหมายที่จะขยายอาณาเขตไปนอกแมนจูเรีย พระองค์ทรงชนะมองโกเลียใน เกาหลี และครอบครองพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอาร์มู หรือมณฑลเฮหลงเจียงในปัจจุบัน
รัฐแมนจูสถาปนาโดย นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ในต้นพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเริ่มแรก นู่เอ๋อร์ฮาชื่อเป็นขุนนางของราชวงศ์หมิง ครองที่ดินทางตะวันออกเฉียงเหนือ หรือมณฑลแมนจูเรียในปัจจุบัน นู่เอ๋อร์ฮาชื่อตั้งตนเป็น จักรพรรดิไท่จู่ และตั้งรัฐแมนจูขึ้นใน พ.ศ. 2152 พระองค์เร่งสร้างเศรษฐกิจ แรงงาน และเทคโนโลยีของรัฐ โดยการจับชาวจีนที่อาศัยในแมนจูเรียมาเป็นทาส พ.ศ. 2168 จักรพรรดิไท่จู่ สถาปนาเมืองเสิ่นหยาง (沈阳/瀋陽 Shěnyáng) แต่ในปีต่อมา พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บจากการรบกับแม่ทัพหมิง และสวรรคตในปีเดียวกัน ความสำเร็จที่สำคัญสิ่งหนึ่งของพระองค์คือการตั้งระบบกองธง ซึ่งเป็นระบบในการแบ่งสายการปกครองออกเป็นส่วนๆ มีประโยชน์ทั้งทางด้านการปกครองและการทหาร โดยแรกเริ่มนั้นมี 8 กองธง
ผู้สืบบัลลังก์จากจักรพรรดิไท่จู่ คือ หวงไท่จี๋ หรือจักรพรรดิไท่จง พระองค์ได้ทรงตั้งกองธงแรกที่เป็นชาวฮั่นขึ้น และได้มีการนำระบบธรรมเนียมการปกครองแบบราชวงศ์หมิงมาปรับใช้บางส่วน แต่ก็ยังให้สิทธิพิเศษกับหน่วยปกครองของแมนจูเองโดยระบบโควตา เมื่อลิงตันข่าน มหาข่านองค์สุดท้ายของมองโกลสิ้นพระชนม์ลงระหว่างเดินทางไปทิเบตในพ.ศ. 2177 บุตรของเขานาม เอเจยข่าน ได้สวามิภักดิ์ต่อกองทัพแมนจูและมอบตราประจำพระองค์ของอดีตจักรพรรดิหยวนให้จักรพรรดิไท่จง ใน พ.ศ. 2179 จักรพรรดิไท่จงเปลี่ยนชื่อรัฐแมนจูเป็น อาณาจักรต้าชิง (แปลว่า บริสุทธิ์) โดยหมายที่จะขยายอาณาเขตไปนอกแมนจูเรีย พระองค์ทรงชนะมองโกเลียใน เกาหลี และครอบครองพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอาร์มู หรือมณฑลเฮหลงเจียงในปัจจุบัน
ราชวงศ์ชิง
ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: daicing gurun; ภาษาจีน:清朝 ; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา ; ) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน
ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเพียงเป็นกลุ่มชนเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงเกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ ชาวแมนจูถือโอกาสรวบรวมกำลังพล โดยผู้นำตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว และเข้าบุกยึดกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นราชธานีของราชวงศ์หมิง ได้ใน พ.ศ. 2187 และสถาปนาอาณาจักรต้าชิง (ภาษาจีน: 大清帝國, พินอิน: dàqīngdìguó) ราชวงศ์ชิงครองแผ่นดินจีนจนถึงปี พ.ศ. 2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดยซุน ยัตเซ็น ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนั้น และใน พ.ศ. 2455 ผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีน
ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเพียงเป็นกลุ่มชนเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงเกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ ชาวแมนจูถือโอกาสรวบรวมกำลังพล โดยผู้นำตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว และเข้าบุกยึดกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นราชธานีของราชวงศ์หมิง ได้ใน พ.ศ. 2187 และสถาปนาอาณาจักรต้าชิง (ภาษาจีน: 大清帝國, พินอิน: dàqīngdìguó) ราชวงศ์ชิงครองแผ่นดินจีนจนถึงปี พ.ศ. 2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดยซุน ยัตเซ็น ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนั้น และใน พ.ศ. 2455 ผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีน
จีนยุคใหม่
จีนยุคใหม่
ยุคสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912-1949)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี พ.ศ. 2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดย ดร. ซุนยัดเซ็นราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนั้น และใน พ.ศ. 2455 ผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีน ดร. ซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณยาสิทธิราชย์ซึ่งปกครองด้วยสิทธิขาดของจักรพรรดิ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีจักรพรรดิเป็นประมุขตามอารยะนิยม
หลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง ช่วงแรกเจียงไคเช็คเป็นฝ่ายชนะและทำการปฏิวัติได้สำเร็จ สุดท้ายกลุ่มผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งรวมตัวกันขับไล่ เจียงไคเช็คหนีไปยังเกาะไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทน
ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949-ปัจจุบัน)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมืองจีน เหมา เจ๋อตุง ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) ที่กรุงปักกิ่งบน จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อปกครองจีนแผ่นดินใหญ่
ยุคสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912-1949)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี พ.ศ. 2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดย ดร. ซุนยัดเซ็นราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนั้น และใน พ.ศ. 2455 ผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีน ดร. ซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณยาสิทธิราชย์ซึ่งปกครองด้วยสิทธิขาดของจักรพรรดิ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีจักรพรรดิเป็นประมุขตามอารยะนิยม
หลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง ช่วงแรกเจียงไคเช็คเป็นฝ่ายชนะและทำการปฏิวัติได้สำเร็จ สุดท้ายกลุ่มผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งรวมตัวกันขับไล่ เจียงไคเช็คหนีไปยังเกาะไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทน
ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949-ปัจจุบัน)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมืองจีน เหมา เจ๋อตุง ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) ที่กรุงปักกิ่งบน จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อปกครองจีนแผ่นดินใหญ่
ราชวงศ์ชิง
ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ชิง
ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912 หรือ พ.ศ. 2187-2454) บุกเบิกและสร้างราชวงศ์ชิงตั้งแต่ ค.ศ. 1582-ค.ศ. 1912 โดย เผ่านูรฮาชี (แมนจูเลีย) สมยานามกษัตริย์ ชิงไทจงฮ่องเต้ จักรพรรดิ์บนหลังม้า ปฐมกษัตริย์ชื่อ จักรพรรดิ์หวงไท่จี๋ ,ซุนจื่อ และคังซี และจักรพรรดิบัลลังก์เลือด หย่งเจิ้น (องค์ชายสี่),จักรพรรดิ์เจ้าสำราญ เฉียนหลง (หลานหงษ์ลิ) ศึกล่าบัลลังก์ทอง เจี่ยชิ่ง และเต้ากวง
มีจักรพรรดิ์รวมทั้งสิ้นในราชวงศ์ 13พระองค์ ซึ่ง จักรพรรดิ์ ปูยี เป็นจักรพรรดิ์องค์สุดท้าย และเป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของ เผ่าแมนจูเลีย (ชนเผ่ามองโกลเลีย มีชนเผ่าถึง 2,000-3,000เผ่า) เป็นชนต่างชาติทางเหนือที่เข้ามาปกครองประเทศจีน ต่อจากราชวงศ์หมิง ซึ่งภายหลังเกิด "ศึกกบฎราชวงศ์หมิง" ภายในประเทศจีน โดยกบฎเปิดประตูเมืองให้แมนจูเลียเข้ายึดครอง ทำให้ได้รับสมยานามกษัตริย์ ชิงไทจงฮ่องเต้ เพราะเข้ายึดเมืองได้โดยไม่ต้องลงจากหลังม้า เป็นราชสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง,การตรวจตราข้อบังคับของสังคม,ศาสนา และ การค้าทางเรือที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งก็ว่าได้ คือ การให้ชายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจูเลีย คือ ปิดแขนเสื้อและขา เลียนแบบสมัยราชวงศ์ถังเก่า พร้อมประคำ 500เม็ด และต้องนับถือพุทธจีน ที่แตกต่างไปจากเดิมคือมีประคำ 500เม็ด และเริ่มนับถือศาสนาพุทธจีนที่เจริญรุ่งเรืองมากยุคหนึ่ง
เพื่อบ่งบอกถึงอารยธรรมชนเผ่าของตนว่ามีศาสนาและอารยธรรมยาวนาน (ตั้งแต่สมัย เจง กิสข่าน เรืองอำนาจบุกยึดไปถึงแดนตะวันตกในระหว่างเดินทางพบ ขงจื้อ) ในราชสำนักยังคงมีขุนนางตำแหน่งที่สำคัญๆถือกำเนิดขึ้นด้วย คือ "ขันที" และ เสนาบดีฝ่ายซ้าย "ตงชิงอ๋อง" และ เสนาบดีฝ่ายฝ่ายขวา "กังชิงอ๋อง" อีกทั้งยังมีระบบศาลที่คานดุลอำนาจกัน และ ระบบการว่าราชการที่เจริญที่สุดถอดแบบจากราชสมัย "ราชวงศ์ซ่ง" คล้ายระบอบการปกครองของประเทศไทยในรัชสมัยรัชกาลที่5 คือ ระบบเวียน ระบบวัง ระบบคลัง และระบบนา และ ยังมีการแบ่งลักษณะการปกครองออกเป็นหัวเมืองๆทั้งหมด 18มณฑลในประเทศจีน โดยทั้งหมดขึ้นตรงต่อ "จักรพรรดิ์ราชวงศ์ชิง".
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ชิง
ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912 หรือ พ.ศ. 2187-2454) บุกเบิกและสร้างราชวงศ์ชิงตั้งแต่ ค.ศ. 1582-ค.ศ. 1912 โดย เผ่านูรฮาชี (แมนจูเลีย) สมยานามกษัตริย์ ชิงไทจงฮ่องเต้ จักรพรรดิ์บนหลังม้า ปฐมกษัตริย์ชื่อ จักรพรรดิ์หวงไท่จี๋ ,ซุนจื่อ และคังซี และจักรพรรดิบัลลังก์เลือด หย่งเจิ้น (องค์ชายสี่),จักรพรรดิ์เจ้าสำราญ เฉียนหลง (หลานหงษ์ลิ) ศึกล่าบัลลังก์ทอง เจี่ยชิ่ง และเต้ากวง
มีจักรพรรดิ์รวมทั้งสิ้นในราชวงศ์ 13พระองค์ ซึ่ง จักรพรรดิ์ ปูยี เป็นจักรพรรดิ์องค์สุดท้าย และเป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของ เผ่าแมนจูเลีย (ชนเผ่ามองโกลเลีย มีชนเผ่าถึง 2,000-3,000เผ่า) เป็นชนต่างชาติทางเหนือที่เข้ามาปกครองประเทศจีน ต่อจากราชวงศ์หมิง ซึ่งภายหลังเกิด "ศึกกบฎราชวงศ์หมิง" ภายในประเทศจีน โดยกบฎเปิดประตูเมืองให้แมนจูเลียเข้ายึดครอง ทำให้ได้รับสมยานามกษัตริย์ ชิงไทจงฮ่องเต้ เพราะเข้ายึดเมืองได้โดยไม่ต้องลงจากหลังม้า เป็นราชสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง,การตรวจตราข้อบังคับของสังคม,ศาสนา และ การค้าทางเรือที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งก็ว่าได้ คือ การให้ชายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจูเลีย คือ ปิดแขนเสื้อและขา เลียนแบบสมัยราชวงศ์ถังเก่า พร้อมประคำ 500เม็ด และต้องนับถือพุทธจีน ที่แตกต่างไปจากเดิมคือมีประคำ 500เม็ด และเริ่มนับถือศาสนาพุทธจีนที่เจริญรุ่งเรืองมากยุคหนึ่ง
เพื่อบ่งบอกถึงอารยธรรมชนเผ่าของตนว่ามีศาสนาและอารยธรรมยาวนาน (ตั้งแต่สมัย เจง กิสข่าน เรืองอำนาจบุกยึดไปถึงแดนตะวันตกในระหว่างเดินทางพบ ขงจื้อ) ในราชสำนักยังคงมีขุนนางตำแหน่งที่สำคัญๆถือกำเนิดขึ้นด้วย คือ "ขันที" และ เสนาบดีฝ่ายซ้าย "ตงชิงอ๋อง" และ เสนาบดีฝ่ายฝ่ายขวา "กังชิงอ๋อง" อีกทั้งยังมีระบบศาลที่คานดุลอำนาจกัน และ ระบบการว่าราชการที่เจริญที่สุดถอดแบบจากราชสมัย "ราชวงศ์ซ่ง" คล้ายระบอบการปกครองของประเทศไทยในรัชสมัยรัชกาลที่5 คือ ระบบเวียน ระบบวัง ระบบคลัง และระบบนา และ ยังมีการแบ่งลักษณะการปกครองออกเป็นหัวเมืองๆทั้งหมด 18มณฑลในประเทศจีน โดยทั้งหมดขึ้นตรงต่อ "จักรพรรดิ์ราชวงศ์ชิง".
ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจาง (จักรพรรดิหงหวู่) เมื่อปีค.ศ. 1368 (พ.ศ. 1911) จู หยวนจาง หรือจักรพรรดิหมิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์องค์ของราชวงศ์ครองราชย์ที่[เมืองนานกิง] และได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น 31ปีแห่งการครองอำนาจ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้เสริมสร้างระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐเผด็จการแบบศักดินาให้เข้มแข็งขึ้นอย่างสุดความสามารถ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ประหารขุนนางผู้มีคุณูปการ ฆ่าผู้คนที่มีความเห็นที่ไม่เหมือนพระองค์ เพิ่มอำนาจของจักรพรรดิให้มากขึ้น ปราบปรามอิทธิพลที่ต่อต้านพระองค์ หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว จักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์หนึ่งได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาไม่นาน จูตี้ ผู้เป็นปิตุลาของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นได้ลุกขึ้นต่อสู้และโค่นอำนาจรัฐของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินลง จูตี้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหมิง เฉิงจู่หรือจักรพรรดิหยุงเล่อ ในปีค.ศ. 1421 (พ.ศ. 1964) จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหนานจิงไปยังกรุงปักกิ่ง
แม้รัฐบาลของราชวงศ์หมิงจะเสริมระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐให้มากขึ้นก็ตาม แต่มีจักรพรรดิหลายองค์ไม่ทรงพระปรีชาหรือไม่ก็ทรงพระเยาว์เกินไป ไม่สนพระทัยการบริหารประเทศ อำนาจจึงตกอยู่ในมือของเสนาบดีและขันที พวกเขาทุจริตคดโกงและขู่เข็ญรีดเอาเงิน ทำร้ายขุนนางที่ซื่อสัตย์ กิจการบริหารบ้านเมืองเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ความขัดแย้งในสังคมรุนแรง ช่วงกลางสมัยราชวงศ์หมิงจึงเกิดการลุกขึ้นต่อสู้ของชาวนาหลายครั้งหลายหนแต่ถูกปราบปรามลงได้
ในสมัยราชวงศ์หมิง เคยมีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชื่อจางจวีเจิ้ง สามารถคลี่คลายความขัดแย้งกันทางสังคมและกอบกู้การปกครองของราชวงศ์หมิงด้วยวิธีดำเนินการปฏิรูป เขาปรับปรุงระบบขุนนาง พัฒนาการเกษตร ซ่อมแซมแม่น้ำและคูคลอง และได้รวมภาษีอากรและการกะเกณฑ์บังคับต่างๆให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ช่วยลดภาระของประชาชนลงไปได้บ้างระดับหนึ่ง
ในสมัยราชวงศ์หมิง การเกษตรพัฒนามากขึ้นกว่ายุคก่อน การทอผ้าไหมและการผลิตเครื่องเคลือบดินเผามีความก้าวหน้ารุ่งเรือง การทำเหมืองเหล็ก การหล่อเครื่องทองเหลือง การผลิตกระดาษ การต่อเรือเป็นต้นก็มีการพัฒนาอย่างมาก การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศมีบ่อยครั้ง เจิ้งเหอซึ่งชาวไทยเรียกกันว่าซำเปากงได้นำกองเรือจีนไปเยือนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาทั้งหมดกว่า30ประเทศถึง7ครั้งตามลำดับ แต่หลังช่วงกลางราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา จีนถูกการรุกรานจากหลายประเทศรวมทั้งญี่ปุ่น สเปน โปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์เป็นต้น
ในสมัยราชวงศ์หมิง เศรษฐกิจการค้าก็ได้พัฒนาเริ่มปรากฏเป็นเค้าโครงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในช่วงต้นราชวงศ์หมิง จีนมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่มีเจ้าของจำนวนมากมาย จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้รวบรวมคนพเนจร ลดและงดภาษีอากรให้พวกเขา ทำให้จำนวนชาวนามีที่นาทำเองเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆทางเกษตรเช่นใบยาสูบ มันเทศ ข้าวโพดและถั่วลิสงเป็นต้นก็ได้มีการนำเข้ามาในจีน ในสมัยราชวงศ์หมิงงานหัตถกรรมประเภทต่างๆเช่น เครื่องเคลือบดินเผาและสิ่งทอเป็นต้นได้พัฒนาถึงระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกิจการทอผ้าไหม มีเจ้าของโรงงานผลิตสิ่งทอที่มีเครื่องปั่นด้ายจำนวนหลายสิบเครื่อง และ”ช่างปั่นทอ”มีฝีมือที่รับจัดตามสั่งโดยเฉพาะขึ้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเริ่มต้นขึ้นแล้ว ในสมัยราชวงศ์หมิงมีสินค้าหลากหลายชนิด การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าเป็นไปอย่างคึกคัก ในสถานที่ที่มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์และการคมนาคมสะดวกได้ก่อรูปขึ้นเป็นศูนย์การค้าทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เกิดเมืองใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นปักกิ่ง นานกิง ซูโจว หังโจว กว่างโจว เป็นต้น
ในสมัยราชวงศ์หมิง ระบอบสอบจอหงวนนิยมสอบการเขียนบทความแบบแปดตอน วรรณกรรมเรื่องยาวในสมัยราชวงศ์หมิงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น ”ซ้องกั๋ง” “สามก๊ก” “ไซอิ๊ว” “จินผิงเหมย” หรือ เรื่อง”บุปผาในกุณฑีทอง”เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อเขียนและบทประพันธ์ที่มีลักษณะคลาสสิกต่างๆเช่นสารคดี”บันทึกการท่องเที่ยวของสวี เสียเค่อ”ในด้านภูมิศาสตร์ “ตำราสมุนไพร”ของหลี่ สือเจินในด้านแพทยศาสตร์ “ชมรมหนังสือวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตร”ของสวี กวางฉี นักเกษตรศาสตร์ “ “เทียนกุงไคอู้”หรือ”สารานุกรมเทคโนโลยีด้านการเกษตรและหัตถกรรม”ของนายซ่งอิ้งซิง นักวิชาการด้านหัตถกรรม “สารานุกรมหย่งเล่อ”ซึ่งเป็นชุมนุมรวมเอกสารและวิทยานิพนธ์เป็นต้นก็ล้วนประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิงทั้งสิ้น
ช่วงปลายราชวงศ์หมิง สภาพการผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก พระราชวงศ์และบรรดาเจ้านายที่ได้รับการแต่งตั้งมีที่ดินกระจายอยู่ทั่วประเทศ ภาษีอากรของรัฐบาลก็นับวันมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆของสังคมก็นับวันรุนแรงขึ้น มีเสนาบดีและขุนนางบางคนพยายามจะคลี่คลายความขัดแย้งในสังคมให้เบาบางลง และเรียกร้องให้ยับยั้งสิทธิ พิเศษของเสนาบดีขันทีและเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย เสนาบดีเหล่านี้เทียวบรรยายวิชาการและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองจึงถูกเรียกกันว่าเป็น”พรรคตงหลินตั่ง” แต่แล้วพวกเขาก็ต้องถูกเสนาบดีขันทีและขุนนางที่มีอำนาจโจมตีและทำร้าย ซึ่งยิ่งทำให้สังคมวุ่นวายมากยิ่งขึ้น
การต่อสู้ในชนบทก็ทวีความรุนแรงขึ้น ในปีค.ศ. 1627 (พ.ศ. 2170) มณฑลส่านซีเกิดทุพภิกขภัย แต่ข้าราชการยังคงบีบบังคับให้ประชาชนจ่ายภาษี จนทำให้เกิดการลุกขึ้นต่อสู้ ประชาชนที่ประสบภัยเป็นพันเป็นหมื่นรวมตัวขึ้นเป็นกองทหารชาวนาหลายกลุ่มหลายสาย จนปีค.ศ. 1644 (พ.ศ. 2187) กองทหารชาวนาบุกเข้าไปถึงกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิฉงเจินซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงต้องผูกพระศอสิ้นพระชนม์
ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงมีการส่งกองเรือออกเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปจนถึงแอฟริกา โดยท่านเจิ้งเหอและบันทึกที่ชาวอังกฤษเชื้อสายจีนเขียนไว้บางฉบับ บอกไว้ว่ามีหลักฐานแสดงว่าจีนเดินทางไปอเมริกาก่อนโคลัมบัส
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจาง (จักรพรรดิหงหวู่) เมื่อปีค.ศ. 1368 (พ.ศ. 1911) จู หยวนจาง หรือจักรพรรดิหมิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์องค์ของราชวงศ์ครองราชย์ที่[เมืองนานกิง] และได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น 31ปีแห่งการครองอำนาจ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้เสริมสร้างระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐเผด็จการแบบศักดินาให้เข้มแข็งขึ้นอย่างสุดความสามารถ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ประหารขุนนางผู้มีคุณูปการ ฆ่าผู้คนที่มีความเห็นที่ไม่เหมือนพระองค์ เพิ่มอำนาจของจักรพรรดิให้มากขึ้น ปราบปรามอิทธิพลที่ต่อต้านพระองค์ หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว จักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์หนึ่งได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาไม่นาน จูตี้ ผู้เป็นปิตุลาของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นได้ลุกขึ้นต่อสู้และโค่นอำนาจรัฐของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินลง จูตี้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหมิง เฉิงจู่หรือจักรพรรดิหยุงเล่อ ในปีค.ศ. 1421 (พ.ศ. 1964) จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหนานจิงไปยังกรุงปักกิ่ง
แม้รัฐบาลของราชวงศ์หมิงจะเสริมระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐให้มากขึ้นก็ตาม แต่มีจักรพรรดิหลายองค์ไม่ทรงพระปรีชาหรือไม่ก็ทรงพระเยาว์เกินไป ไม่สนพระทัยการบริหารประเทศ อำนาจจึงตกอยู่ในมือของเสนาบดีและขันที พวกเขาทุจริตคดโกงและขู่เข็ญรีดเอาเงิน ทำร้ายขุนนางที่ซื่อสัตย์ กิจการบริหารบ้านเมืองเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ความขัดแย้งในสังคมรุนแรง ช่วงกลางสมัยราชวงศ์หมิงจึงเกิดการลุกขึ้นต่อสู้ของชาวนาหลายครั้งหลายหนแต่ถูกปราบปรามลงได้
ในสมัยราชวงศ์หมิง เคยมีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชื่อจางจวีเจิ้ง สามารถคลี่คลายความขัดแย้งกันทางสังคมและกอบกู้การปกครองของราชวงศ์หมิงด้วยวิธีดำเนินการปฏิรูป เขาปรับปรุงระบบขุนนาง พัฒนาการเกษตร ซ่อมแซมแม่น้ำและคูคลอง และได้รวมภาษีอากรและการกะเกณฑ์บังคับต่างๆให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ช่วยลดภาระของประชาชนลงไปได้บ้างระดับหนึ่ง
ในสมัยราชวงศ์หมิง การเกษตรพัฒนามากขึ้นกว่ายุคก่อน การทอผ้าไหมและการผลิตเครื่องเคลือบดินเผามีความก้าวหน้ารุ่งเรือง การทำเหมืองเหล็ก การหล่อเครื่องทองเหลือง การผลิตกระดาษ การต่อเรือเป็นต้นก็มีการพัฒนาอย่างมาก การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศมีบ่อยครั้ง เจิ้งเหอซึ่งชาวไทยเรียกกันว่าซำเปากงได้นำกองเรือจีนไปเยือนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาทั้งหมดกว่า30ประเทศถึง7ครั้งตามลำดับ แต่หลังช่วงกลางราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา จีนถูกการรุกรานจากหลายประเทศรวมทั้งญี่ปุ่น สเปน โปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์เป็นต้น
ในสมัยราชวงศ์หมิง เศรษฐกิจการค้าก็ได้พัฒนาเริ่มปรากฏเป็นเค้าโครงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในช่วงต้นราชวงศ์หมิง จีนมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่มีเจ้าของจำนวนมากมาย จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้รวบรวมคนพเนจร ลดและงดภาษีอากรให้พวกเขา ทำให้จำนวนชาวนามีที่นาทำเองเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆทางเกษตรเช่นใบยาสูบ มันเทศ ข้าวโพดและถั่วลิสงเป็นต้นก็ได้มีการนำเข้ามาในจีน ในสมัยราชวงศ์หมิงงานหัตถกรรมประเภทต่างๆเช่น เครื่องเคลือบดินเผาและสิ่งทอเป็นต้นได้พัฒนาถึงระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกิจการทอผ้าไหม มีเจ้าของโรงงานผลิตสิ่งทอที่มีเครื่องปั่นด้ายจำนวนหลายสิบเครื่อง และ”ช่างปั่นทอ”มีฝีมือที่รับจัดตามสั่งโดยเฉพาะขึ้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเริ่มต้นขึ้นแล้ว ในสมัยราชวงศ์หมิงมีสินค้าหลากหลายชนิด การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าเป็นไปอย่างคึกคัก ในสถานที่ที่มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์และการคมนาคมสะดวกได้ก่อรูปขึ้นเป็นศูนย์การค้าทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เกิดเมืองใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นปักกิ่ง นานกิง ซูโจว หังโจว กว่างโจว เป็นต้น
ในสมัยราชวงศ์หมิง ระบอบสอบจอหงวนนิยมสอบการเขียนบทความแบบแปดตอน วรรณกรรมเรื่องยาวในสมัยราชวงศ์หมิงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น ”ซ้องกั๋ง” “สามก๊ก” “ไซอิ๊ว” “จินผิงเหมย” หรือ เรื่อง”บุปผาในกุณฑีทอง”เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อเขียนและบทประพันธ์ที่มีลักษณะคลาสสิกต่างๆเช่นสารคดี”บันทึกการท่องเที่ยวของสวี เสียเค่อ”ในด้านภูมิศาสตร์ “ตำราสมุนไพร”ของหลี่ สือเจินในด้านแพทยศาสตร์ “ชมรมหนังสือวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตร”ของสวี กวางฉี นักเกษตรศาสตร์ “ “เทียนกุงไคอู้”หรือ”สารานุกรมเทคโนโลยีด้านการเกษตรและหัตถกรรม”ของนายซ่งอิ้งซิง นักวิชาการด้านหัตถกรรม “สารานุกรมหย่งเล่อ”ซึ่งเป็นชุมนุมรวมเอกสารและวิทยานิพนธ์เป็นต้นก็ล้วนประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิงทั้งสิ้น
ช่วงปลายราชวงศ์หมิง สภาพการผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก พระราชวงศ์และบรรดาเจ้านายที่ได้รับการแต่งตั้งมีที่ดินกระจายอยู่ทั่วประเทศ ภาษีอากรของรัฐบาลก็นับวันมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆของสังคมก็นับวันรุนแรงขึ้น มีเสนาบดีและขุนนางบางคนพยายามจะคลี่คลายความขัดแย้งในสังคมให้เบาบางลง และเรียกร้องให้ยับยั้งสิทธิ พิเศษของเสนาบดีขันทีและเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย เสนาบดีเหล่านี้เทียวบรรยายวิชาการและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองจึงถูกเรียกกันว่าเป็น”พรรคตงหลินตั่ง” แต่แล้วพวกเขาก็ต้องถูกเสนาบดีขันทีและขุนนางที่มีอำนาจโจมตีและทำร้าย ซึ่งยิ่งทำให้สังคมวุ่นวายมากยิ่งขึ้น
การต่อสู้ในชนบทก็ทวีความรุนแรงขึ้น ในปีค.ศ. 1627 (พ.ศ. 2170) มณฑลส่านซีเกิดทุพภิกขภัย แต่ข้าราชการยังคงบีบบังคับให้ประชาชนจ่ายภาษี จนทำให้เกิดการลุกขึ้นต่อสู้ ประชาชนที่ประสบภัยเป็นพันเป็นหมื่นรวมตัวขึ้นเป็นกองทหารชาวนาหลายกลุ่มหลายสาย จนปีค.ศ. 1644 (พ.ศ. 2187) กองทหารชาวนาบุกเข้าไปถึงกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิฉงเจินซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงต้องผูกพระศอสิ้นพระชนม์
ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงมีการส่งกองเรือออกเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปจนถึงแอฟริกา โดยท่านเจิ้งเหอและบันทึกที่ชาวอังกฤษเชื้อสายจีนเขียนไว้บางฉบับ บอกไว้ว่ามีหลักฐานแสดงว่าจีนเดินทางไปอเมริกาก่อนโคลัมบัส
ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร
ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร ค.ศ. 907-960
ดูบทความหลักที่: ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร
ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฏประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 20 ปี
ดูบทความหลักที่: ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร
ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฏประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 20 ปี
ราชวงศ์ถัง
ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ถัง
ภาพเขตแดนราชวงศ์ถัง
หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงแล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องและเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานแม่ทัพชายแดนจึงก่อการปฏิวัติและยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งแต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. 1161-1450 (ค.ศ. 618-907)
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ถัง
ภาพเขตแดนราชวงศ์ถัง
หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงแล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องและเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานแม่ทัพชายแดนจึงก่อการปฏิวัติและยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งแต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. 1161-1450 (ค.ศ. 618-907)
ราชวงศ์เหนือใต้
ราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 420-581)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์เหนือใต้
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265 – 316 หรือ พ.ศ. 808-860) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจน ค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย (北魏)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439 (พ.ศ. 982)
เมื่อถึงปีค.ศ. 581 (พ.ศ. 1124) หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(周静帝)จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย (隋)จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ
เพิ่มเติม ทางฝ่ายเหนือก่อนที่ราชวงศ์จิ้นจะพบจุดจบ ทางเผ่าอนารยชน เผ่าเชียง เผ่าซวงหนู เผ่าตี เผ่าเซียนเป่ย (ที่แบ่งออกเป็น ตระกูลมู่หยงและตระกูลทัวปา) หลังจากฝูเจียนอ๋องแห่งแคว้นเฉียนฉินพ่ายแพ้ที่แม่น้ำเฝ่ยสุ่ย ก็เริ่มอ่อนแอลง โดยได้มีการกล้าแข็งขึ้นของกลุ่มที่เหลือ และฝูเจียนได้ตายโดยน้ำมือของเหยาฉัง และทางแดนเหนือ (ที่ว่านี้เป็นแดนที่อยู่เหนือ แม่น้ำแยงซีเกียง) ก็เป็นการช่วงชิงกันระหว่ง มู่หยงย่ง เหยาฉัง มูหยงฉุย (ตระกูลทัวปาเริ่มก้าวขึ้นมาอย่างเงี้ยบๆ) โดยมูหยงฉุยกวาดล้าง มู่หยงหย่งก่อน แล้ว โดนทัวปากุยทำให้พ่ายแพ้ โดยตามประวัติศาสตร์แล้ว ทัวปากุยเป็นโจรปล้นชิงม้ามาก่อนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแดนเหนือ
อีกฝ่ายทางใต้นอกจากทัวปากุยทางแดนใต้ ต้องเริ่มจากการชนะศึกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยของทัพจิ้น และผู้ปรีชาของจิ้นอันได้แก่ เซี่ยอานมหาเสนาบดี และจอมทัพเซี่ยเสียน ล้มตายลง ทางทัพของซุนเอินได้ก่อหวอด บวกกับทัพแดนจิงโจวของหวนเศียน ได้ทำการก่อกบฏ โดยมีวีรบุรุษในตอนนั้น หลิวอวี้ที่พากเพียรจากทหารตำแหน่งเล็ก ๆในกองทัพเป่ยพู และได้ไต่เต้าขึ้นจนเป็นผู้นำในกองกำลังเป่ยพู และภายหลังได้บีบให้ตระกูลซือหม่า สละบัลลังก์ และได้ก่อตั้งราชวงศ์ใต้ที่มีชื่อว่าราชวงศ์ซ่ง และได้ยกทัพตีชิงแดนเหนือแต่เกิดเหตุ หลิวมู่จือคนสนิทเสียชีวิตระหว่างที่กำลังบุกตีขึ้นเหนือ
หมายเหตุเนื่องจากการพ่ายแพ้ของฝูเจียน ทำให้การรวมแผ่นดินล่าช้าไปเกือบสองร้อยปี
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์เหนือใต้
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265 – 316 หรือ พ.ศ. 808-860) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจน ค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย (北魏)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439 (พ.ศ. 982)
เมื่อถึงปีค.ศ. 581 (พ.ศ. 1124) หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(周静帝)จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย (隋)จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ
เพิ่มเติม ทางฝ่ายเหนือก่อนที่ราชวงศ์จิ้นจะพบจุดจบ ทางเผ่าอนารยชน เผ่าเชียง เผ่าซวงหนู เผ่าตี เผ่าเซียนเป่ย (ที่แบ่งออกเป็น ตระกูลมู่หยงและตระกูลทัวปา) หลังจากฝูเจียนอ๋องแห่งแคว้นเฉียนฉินพ่ายแพ้ที่แม่น้ำเฝ่ยสุ่ย ก็เริ่มอ่อนแอลง โดยได้มีการกล้าแข็งขึ้นของกลุ่มที่เหลือ และฝูเจียนได้ตายโดยน้ำมือของเหยาฉัง และทางแดนเหนือ (ที่ว่านี้เป็นแดนที่อยู่เหนือ แม่น้ำแยงซีเกียง) ก็เป็นการช่วงชิงกันระหว่ง มู่หยงย่ง เหยาฉัง มูหยงฉุย (ตระกูลทัวปาเริ่มก้าวขึ้นมาอย่างเงี้ยบๆ) โดยมูหยงฉุยกวาดล้าง มู่หยงหย่งก่อน แล้ว โดนทัวปากุยทำให้พ่ายแพ้ โดยตามประวัติศาสตร์แล้ว ทัวปากุยเป็นโจรปล้นชิงม้ามาก่อนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแดนเหนือ
อีกฝ่ายทางใต้นอกจากทัวปากุยทางแดนใต้ ต้องเริ่มจากการชนะศึกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยของทัพจิ้น และผู้ปรีชาของจิ้นอันได้แก่ เซี่ยอานมหาเสนาบดี และจอมทัพเซี่ยเสียน ล้มตายลง ทางทัพของซุนเอินได้ก่อหวอด บวกกับทัพแดนจิงโจวของหวนเศียน ได้ทำการก่อกบฏ โดยมีวีรบุรุษในตอนนั้น หลิวอวี้ที่พากเพียรจากทหารตำแหน่งเล็ก ๆในกองทัพเป่ยพู และได้ไต่เต้าขึ้นจนเป็นผู้นำในกองกำลังเป่ยพู และภายหลังได้บีบให้ตระกูลซือหม่า สละบัลลังก์ และได้ก่อตั้งราชวงศ์ใต้ที่มีชื่อว่าราชวงศ์ซ่ง และได้ยกทัพตีชิงแดนเหนือแต่เกิดเหตุ หลิวมู่จือคนสนิทเสียชีวิตระหว่างที่กำลังบุกตีขึ้นเหนือ
หมายเหตุเนื่องจากการพ่ายแพ้ของฝูเจียน ทำให้การรวมแผ่นดินล่าช้าไปเกือบสองร้อยปี
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 220)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ฮั่น
เขตแดนของราชวงศ์ฮั่น
สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น
เมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง
ราชวงศ์ซิน (ค.ศ. 9-23)[แก้]
ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้นๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ฮั่น
เขตแดนของราชวงศ์ฮั่น
สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น
เมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง
ราชวงศ์ซิน (ค.ศ. 9-23)[แก้]
ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้นๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง
ราชวงศ์ฉิน
ราชวงศ์ฉิน (221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จีนยุคจักรวรรดิ[แก้]
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ฉิน
เขตแดนราชวงศ์ฉิน
นักประวัติศาสตร์นิยมเรียกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน ถึง ราชวงศ์ชิง ว่าเป็นจีนยุคจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของอารยธรรมชนเผ่าฮั่นไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เซียงหยาง (咸陽) (บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน)
พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น ฉินซีฮ่องเต้สร้างแนวปกกันพวกป่าเถื่อนจากทางเหนือโดยการสร้างกำแพงต่อเชื่อมกำแพงเดิมที่อยู่เดิม จากการก่อสร้างของรัฐต่าง ๆ สมัยจ้านกั๊ว การก่อสร้างนี้ทำให้กลายเป็นกำแพงขนาดยาวนับหมื่นลี้ จึงเรียกกำแพงนี้ว่า “กำแพงหมื่นลี้” ผลงานอื่นๆ ได้แก่ระบบกฎหมาย การเขียนหนังสือ ระบบเงินตรา เป็นต้น
ฉินซีฮ่องเต้เปิดศึกกับกษัตริย์ของรัฐ ทั้ง 6 ประเทศในลุ่มน้ำเหลือง คือ หาน (韩) จ้าว (赵) เว้ย (魏) ฉู่ (楚) เยียน (燕) และฉี (齐) ในที่สุดการผนึกรวมรัฐต่างๆเป็นมหาอำนาจทาง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม กล่าวคือมีการใช้ภาษาเขียนภาษาเดียวคือจีน มาตราชั่งตวง วัด การเงิน เป็นหน่วยเดียวกันทั่วประเทศ (ปัจจุบันกลุ่มประเทศEU นำวิธีนี้ไปใช่ใช้รึเปล่า) มีระบบความกว้างของถนนกว้างสำหรับรถม้า 2 คันสวนกันได้ ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่กำแพงเมืองจีน อนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน จากเดิมที่ดินทั้งหมดเป็นของพระราชา ฉิน หาน จ้าว เว้ย ฉู่ เยียน และฉี ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จและการปกครองแบบรวบอำนาจที่ศูนย์กลาง (ยกเลิกระบบอ๋อง (กษัตริย์) ครองประเทศราช)
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ฉิน
เขตแดนราชวงศ์ฉิน
นักประวัติศาสตร์นิยมเรียกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน ถึง ราชวงศ์ชิง ว่าเป็นจีนยุคจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของอารยธรรมชนเผ่าฮั่นไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เซียงหยาง (咸陽) (บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน)
พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น ฉินซีฮ่องเต้สร้างแนวปกกันพวกป่าเถื่อนจากทางเหนือโดยการสร้างกำแพงต่อเชื่อมกำแพงเดิมที่อยู่เดิม จากการก่อสร้างของรัฐต่าง ๆ สมัยจ้านกั๊ว การก่อสร้างนี้ทำให้กลายเป็นกำแพงขนาดยาวนับหมื่นลี้ จึงเรียกกำแพงนี้ว่า “กำแพงหมื่นลี้” ผลงานอื่นๆ ได้แก่ระบบกฎหมาย การเขียนหนังสือ ระบบเงินตรา เป็นต้น
ฉินซีฮ่องเต้เปิดศึกกับกษัตริย์ของรัฐ ทั้ง 6 ประเทศในลุ่มน้ำเหลือง คือ หาน (韩) จ้าว (赵) เว้ย (魏) ฉู่ (楚) เยียน (燕) และฉี (齐) ในที่สุดการผนึกรวมรัฐต่างๆเป็นมหาอำนาจทาง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม กล่าวคือมีการใช้ภาษาเขียนภาษาเดียวคือจีน มาตราชั่งตวง วัด การเงิน เป็นหน่วยเดียวกันทั่วประเทศ (ปัจจุบันกลุ่มประเทศEU นำวิธีนี้ไปใช่ใช้รึเปล่า) มีระบบความกว้างของถนนกว้างสำหรับรถม้า 2 คันสวนกันได้ ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่กำแพงเมืองจีน อนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน จากเดิมที่ดินทั้งหมดเป็นของพระราชา ฉิน หาน จ้าว เว้ย ฉู่ เยียน และฉี ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จและการปกครองแบบรวบอำนาจที่ศูนย์กลาง (ยกเลิกระบบอ๋อง (กษัตริย์) ครองประเทศราช)
ยุคเลียดก๊ก
ยุคเลียดก๊ก 战国七雄[แก้]
ดูบทความหลักที่: ยุคเลียดก๊ก
ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆเข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว 战国七雄 ได้แก่ รัฐฉี 齐, รัฐฉู่ 楚, รัฐเยียน 燕, รัฐหาน 韩, รัฐเจ้า 赵, รัฐเว่ย 魏, และรัฐฉิน 秦 ยุคสมัยนี้มีสงครามดุเดือดระหว่างรัฐต่อเนื่อง รัฐฉินกับรัฐฉีได้รับการขนานนามเป็นสองรัฐมหาอำนาจฟากตะวันออกและฟากตะวันตก ซึ่งถือเป็นดุลอำนาจต่อกัน
ยุคนี้สิ้นสุดโดยการขึ้นครองอำนาจของ อิ๋งเจิ้ง แห่งรัฐฉิน หรือที่รู้จักกันในนาม จิ๋นซีฮ่องเต้ (พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้) โดยถือเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน
ดูบทความหลักที่: ยุคเลียดก๊ก
ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆเข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว 战国七雄 ได้แก่ รัฐฉี 齐, รัฐฉู่ 楚, รัฐเยียน 燕, รัฐหาน 韩, รัฐเจ้า 赵, รัฐเว่ย 魏, และรัฐฉิน 秦 ยุคสมัยนี้มีสงครามดุเดือดระหว่างรัฐต่อเนื่อง รัฐฉินกับรัฐฉีได้รับการขนานนามเป็นสองรัฐมหาอำนาจฟากตะวันออกและฟากตะวันตก ซึ่งถือเป็นดุลอำนาจต่อกัน
ยุคนี้สิ้นสุดโดยการขึ้นครองอำนาจของ อิ๋งเจิ้ง แห่งรัฐฉิน หรือที่รู้จักกันในนาม จิ๋นซีฮ่องเต้ (พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้) โดยถือเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน
ราชวงศ์โจว
ราชวงศ์โจว 周朝 (1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์โจว
เขตแดนราชวงศ์โจว
นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี (ยาวนานที่สุดในจีน) แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
ราชวงศ์โจวตะวันตก (1046-771 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[แก้]
เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่า ก่อสร้างบ้านเรือน และกำหนดตำแหน่งขุนนาง ทำให้มีลักษณะของชาติรัฐชัดขึ้น เมื่อผู้นำนามว่า จีฟา ทำลายราชวงศ์ซางสำเร็จแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าโจวอู่หวัง แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองเฮ่า (ด้านตะวันตกอำเภอฉางอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) นักประวัติศาสตร์เรียกแผ่นดินโจวช่วงนี้ว่า ราชวงศ์โจวตะวันตก นอกจากนั้นยังริเริ่มปูนบำเหน็จความชอบด้วยที่ดินและทรัพย์สินแก่ขุนนางซึ่งสร้างความชอบแก่แผ่นดินหรือเจ้าแผ่นดินเป็นครั้งแรกด้วย
ราชวงศ์โจวตราระบบสืบสายวงศ์ขึ้นใช้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดว่า ตำแหน่งกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐต่างๆต้องสืบทอดเฉพาะบุตรคนโตของภรรยาเอกเท่านั้น บุตรที่เหลือจะรับการแต่งตั้งในตำแหน่งต่ำลงไป การสืบทอดชัดเจนนี้สร้างความมั่นคงแก่ราชวงศ์ยิ่งขึ้น
เมื่อล่วงถึงสมัยของพระเจ้าโจวโยวหวัง เมืองเฮ่าซึ่งเป็นเมืองหลวงเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง เกิดโรคระบาด ประชาชนลำบากยากแค้นโดยกษัตริย์ไม่สนใจไยดี กลับลุ่มหลงสุรานารีและความบันเทิงหรูหรา ส่วนขุนนางประจบสอพลอ ไม่ทำงานตามหน้าที่ ทำให้เจ้านครรัฐบางคนรวมตัวกับชนเผ่าฉวี่ยนหรงเข้าโจมตีและปลงพระชนม์กษัตริย์ ถือเป็นจุดสิ้นสุดอาณาจักรโจวตะวันตก
ยุคชุนชิว 春秋 (770-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ยุคชุนชิว
春秋五霸 มี 5 นคร คือ 齐桓公(qi huan gong),宋襄公 (song xiang gong ),晋文公 (jin wen gong),秦穆公 (qin mu gong),楚庄王(chu zhuang wang). หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว (Spring and Autumn Period) ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อนค.ศ. (227 ปีก่อนพ.ศ.) รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง ถึง ปี 476 ก่อนค.ศ. (67 ปีก่อนพ.ศ.) หรือปีที่ 44 สมัยพระเจ้าโจวจิ้งหวัง
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์โจว
เขตแดนราชวงศ์โจว
นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี (ยาวนานที่สุดในจีน) แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
ราชวงศ์โจวตะวันตก (1046-771 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[แก้]
เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่า ก่อสร้างบ้านเรือน และกำหนดตำแหน่งขุนนาง ทำให้มีลักษณะของชาติรัฐชัดขึ้น เมื่อผู้นำนามว่า จีฟา ทำลายราชวงศ์ซางสำเร็จแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าโจวอู่หวัง แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองเฮ่า (ด้านตะวันตกอำเภอฉางอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) นักประวัติศาสตร์เรียกแผ่นดินโจวช่วงนี้ว่า ราชวงศ์โจวตะวันตก นอกจากนั้นยังริเริ่มปูนบำเหน็จความชอบด้วยที่ดินและทรัพย์สินแก่ขุนนางซึ่งสร้างความชอบแก่แผ่นดินหรือเจ้าแผ่นดินเป็นครั้งแรกด้วย
ราชวงศ์โจวตราระบบสืบสายวงศ์ขึ้นใช้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดว่า ตำแหน่งกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐต่างๆต้องสืบทอดเฉพาะบุตรคนโตของภรรยาเอกเท่านั้น บุตรที่เหลือจะรับการแต่งตั้งในตำแหน่งต่ำลงไป การสืบทอดชัดเจนนี้สร้างความมั่นคงแก่ราชวงศ์ยิ่งขึ้น
เมื่อล่วงถึงสมัยของพระเจ้าโจวโยวหวัง เมืองเฮ่าซึ่งเป็นเมืองหลวงเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง เกิดโรคระบาด ประชาชนลำบากยากแค้นโดยกษัตริย์ไม่สนใจไยดี กลับลุ่มหลงสุรานารีและความบันเทิงหรูหรา ส่วนขุนนางประจบสอพลอ ไม่ทำงานตามหน้าที่ ทำให้เจ้านครรัฐบางคนรวมตัวกับชนเผ่าฉวี่ยนหรงเข้าโจมตีและปลงพระชนม์กษัตริย์ ถือเป็นจุดสิ้นสุดอาณาจักรโจวตะวันตก
ยุคชุนชิว 春秋 (770-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ยุคชุนชิว
春秋五霸 มี 5 นคร คือ 齐桓公(qi huan gong),宋襄公 (song xiang gong ),晋文公 (jin wen gong),秦穆公 (qin mu gong),楚庄王(chu zhuang wang). หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว (Spring and Autumn Period) ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อนค.ศ. (227 ปีก่อนพ.ศ.) รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง ถึง ปี 476 ก่อนค.ศ. (67 ปีก่อนพ.ศ.) หรือปีที่ 44 สมัยพระเจ้าโจวจิ้งหวัง
ราชวงศ์ซาง
ราชวงศ์ซาง 商朝 (1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ซาง
เขตแดนราชวงศ์ซาง
ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี คือ ตั้งแต่ 1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช (1057-503 ปีก่อนพ.ศ.) ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหาร, ข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์ เมื่อพระเจ้าเจี๋ยแห่งราชวงศ์เซี่ยซึ่งไร้คุณธรรมสร้างความเกลียดชังแก่คนทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิชอบพฤติกรรมของพระองค์ รวมตัวกันเป็นกองกำลังเพื่อต่อต้านการปกครองของเจ้าแผ่นดิน ทัง มีอำนาจอยู่แถบเมืองซางได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าเผ่าต่างๆจึงใช้กำลังพลและอาวุธโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์เซี่ย แล้วสถาปนาราชวงศ์ซางขึ้น โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองปั๋ว (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลซานตงปัจจุบัน) เนื่องจากทังเป็นชนชั้นสูงในราชวงศ์เซี่ยมาก่อน จึงถือว่าเป็นการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนั้นยุคนี้ยังเริ่มมีการใช้ภาชนะสำริดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเภท ถ้วยสุรา มีดวงพระจันทร์ กลองสำริด ซึ่งมีการขุดค้นพบเป็นหลักฐานกันมาก
การครองราชย์ช่วงแรกของพระเจ้าซางทังและทายาท บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขจนกระทั่งไปถึงพระเจ้าโจวหวัง 纣王 ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้เป็นผู้เหี้ยมโหด ขูดรีดเงินทองจากราษฎรอย่างหนักเพื่อสร้างอุทยานแห่งใหม่ “ 酒池,肉林 ” (สระสุรา,ป่านารี) และลงโทษทัณฑ์แก่ผู้ต่อต้านนโยบายหรือสร้างความขัดเคืองใจด้วยการประหารชีวิต เหล่าขุนนางเสพสุขบนความทุกข์ของราษฎรโดยเจ้าแผ่นดินไม่เหลียวแล จึงสร้างแรงกดดันและเกิดการรวมตัวของ (นาจา เจียงจื่อหยา เอ้อหลางฯ) และ พวกเผ่าโจวซึ่งอาศัยบนที่ราบสูงและมีกำลังเข้มแข็ง โดยผู้นำ ชื่อ จีฟา ได้รวมกำลังพลกับเผ่าอื่นที่ประสบความเดือดร้อนเพื่อโจมตีกองทัพของพระเจ้าโจ้วหวังซึ่งแตกพ่ายแพ้ยับเยินที่ มู่เหยีย พระเจ้าโจ้วหวังต้องฆ่าตัวตายด้วยการเผาตัวเอง ราชวงศ์ซางจึงล่มสลายลงแล้วสถาปนาราชวงศ์โจวปกครองแผ่นดินแทนราชวงศ์ซางเมื่อประมาณ 1046 ปีก่อนคริสตกาล
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์ซาง
เขตแดนราชวงศ์ซาง
ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี คือ ตั้งแต่ 1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช (1057-503 ปีก่อนพ.ศ.) ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหาร, ข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์ เมื่อพระเจ้าเจี๋ยแห่งราชวงศ์เซี่ยซึ่งไร้คุณธรรมสร้างความเกลียดชังแก่คนทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิชอบพฤติกรรมของพระองค์ รวมตัวกันเป็นกองกำลังเพื่อต่อต้านการปกครองของเจ้าแผ่นดิน ทัง มีอำนาจอยู่แถบเมืองซางได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าเผ่าต่างๆจึงใช้กำลังพลและอาวุธโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์เซี่ย แล้วสถาปนาราชวงศ์ซางขึ้น โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองปั๋ว (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลซานตงปัจจุบัน) เนื่องจากทังเป็นชนชั้นสูงในราชวงศ์เซี่ยมาก่อน จึงถือว่าเป็นการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนั้นยุคนี้ยังเริ่มมีการใช้ภาชนะสำริดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเภท ถ้วยสุรา มีดวงพระจันทร์ กลองสำริด ซึ่งมีการขุดค้นพบเป็นหลักฐานกันมาก
การครองราชย์ช่วงแรกของพระเจ้าซางทังและทายาท บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขจนกระทั่งไปถึงพระเจ้าโจวหวัง 纣王 ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้เป็นผู้เหี้ยมโหด ขูดรีดเงินทองจากราษฎรอย่างหนักเพื่อสร้างอุทยานแห่งใหม่ “ 酒池,肉林 ” (สระสุรา,ป่านารี) และลงโทษทัณฑ์แก่ผู้ต่อต้านนโยบายหรือสร้างความขัดเคืองใจด้วยการประหารชีวิต เหล่าขุนนางเสพสุขบนความทุกข์ของราษฎรโดยเจ้าแผ่นดินไม่เหลียวแล จึงสร้างแรงกดดันและเกิดการรวมตัวของ (นาจา เจียงจื่อหยา เอ้อหลางฯ) และ พวกเผ่าโจวซึ่งอาศัยบนที่ราบสูงและมีกำลังเข้มแข็ง โดยผู้นำ ชื่อ จีฟา ได้รวมกำลังพลกับเผ่าอื่นที่ประสบความเดือดร้อนเพื่อโจมตีกองทัพของพระเจ้าโจ้วหวังซึ่งแตกพ่ายแพ้ยับเยินที่ มู่เหยีย พระเจ้าโจ้วหวังต้องฆ่าตัวตายด้วยการเผาตัวเอง ราชวงศ์ซางจึงล่มสลายลงแล้วสถาปนาราชวงศ์โจวปกครองแผ่นดินแทนราชวงศ์ซางเมื่อประมาณ 1046 ปีก่อนคริสตกาล
ราชวงศ์เซี่ย
ราชวงศ์เซี่ย 夏朝 (2100-1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[แก้]
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์เซี่ย
เขตแดนราชวงศ์เซี่ย
เล่ากันว่า ในสมัยเหยา 尧 นั้นแม่น้ำหวงเหอ 黄河 เกิดอุทกภัยน้ำหลากเข้าทำลายบ้านเมือง ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือบนยอดเขาเท่านั้น ซึ่งภายหลังพระเจ้าอี่ 禹 ใช้เวลา 13 ปีในการแก้ปัญหาอุทกภัยนี้สำเร็จ และได้รับขนานนามว่า ต้า-ยวี่ “大禹”
ปกครองจีนในช่วง 2100-1600ปีก่อนคริสตกาล (1557-1057 ปีก่อนพ.ศ.) มีอำนาจอยู่แถบมณฑลชานสีในปัจจุบัน ใกล้ลุ่มน้ำเหลือง กษัตริย์เซี่ยองค์แรก คือ พระเจ้าอี่ เริ่มประเพณีการสืบราชสมบัติตามสายโลหิต ในระยะแรกสืบจากพี่มาสู่น้อง สมัยราชวงศ์เซี่ยนี้ มีหลักฐานว่าผู้ปกครองมักเป็นหัวหน้าทางศาสนาหรือมีหน้าที่ทำปฏิทินด้วย แต่ต่อมาความสำคัญทางศาสนาหรือความเชื่อเรื่องนี้เสื่อมลงไป
เมื่อพระเจ้าอี่ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์นี้ ในปี 2070 ก่อนคริสตกาล ยังยึดหลักการสละราชบัลลังก์ตามแบบประเพณีนิยมของพระเจ้าเหยาและพระเจ้าซุ่นแก่ผู้ที่มีความสามารถ โดยเตรียมให้ อี้ ผู้ช่วยรับช่วงสืบราชสมบัติ แต่หัวหน้าเผ่าต่างๆสนับสนุน ฉี่ โอรสของพระเจ้าอี่ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรมและมีความสามารถอีกคนหนึ่ง จึงได้สืบทอดอำนาจต่อจากพระบิดา ด้วยการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยขึ้น นับเป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งเจ้าผู้ครองราชย์เป็นการ สืบสันตติวงศ์ โดยการสืบทอดสมบัติจากพ่อสู่ลูก พี่สู่น้องไปเรื่อยๆ การสืบทอดแบบนี้ทำให้เกิดลักษณะการปกครองประเทศด้วยวงศ์สกุลเดียวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน
ราชวงศ์เซี่ยมีประวัติยาวนานเกือบ 500 ปี มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 17 องค์ จนกระทั่งพระเจ้าเจี๋ย 桀 ซึ่งมีนิสัยโหดร้าย ไร้คุณธรรม จึงเป็นที่เกลียดชังของประชาราษฎร์ ผู้นำเผ่าซาง ชื่อ ทัง ผนึกกำลังกับเผ่าต่างๆทำสงครามขับไล่พระเจ้าเจี๋ยและเอาชนะได้ที่ หมิงเถียว (ตั้งอยู่บริเวณใกล้เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พระเจ้าเจี๋ยหนีและสิ้นพระชนม์ที่หนานเฉา (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ราชวงศ์เซี่ยจึงล่มสลายอย่างสมบูรณ์
ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์เซี่ย
เขตแดนราชวงศ์เซี่ย
เล่ากันว่า ในสมัยเหยา 尧 นั้นแม่น้ำหวงเหอ 黄河 เกิดอุทกภัยน้ำหลากเข้าทำลายบ้านเมือง ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือบนยอดเขาเท่านั้น ซึ่งภายหลังพระเจ้าอี่ 禹 ใช้เวลา 13 ปีในการแก้ปัญหาอุทกภัยนี้สำเร็จ และได้รับขนานนามว่า ต้า-ยวี่ “大禹”
ปกครองจีนในช่วง 2100-1600ปีก่อนคริสตกาล (1557-1057 ปีก่อนพ.ศ.) มีอำนาจอยู่แถบมณฑลชานสีในปัจจุบัน ใกล้ลุ่มน้ำเหลือง กษัตริย์เซี่ยองค์แรก คือ พระเจ้าอี่ เริ่มประเพณีการสืบราชสมบัติตามสายโลหิต ในระยะแรกสืบจากพี่มาสู่น้อง สมัยราชวงศ์เซี่ยนี้ มีหลักฐานว่าผู้ปกครองมักเป็นหัวหน้าทางศาสนาหรือมีหน้าที่ทำปฏิทินด้วย แต่ต่อมาความสำคัญทางศาสนาหรือความเชื่อเรื่องนี้เสื่อมลงไป
เมื่อพระเจ้าอี่ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์นี้ ในปี 2070 ก่อนคริสตกาล ยังยึดหลักการสละราชบัลลังก์ตามแบบประเพณีนิยมของพระเจ้าเหยาและพระเจ้าซุ่นแก่ผู้ที่มีความสามารถ โดยเตรียมให้ อี้ ผู้ช่วยรับช่วงสืบราชสมบัติ แต่หัวหน้าเผ่าต่างๆสนับสนุน ฉี่ โอรสของพระเจ้าอี่ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรมและมีความสามารถอีกคนหนึ่ง จึงได้สืบทอดอำนาจต่อจากพระบิดา ด้วยการสถาปนาราชวงศ์เซี่ยขึ้น นับเป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งเจ้าผู้ครองราชย์เป็นการ สืบสันตติวงศ์ โดยการสืบทอดสมบัติจากพ่อสู่ลูก พี่สู่น้องไปเรื่อยๆ การสืบทอดแบบนี้ทำให้เกิดลักษณะการปกครองประเทศด้วยวงศ์สกุลเดียวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน
ราชวงศ์เซี่ยมีประวัติยาวนานเกือบ 500 ปี มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 17 องค์ จนกระทั่งพระเจ้าเจี๋ย 桀 ซึ่งมีนิสัยโหดร้าย ไร้คุณธรรม จึงเป็นที่เกลียดชังของประชาราษฎร์ ผู้นำเผ่าซาง ชื่อ ทัง ผนึกกำลังกับเผ่าต่างๆทำสงครามขับไล่พระเจ้าเจี๋ยและเอาชนะได้ที่ หมิงเถียว (ตั้งอยู่บริเวณใกล้เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พระเจ้าเจี๋ยหนีและสิ้นพระชนม์ที่หนานเฉา (อำเภอเฉาเซี่ยน มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ราชวงศ์เซี่ยจึงล่มสลายอย่างสมบูรณ์
ประวัติศาสตร์จีน
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รองจากอารยธรรมอียิปต์
รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) แนวคิดนี้ไปสู่ภาษาอังกฤษปัจจุบัน ที่อ่านเป็นภาษาเยอรมัน รัสเซีย สเปน แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.สอนให้คนจีนทุกคนสำนึกว่าแผ่นดินที่ตัวเองเกิด อยู๋อาศัย คือแผ่นดินแม่ต้องตอบแทนแผ่นดิน ทำให้คนจีนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในอเมริกา ในยุโรป อยู่ร่วมกับคนชาติอื่นอย่างมีเสถียรภาพ เพราะใจของคนจีนส่วนใหญ่ต้องตอบแทนแผ่นดินที่ตัวอยู่อาศัย เป็น ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น (มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น เป็นชนชาติมองโกลลอยด์หน้าคล้ายคนจีน ที่ไม่เขียน พูดภาษาจีน) วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก เช่น สามก๊ก ซุนวู เครื่องปั้นดินเผา ไวน์ การสร้างสะพานแขวน เครื่องดนตรี กายกรรม การเดินเรือข้ามทวีป การพิมพ์หนังสือ เข็ม/เข็มทิศ การแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง (เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุน มองโกล ทิเบต ซินเกียง แมนจู) ซึ่งเป็นถิ่นที่ชนชาติ มองโกลลอยด์อยู่นั่นเอง แต่ไม่เขียนภาษาจีน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์[แก้]
ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว 元谋人 (yuanmou man) มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1965 ที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และ พบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง 北京人 (bei jing ren) มีอายุประมาณ 700,000 ปี - 200,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1929 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกี่ง (北京西南周口店龙骨山山洞里) และ พบหลักฐาน มนุษย์ถ้ำ 山顶洞人 (shan ding dong ren)มีอายุประมาณ 18,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1930 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกี่ง (北京西南周口店龙骨山顶部的山洞里)
ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้วใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 ปี - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงค์ชาง และ ราชวงค์โจว
รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) แนวคิดนี้ไปสู่ภาษาอังกฤษปัจจุบัน ที่อ่านเป็นภาษาเยอรมัน รัสเซีย สเปน แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.สอนให้คนจีนทุกคนสำนึกว่าแผ่นดินที่ตัวเองเกิด อยู๋อาศัย คือแผ่นดินแม่ต้องตอบแทนแผ่นดิน ทำให้คนจีนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในอเมริกา ในยุโรป อยู่ร่วมกับคนชาติอื่นอย่างมีเสถียรภาพ เพราะใจของคนจีนส่วนใหญ่ต้องตอบแทนแผ่นดินที่ตัวอยู่อาศัย เป็น ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น (มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น เป็นชนชาติมองโกลลอยด์หน้าคล้ายคนจีน ที่ไม่เขียน พูดภาษาจีน) วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก เช่น สามก๊ก ซุนวู เครื่องปั้นดินเผา ไวน์ การสร้างสะพานแขวน เครื่องดนตรี กายกรรม การเดินเรือข้ามทวีป การพิมพ์หนังสือ เข็ม/เข็มทิศ การแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง (เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุน มองโกล ทิเบต ซินเกียง แมนจู) ซึ่งเป็นถิ่นที่ชนชาติ มองโกลลอยด์อยู่นั่นเอง แต่ไม่เขียนภาษาจีน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์[แก้]
ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว 元谋人 (yuanmou man) มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1965 ที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และ พบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง 北京人 (bei jing ren) มีอายุประมาณ 700,000 ปี - 200,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1929 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกี่ง (北京西南周口店龙骨山山洞里) และ พบหลักฐาน มนุษย์ถ้ำ 山顶洞人 (shan ding dong ren)มีอายุประมาณ 18,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1930 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกี่ง (北京西南周口店龙骨山顶部的山洞里)
ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้วใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 ปี - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงค์ชาง และ ราชวงค์โจว
ประวัติราชวงศ์จักรี
ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์"
ที่มาของชื่อและสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์
ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี คำว่า "จักรี" นี้พ้องเสียงกับคำว่า "จักร" และ "ตรี" ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระนารายณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจจุบัน
พระปฐมบรมมหาชนกแห่งราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก "จะกล่าวถึงเจ้านายจำพวกซึ่งเป็นปฐมเป็นต้นแซ่ต้นสกุลเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์แลเจ้าราชินิกุลที่เรียกนามว่า คุณ ว่า หม่อม มีบรรดาศักดิ์เนื่องในพระบรมราชวงศ์นี้ ซึ่งบัดนี้เป็นจำพวกต่างๆอยู่ จะให้รู้แจ้งว่าเนื่องมาแต่ท่านผู้ใด พระองค์ใด เป็นเดิมแต่แรกตั้งกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยานี้มา พึงรู้โดยสังเขปว่าบุรุษนารีมีบรรดาศักดิ์ ซึ่งเรียกว่าเป็นจำพวกเจ้า คือเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ทั้งปวงนั้น ล้วนปฏิพัทธ์พัวพันสืบต่อลงมาแต่องค์สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี คือ องค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระเจ้าหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรโมรุถชามหาจักรีบรมนาถ ซึ่งปรากฏพระนามในบัดนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นปฐมบรมอัครมหาราชาธิราชในพระบรมมหาราชวัง"
จึงนับได้ว่า สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี หรือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นพระมหาชนกพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี และเป็นเจ้านายแห่งราชวงศ์จักรีพระองค์แรกอย่างแท้จริง โดย พระมหาสังข์เดิม ซึ่งเป็นพระมหาสังข์ที่ใช้บรรจุพระบรมอัฐของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งปัจจุบันใช้รดน้ำในพระราชพิธีมงคลให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น
พระบรมวงศานุวงศ์
ดูบทความหลักที่: พระบรมวงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน ภายในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ต้นราชสกุลมหิดล[1] กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาลย์ ตะละภัฏ) โดยสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ถือเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ผู้เป็นพระอนุชาจึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น และภายหลังได้อภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์)
รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระบรมราชินีในรัชกาล)
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระราชธิดาองค์ใหญ่ ภายหลังได้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เจ้าฟ้า)[2]
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชโอรสองค์ใหญ่)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (พระธิดาองค์ใหญ่ของมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ (พระธิดาองค์เล็กของมกุฎราชกุมาร กับนางสุจาริณี วิวัชรวงศ์)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ (พระโอรสองค์เล็กของมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ)
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี (พระราชธิดาองค์กลาง)
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระราชธิดาองค์เล็ก)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ (พระธิดาองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (พระธิดาองค์เล็กของเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (อดีตพระวรชายาในมกุฎราชกุมาร)
เครือญาติและผู้เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์
หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล (พระโอรสองค์ใหญ่ของมกุฎราชกุมาร กับสุจาริณี วิวัชรวงศ์]])
หม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล (พระโอรสองค์ที่สองของมกุฎราชกุมาร กับสุจาริณี วิวัชรวงศ์)
หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล (พระโอรสองค์ที่สามของมกุฎราชกุมาร กับสุจาริณี วิวัชรวงศ์)
หม่อมเจ้าวัชรวีร์ มหิดล (พระโอรสองค์ที่สี่ของมกุฎราชกุมาร กับสุจาริณี วิวัชรวงศ์)
คุณพลอยไพลิน และเดวิด วีลเลอร์ (ธิดาคนโตในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับนายปีเตอร์ เจนเซน และสามี)
แมกซ์ วีลเลอร์ (พระนัดดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี)
คุณสิริกิติยา เจนเซน (ธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับนายปีเตอร์ เจนเซน)
ท่านผู้หญิง ทัศนาวลัย และสินธู ศรสงคราม (ธิดาเพียงคนเดียวใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ และสามี)
พันตรี จิทัศ และเจสสิกา ศรสงคราม (พระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และภรรยา)
สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (อดีตคู่สมรสในมกุฎราชกุมาร)
ปีเตอร์ เจนเซน (อดีตพระสวามีในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี)
นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี)
พลตรีหญิง ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี (อดีตพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)
ที่มาของชื่อและสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์
ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี คำว่า "จักรี" นี้พ้องเสียงกับคำว่า "จักร" และ "ตรี" ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระนารายณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจจุบัน
พระปฐมบรมมหาชนกแห่งราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก "จะกล่าวถึงเจ้านายจำพวกซึ่งเป็นปฐมเป็นต้นแซ่ต้นสกุลเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์แลเจ้าราชินิกุลที่เรียกนามว่า คุณ ว่า หม่อม มีบรรดาศักดิ์เนื่องในพระบรมราชวงศ์นี้ ซึ่งบัดนี้เป็นจำพวกต่างๆอยู่ จะให้รู้แจ้งว่าเนื่องมาแต่ท่านผู้ใด พระองค์ใด เป็นเดิมแต่แรกตั้งกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยานี้มา พึงรู้โดยสังเขปว่าบุรุษนารีมีบรรดาศักดิ์ ซึ่งเรียกว่าเป็นจำพวกเจ้า คือเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ทั้งปวงนั้น ล้วนปฏิพัทธ์พัวพันสืบต่อลงมาแต่องค์สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี คือ องค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระเจ้าหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรโมรุถชามหาจักรีบรมนาถ ซึ่งปรากฏพระนามในบัดนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นปฐมบรมอัครมหาราชาธิราชในพระบรมมหาราชวัง"
จึงนับได้ว่า สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี หรือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นพระมหาชนกพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี และเป็นเจ้านายแห่งราชวงศ์จักรีพระองค์แรกอย่างแท้จริง โดย พระมหาสังข์เดิม ซึ่งเป็นพระมหาสังข์ที่ใช้บรรจุพระบรมอัฐของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งปัจจุบันใช้รดน้ำในพระราชพิธีมงคลให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น
พระบรมวงศานุวงศ์
ดูบทความหลักที่: พระบรมวงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน ภายในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ต้นราชสกุลมหิดล[1] กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาลย์ ตะละภัฏ) โดยสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ถือเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ผู้เป็นพระอนุชาจึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น และภายหลังได้อภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์)
รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระบรมราชินีในรัชกาล)
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระราชธิดาองค์ใหญ่ ภายหลังได้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เจ้าฟ้า)[2]
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชโอรสองค์ใหญ่)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (พระธิดาองค์ใหญ่ของมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ (พระธิดาองค์เล็กของมกุฎราชกุมาร กับนางสุจาริณี วิวัชรวงศ์)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ (พระโอรสองค์เล็กของมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ)
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี (พระราชธิดาองค์กลาง)
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระราชธิดาองค์เล็ก)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ (พระธิดาองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน)
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (พระธิดาองค์เล็กของเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (อดีตพระวรชายาในมกุฎราชกุมาร)
เครือญาติและผู้เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์
หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล (พระโอรสองค์ใหญ่ของมกุฎราชกุมาร กับสุจาริณี วิวัชรวงศ์]])
หม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล (พระโอรสองค์ที่สองของมกุฎราชกุมาร กับสุจาริณี วิวัชรวงศ์)
หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล (พระโอรสองค์ที่สามของมกุฎราชกุมาร กับสุจาริณี วิวัชรวงศ์)
หม่อมเจ้าวัชรวีร์ มหิดล (พระโอรสองค์ที่สี่ของมกุฎราชกุมาร กับสุจาริณี วิวัชรวงศ์)
คุณพลอยไพลิน และเดวิด วีลเลอร์ (ธิดาคนโตในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับนายปีเตอร์ เจนเซน และสามี)
แมกซ์ วีลเลอร์ (พระนัดดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี)
คุณสิริกิติยา เจนเซน (ธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับนายปีเตอร์ เจนเซน)
ท่านผู้หญิง ทัศนาวลัย และสินธู ศรสงคราม (ธิดาเพียงคนเดียวใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ และสามี)
พันตรี จิทัศ และเจสสิกา ศรสงคราม (พระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และภรรยา)
สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (อดีตคู่สมรสในมกุฎราชกุมาร)
ปีเตอร์ เจนเซน (อดีตพระสวามีในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี)
นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี)
พลตรีหญิง ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี (อดีตพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
- รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
- วิษณุ มีประกอบ
- ปภัสรา ชุตานุพงษ์ (เตชะไพบูลย์)
- น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์
- ภัคจิรา วรรณสุทธิ์
- ญดา โชติชูตระกูล
- ศิริมาศ ชื่นวิทยา (นักร้องนำ วง Pink)
- อินทิรา ยืนยง (นักร้องนำ วงบูโดกัน)
- ปิยะฉัตร กรุณานนท์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ (ผู้ประกาศข่าว)
- อนุสรา จันทรังษี นักแสดง
- ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง (นักแต่งเพลง และ ศิลปินเพื่อชีวิต)
- ติ๊ก ชีโร่
- วินัย ไกรบุตร
- จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
- สมชาย เข็มกลัด
- เขตต์ ฐานทัพ
- เกรียงไกร อังคุณชัย
- ณัฐพงศ์ เดชะปัญญา
- เมธี อรุณ (นักร้องนำวงลาบานูน)
- ประสงค์ พันธ์สวัสดิ์ นักฟุตบอลทีมชาติไทย และสโมสรตำรวจ
- ภานพ (วีระชาติ) ใจเกื้อ ผู้บรรยาย,ผู้ประกาศข่าวกีฬา นิวไลน์ชาแนล,บรรณาธิการข่าวเฉพาะกิจหนังสือพิมพ์บ้านเมือง,ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์กรรมาธิการ การกีฬา วุฒิสภา, บรรณาธิการข่าวกีฬาหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์
- สุชาติ แจสุรภาพ นักกรีฑาทีมชาติไทย
- สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์รองนางสาวไทยอันดับหนึ่ง ปี2529 รองมิสเอเชียแปซิฟิคอันดับสอง ปี 1986,นักแสดง
- สรวีย์ นัดที แจ๊ส ตำแหน่ง ชนะเลิศมิสทิฟฟานี 2009
- วงวัชราวลี ทั้งวงจบจากเอกดนตรี สวนสุนันทา เจ้าของนิยามเพลงรักแนวบวก มีเพลงดังอาทิ ลูกอม,ร่มสีเทา,jeep,
- วีระชัย ดวงพลา หรือที่รู้จักกันในนาม เดอะดวง จบสาขา ออกแบบนิเทศศลป์ นักวาดการ์ตูนชาวไทย มีผลงานเป็นที่รู้จักอยู่มากมาย โดยเฉพาะเรื่อง "เรื่องมีอยู่ว่า" ที่สร้างชื่อเสียงให้เขา โดยเป็นเรื่องที่ทำให้เขาได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (Silver Award) จากเวทีประกวดรางวัลการ์ตูนนานาชาติ ครั้งที่ 4 ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2554
- ธนศักดิ์ สำราญมน (แบงค์ Tempo-po) ผู้ชนะเลิศ Dutchie Boy 2008 นักร้อง นักแสดง
- พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ (น้ำตาล) นักแสดงสังกัดช่อง 3 นิเทศศาสตร์ ย้ายไปศึกษาที่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สหกิจศึกษา / วิทยาเขต / ศูนย์การศึกษา การวิจัยและพัฒนา
สหกิจศึกษา / วิทยาเขต / ศูนย์การศึกษา การวิจัยและพัฒนา
1.จังหวัดระนอง
ที่ตั้ง : บริเวณด้านหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ต.หงาว อ.เมือง จ.ระนอง เนื้อที่ประมาณ 128 ไร่
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ เป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนาวิชาการด้าน สุขภาพการท่องเที่ยวและการโรงแรมและที่พำนักระยะยาว สปา สมุนไพร และเป็นที่ฝึกประสบการณ์วิชาชืพ และ อนาคตทางมหาวิทยาลัยพัฒนาศักยภาพสร้างเป็นโรงแรมรีสอร์ท การพำนักระยะยาว ที่มีการสปา สมุนไพร การพยาบาล การบำบัด การดูแลสุขภาพของเข้าพำนักด้วย โดยเน้นจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณทิต สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและที่พัก และสาขาวิชาอื่น ๆ
2.จังหวัดนครปฐม
ที่ตั้ง : ติดกับพื้นที่ของกันตนามูฟวี่ทาวน์ สถาบันกันตนา ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เนื้อที่ประมาณ 246 ไร่ (ไปทางทิศเหนือจาก ม.มหิดล ศาลายา เส้น ศาลายา-บางเลน ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นที่ดินได้รับการแบ่งขายส่วนหนึ่งจากกันตนา ภายใต้ความร่วมมือพัฒนาทางวิชาการของทั้ง 2 สถาบัน)
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ เป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนาวิชาการด้าน การภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ โดยเน้นจัดการเรียนการสอนด้าน New Media, Animation and multi-media, and Digital content หรือด้านการสร้างภาพยนตร์ โทรทัศน์และการแสดงด้วยระบบ New Media ตลอดจนสาขาเกี่ยวกับการทำเกมส์ และ สาขาด้านอุตสาหกรรมบริการและธุรกิจการบิน เพื่อรองรับความเป็นสากลและนานาชาติ อนาคตวิทยาเขตแห่งนี้จะเป็นวิทยาเขตนานาชาติเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นที่ทำการเรียนการสอนหลักของ 2 วิทยาลัย 1 ศูนย์ คือ วิทยาลัยการภาพยนตร์ฯ วิทยาลัยนานาชาติ และศูนย์อาเซียน ซึ่งทุกหลักสูตรจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ (ทั้งนี้เพื่อการพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนมากที่สุด)
3.จังหวัดสมุทรสงคราม
ที่ตั้ง : ถนนพระราม 2 (ธนบุรี-ปากท่อ) กิโลเมตรที่ 58 ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ (อยู่ติดถนนพระราม 2 ฝั่งรถวิ่งลงภาคใต้ ก่อนถึงตัวเมืองสมุทรสงคราม 4-5 กิโลเมตร เป็นที่ดินบริจาคจากครอบครัวสุจินตะบัณฑิต)
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ อนาคตจะเป็น โรงพยาบาลสวนสุนันทาขนาด 165 เตียงเป็นเบื้องต้น และพัฒนาศักยภาพเพื่อเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ ราวปี พ.ศ. 2566 เป็นอย่างช้า และเป็นที่ทำการเรียนการสอนหลักของ 2 วิทยาลัยคือ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ กับ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการดูแลสุขภาพ เช่น สาขาแพทย์ทางเลือก สาขาเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด สาขาสาธารณสุขชุมชน สาขาเภสัชศาสตร์ สาขาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
4.จังหวัดอุดรธานี[แก้]
ที่ตั้ง : บ้านหนองบุ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จ.อุดรธานี เนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ (เริ่มเปิดรับนักศึกษาปีการศึกษา 2556 และช่วงก่อสร้างอาคารเรียนยังไม่เสร็จจะไปจัดการเรียนการสอนที่ อาคารสำนักงาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ชั้น 1 ถ.มุขมนตรี ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี)
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ เป็นความร่วมมือของ อบจ.อุดรธานี กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อจัดการเรียนการสอนจากมหาวิทยาลัยส่วนกลางให้กับคนในพื้นที่ อุดรธานีและใกล้เคียง โดย อบจ.อุดรธานีจะลงทุนในด้านงบประมาณด้านสาธารณปโภคและอาคารสถานที่ และส่วนของหลักสูตรการศึกษาและระบบการเรียนการสอนเป็นส่วนรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อนาคตถ้า อบจ.อุดรธานีมีศักยภาพเพียงพอ ก็จะยกระดับฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของ อบจ. ในลำดับต่อไป
5.จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่ตั้ง : ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เนื้อที่ประมาณ 256 ไร่
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : เน้นเปิดสอนสาขาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเป็นหลัก อาทิ รัฐประศานศาสตร์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ยังไม่มีแผนพัฒนาเป็นวิทยาเขตแบบสมบูรณ์เหมือน 3 วิทยาเขตข้างต้น มีอาคารปฏิบัติงานและใช้พื้นที่ในการปลูกพื้นสมุนไพร
1.จังหวัดระนอง
ที่ตั้ง : บริเวณด้านหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ต.หงาว อ.เมือง จ.ระนอง เนื้อที่ประมาณ 128 ไร่
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ เป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนาวิชาการด้าน สุขภาพการท่องเที่ยวและการโรงแรมและที่พำนักระยะยาว สปา สมุนไพร และเป็นที่ฝึกประสบการณ์วิชาชืพ และ อนาคตทางมหาวิทยาลัยพัฒนาศักยภาพสร้างเป็นโรงแรมรีสอร์ท การพำนักระยะยาว ที่มีการสปา สมุนไพร การพยาบาล การบำบัด การดูแลสุขภาพของเข้าพำนักด้วย โดยเน้นจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณทิต สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและที่พัก และสาขาวิชาอื่น ๆ
2.จังหวัดนครปฐม
ที่ตั้ง : ติดกับพื้นที่ของกันตนามูฟวี่ทาวน์ สถาบันกันตนา ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เนื้อที่ประมาณ 246 ไร่ (ไปทางทิศเหนือจาก ม.มหิดล ศาลายา เส้น ศาลายา-บางเลน ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นที่ดินได้รับการแบ่งขายส่วนหนึ่งจากกันตนา ภายใต้ความร่วมมือพัฒนาทางวิชาการของทั้ง 2 สถาบัน)
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ เป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนาวิชาการด้าน การภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ โดยเน้นจัดการเรียนการสอนด้าน New Media, Animation and multi-media, and Digital content หรือด้านการสร้างภาพยนตร์ โทรทัศน์และการแสดงด้วยระบบ New Media ตลอดจนสาขาเกี่ยวกับการทำเกมส์ และ สาขาด้านอุตสาหกรรมบริการและธุรกิจการบิน เพื่อรองรับความเป็นสากลและนานาชาติ อนาคตวิทยาเขตแห่งนี้จะเป็นวิทยาเขตนานาชาติเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นที่ทำการเรียนการสอนหลักของ 2 วิทยาลัย 1 ศูนย์ คือ วิทยาลัยการภาพยนตร์ฯ วิทยาลัยนานาชาติ และศูนย์อาเซียน ซึ่งทุกหลักสูตรจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ (ทั้งนี้เพื่อการพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนมากที่สุด)
3.จังหวัดสมุทรสงคราม
ที่ตั้ง : ถนนพระราม 2 (ธนบุรี-ปากท่อ) กิโลเมตรที่ 58 ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ (อยู่ติดถนนพระราม 2 ฝั่งรถวิ่งลงภาคใต้ ก่อนถึงตัวเมืองสมุทรสงคราม 4-5 กิโลเมตร เป็นที่ดินบริจาคจากครอบครัวสุจินตะบัณฑิต)
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ อนาคตจะเป็น โรงพยาบาลสวนสุนันทาขนาด 165 เตียงเป็นเบื้องต้น และพัฒนาศักยภาพเพื่อเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ ราวปี พ.ศ. 2566 เป็นอย่างช้า และเป็นที่ทำการเรียนการสอนหลักของ 2 วิทยาลัยคือ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ กับ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการดูแลสุขภาพ เช่น สาขาแพทย์ทางเลือก สาขาเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด สาขาสาธารณสุขชุมชน สาขาเภสัชศาสตร์ สาขาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
4.จังหวัดอุดรธานี[แก้]
ที่ตั้ง : บ้านหนองบุ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จ.อุดรธานี เนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ (เริ่มเปิดรับนักศึกษาปีการศึกษา 2556 และช่วงก่อสร้างอาคารเรียนยังไม่เสร็จจะไปจัดการเรียนการสอนที่ อาคารสำนักงาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ชั้น 1 ถ.มุขมนตรี ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี)
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : วิทยาเขตแห่งนี้ เป็นความร่วมมือของ อบจ.อุดรธานี กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อจัดการเรียนการสอนจากมหาวิทยาลัยส่วนกลางให้กับคนในพื้นที่ อุดรธานีและใกล้เคียง โดย อบจ.อุดรธานีจะลงทุนในด้านงบประมาณด้านสาธารณปโภคและอาคารสถานที่ และส่วนของหลักสูตรการศึกษาและระบบการเรียนการสอนเป็นส่วนรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อนาคตถ้า อบจ.อุดรธานีมีศักยภาพเพียงพอ ก็จะยกระดับฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของ อบจ. ในลำดับต่อไป
5.จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่ตั้ง : ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เนื้อที่ประมาณ 256 ไร่
แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : เน้นเปิดสอนสาขาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเป็นหลัก อาทิ รัฐประศานศาสตร์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ยังไม่มีแผนพัฒนาเป็นวิทยาเขตแบบสมบูรณ์เหมือน 3 วิทยาเขตข้างต้น มีอาคารปฏิบัติงานและใช้พื้นที่ในการปลูกพื้นสมุนไพร
มาตรฐาน ISO ที่มหาวิทยาลัยได้รับ
มาตรฐาน ISO ที่มหาวิทยาลัยได้รับ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งแรกที่ได้รับรอง ISO 9001 และ ISO 14000 (สิ่งแวดล้อม)
ISO ISO/IEC 27001 : 2013 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality Award (PMQA) จาก ก.พ.ร.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งแรกที่ได้รับรอง ISO 9001 และ ISO 14000 (สิ่งแวดล้อม)
- ISO 14000:2004 ด้านสิ่งแวดล้อม
- ISO 9001:2008 สำนักงานอธิการบดี
- ISO 9001:2008 สำนักทรัพย์สินและรายได้
- ISO 9001:2008 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ISO 9001:2008 กองบริการการศึกษา
- ISO 9001:2008 กองนโยบายและแผน
- ISO 9001:2008 กองพัฒนานักศึกษา
- ISO 9001:2008 บัณฑิตวิทยาลัย
- ISO 9001:2008 คณะวิทยาการจัดการ
- ISO 9001:2008 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ISO 9001:2008 คณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
- ISO 9001:2008 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ISO 9001:2008 คณะศิลปกรรมศาสตร์
- ISO 9001:2008 สถาบันวิจัยและพัฒนา
ISO ISO/IEC 27001 : 2013 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality Award (PMQA) จาก ก.พ.ร.
ระดับปริญญาเอก
3.ระดับปริญญาเอก
โครงการดุษฎีบัณฑิตการบริหารการพัฒนา
- บัณฑิตวิทยาลัย
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาศาสตร์
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ปรัชญาจริยศาสตร์
- วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ[แก้]
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการจัดการนโยบายและยุทธศาสตร์
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและท้องถิ่น
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการจัดการภาคธุรกิจ
โครงการดุษฎีบัณฑิตการบริหารการพัฒนา
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การพัฒนาการเมือง)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การพัฒนาสังคม)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การบริการธุรกิจเฉพาะด้าน)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การพัฒนานักบริหารระดับสูง)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การพัฒนาการศึกษา)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การบริหารงานยุติธรรม)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (วิธีวิทยาการวิจัย)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (จิตวิทยาให้คำปรึกษา)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา (การจัดการคุณภาพ)
วิทยาลัยการภาพยนตร์//บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ (หลักสูตรนานาชาติ)
บัณฑิตวิทยาลัย
- หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างภาพยนตร์ (Film Production)
- หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างสรรค์และสื่อดิจิทัล(Creativity and Digital Media)
- หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและเกมส์(Computer Graphics and Games)
- 2.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ / ปริญญาโท[แก้]
- วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ (ภายใต้การดูแลและกำกับโดยบัณฑิตวิทยาลัย)
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการบริการสุขภาพ
- วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ (ภายใต้การดูแลและกำกับโดยบัณฑิตวิทยาลัย)
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู สาขาวิชา วิชาชีพครู
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการคุณภาพ
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารทั่วไป
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การปกครองท้องถิ่น
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการความมั่นคงปลอดภัย
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์เชิงยุทธศาสตร์
- หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
- หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชา วิชาชีพครู
- หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
- หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการคุณภาพ
- หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
- หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิชาชีพครู
- หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการคุณภาพ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการเทคโนโลยี
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ศึกษาสารสนเทศ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการและควบคุมมลพิษ
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารทั่วไป
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การปกครองท้องถิ่น
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารธุรกิจ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาศาสตร์
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ศิลปะการแสดง
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
คณะ/วิทยาลัย
คณะ/วิทยาลัย
- คณะครุศาสตร์
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
- วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
- วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
- วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
- วิทยาลัยนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)
- วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะครุศาสตร์
หลักสูตร 5 ปี
- สาขาวิชาสังคมศึกษา
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตร 4 ปี
- สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
คณะวิทยาการจัดการ
- สาขาวิชาการบัญชี
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาการเงินการธนาคาร
- สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ
- สาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ
- สาขาวิชาวารสารสนเทศ (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
- สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
- สาขาวิชาโฆษณาและการสื่อสารการตลาด (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
- สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
- สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์ (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
- สาขาวิชาการภาพยนตร์และการสื่อสารการแสดง (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
- สาขาวิชาภาพเคลื่อนไหวและสื่อผสม (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
- สาขาวิชาการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ (หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต)
- อาจมีการจัดตั้งสาขาวิชาดิจิทอลทีวี เพิ่มเติมในอนาคต
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาการออกแบบ (นิเทศศิลป์)
- สาขาวิชาศิลปะการแสดง (นาฎศิลป์ไทย)
- สาขาวิชาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร)
- สาขาวิชาดนตรี (ดนตรีไทย/ดนตรีสากล)
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร
- สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์
- สาขาวิชาออกแบบสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
- สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานสถาปัตยกรรม
- สาขาวิชามาตรวิทยาและระบบคุณภาพ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาออกแบบกราฟิกและมัลติมิเดีย
- สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์สารสนเทศ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (การจัดการฐานข้อมูล)
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (สื่อประสม)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ภาควิชามนุษยศาสตร์
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
- สาขาวิชาภาษาจีน
- ภาควิชาสังคมศาสตร์
- สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
- สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ภาษาจีน,ภาษาญี่ปุ่น,ภาษาฝรั่งเศส)
- สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
- สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
- สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม
- สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
- สาขาวิชานิติศาสตร์
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ (แขนงวิชา ธุรกิจนำเที่ยว,ธุรกิจการบิน,การประชุมนิทรรศการ และ อีก 2 สาขา)
- สาขาการบริหารงานตำรวจ
- สาขานวัตกรรมการจัดการกีฬา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Suan Sunandha Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วังสวนสุนันทา อันเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังดุสิตในรัชกาลที่ 5 มาก่อน นักเรียนและนักศึกษามหาวิทยาราชภัฏสวนสุนันทาทุกคนจะใช้คำแทนตัวเอง ว่า "ลูกพระนาง" ซึ่งพระนางในที่นี้ หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา"
ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ประวัติ
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร " ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย " เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ดั่งคำขวัญ มหาวิทยาลัยที่วาจากพระราชอุทยาน สู่ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา"
ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ประวัติ
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร " ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย " เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ดั่งคำขวัญ มหาวิทยาลัยที่วาจากพระราชอุทยาน สู่ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา